ข้ามไปเนื้อหา

ยางแผ่นผึ่งแห้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยางแผ่นผึ่งแห้ง[1] คือ ยางที่ได้จากการนำน้ำยางมาจับตัวเป็นแผ่นโดยสารเคมีที่ใช้จะต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ใช้โซเดียมไบซัลไฟต์ในการฟอกสี และใช้พาราไนโตรฟีนอลเป็นสารป้องกันเชื้อรา เป็นต้น ส่วนการทำให้แห้งอาจใช้วิธีการผึ่งลมในที่ร่ม หรือ อบในโรงอบก็ได้แต่ต้องปราศจากควัน และจากลักษณะการทำให้แห้งที่แตกต่างกันทำให้สามารถแยกยางแผ่นผึ่งแห้งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

  1. ยางแผ่นผึ่งแห้งที่ทำให้แห้งโดยวิธีการผึ่งลม (Air Dried Sheet : ADS) ซึ่งยางประเภทนี้จะมีลักษณะสีคล้ำและอาจแห้งไม่สนิท
  2. ยางแผ่นไม่รมควัน (Pale Amber Unsmoke Sheet : PAUS) ซึ่งยางที่ได้มีลักษณะแห้งสนิท สีใส

ลักษณะการใช้งานของยางแผ่นผึ่งแห้ง จะใช้งานเหมือนกับยางเครพขาว ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกาว อุตสาหกรรมเส้นด้ายยางยืด อุตสาหกรรมรองเท้า และอุตสาหกรรมตุ๊กตายาง เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, การผลิตยางธรรมชาติ, ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2547, หน้า 127-134