ยัน-กชึชตอฟ ดูดา
ยัน-กชึชตอฟ ดูดา | |
---|---|
ยัน-กชึชตอฟ ดูดา เมื่อ ค.ศ. 2021 | |
ประเทศ | โปแลนด์ |
เกิด | กรากุฟ ประเทศโปแลนด์ | 26 เมษายน ค.ศ. 1998
ตำแหน่งที่ได้รับ | แกรนด์มาสเตอร์ (ค.ศ. 2013) |
ระดับสมาพันธ์หมากรุกโลก | 2456 (ธันวาคม 2024) |
ระดับสูงสุด | 2760 (ธันวาคม ค.ศ. 2021) |
อันดับ | อันดับ 18 (กันยายน 2022) |
อันดับสูงสุด | อันดับ 12 (ธันวาคม ค.ศ. 2019) |
ยัน-กชึชตอฟ ดูดา (โปแลนด์: Jan-Krzysztof Duda; ภาษาโปแลนด์: ['jan ˌkʂɨʂtɔf ˈduda] ; 26 เมษายน ค.ศ. 1998 – ) เป็นนักหมากรุกสากลชาวโปแลนด์ ในฐานะนักหมากรุกอัจฉริยะ เขาประสบความสำเร็จในระดับแกรนด์มาสเตอร์ใน ค.ศ. 2013 เมื่ออายุ 15 ปี 21 วัน นอกจากนี้ ดูดาชนะเลิศการแข่งชิงแชมป์โปแลนด์ใน ค.ศ. 2018 และหมากรุกสากลเวิลด์คัพใน ค.ศ. 2021 ตลอดจนเขาได้รับบำเหน็จกางเขนทองกิตติคุณจากความสำเร็จในหมากรุกสากล[1]
ผลงานหมากรุกสากลระดับอาชีพ
[แก้]ค.ศ. 2007–2008
[แก้]ใน ค.ศ. 2007 ดูดาได้อันดับหนึ่งในการแข่งหมากรุกสากลยุวชนชิงแชมป์โปแลนด์รุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี[2]
ส่วนใน ค.ศ. 2008 ดูดาชนะเลิศการแข่งหมากรุกสากลยุวชนชิงแชมป์โลกรุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับตำแหน่งเอฟไอดีอี มาสเตอร์ และในปีเดียวกันนั้น เขายังชนะการแข่งยุวชนชิงแชมป์โปแลนด์รุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี เป็นสมัยที่สอง[3]
ค.ศ. 2012
[แก้]ใน ค.ศ. 2012 ดูดาชนะเลิศการแข่งชิงแชมป์โปแลนด์รุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ซอลีนา[4] และหมากรุกสากลยุวชนชิงแชมป์ยุโรปในรุ่นอายุต่ำกว่า 14 ปีที่ปราก รวมถึงในปีเดียวกัน เขาได้เสมอกันเป็นครั้งแรกกับยัน แกรย์ชี ในการแข่งหมากรุกสากลฤดูร้อนที่ออลอโมตซ์[5] และได้รับตำแหน่งอินเตอร์เนชันแนลมาสเตอร์[6]
ค.ศ. 2013–2014
[แก้]ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 ดูดาได้บรรลุมาตรฐานสุดท้ายของเขาที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งแกรนด์มาสเตอร์ในการแข่งหมากรุกสากลชิงแชมป์ยุโรปประเภทบุคคลเมื่ออายุ 15 ปี 21 วัน สิ่งนี้ทำให้เขากลายเป็นแกรนด์มาสเตอร์ที่อายุน้อยที่สุดอันดับสองของโลกในเวลานั้น[7] และดูดายังกลายเป็นแกรนด์มาสเตอร์ชาวโปแลนด์ที่อายุน้อยที่สุดอันดับสองต่อจากดาริอุส ชเวียซ ส่วนในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 เขาได้เป็นที่หนึ่งในการแข่งเฟิสต์แซเทอร์เดย์ จีเอ็ม ที่บูดาเปสต์[8] กระทั่งในเดือนสิงหาคม ดูดาได้เข้าร่วมในฐานะผู้ท้าชิงตำแหน่งของสมาพันธ์หมากรุกสากลโลกในเอฟไอดีอี เวิลด์คัป ซึ่งเขาถูกวาซิล อิวานชุค กำจัดในรอบแรก[9] ส่วนในเดือนตุลาคม สมาพันธ์หมากรุกสากลโลกได้มอบตำแหน่งแกรนด์มาสเตอร์ให้กับเขาอย่างเป็นทางการ[10] ครั้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 ดูดาเล่นให้แก่ทีมโปแลนด์ในการแข่งหมากรุกสากลโอลิมเปียดครั้งที่ 41 ในทรุมเซอ ประเทศนอร์เวย์ โดยได้คะแนน 8.5/11 ในบอร์ดสาม[11] ส่วนเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 เขาชนะเลิศการแข่งหมากรุกประเภทเกมเร็วชิงแชมป์ยุโรป[12] และได้รับรางวัลเหรียญเงินในการแข่งหมากรุกประเภทเกมสายฟ้าชิงแชมป์ยุโรป[13] ซึ่งทั้งสองรายการจัดขึ้นที่วรอตสวัฟ ประเทศโปแลนด์
ค.ศ. 2015–2016
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ดูดาชนะการแข่งขันแบบพบกันหมดที่ทะเลสาบเซวาน ในมาร์ตูนี ประเทศอาร์มีเนีย[14] ส่วนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 เขาจบอันดับที่เท่ากันกับมีคาอิล แอนติปอฟ ในการแข่งหมากรุกสากลเยาวชนชิงแชมป์โลก ที่คันตี-มันซิสค์ ประเทศรัสเซีย และได้รับรางวัลเหรียญเงินหลังจากการแข่งขันไทเบรก[15][16] และใน ค.ศ. 2016 เขาได้รับบำเหน็จจากประธานาธิบดีโปแลนด์ อันด์แชย์ ดูดา ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเงินกิตติคุณสำหรับ "ความสำเร็จด้านกีฬาที่ยอดเยี่ยมใน ค.ศ. 2016 รวมถึงการมีส่วนร่วมในการทำให้เกมหมากรุกสากลเป็นที่นิยม"[17]
ค.ศ. 2017–2018
[แก้]เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2017 ดูดาได้กลายเป็นผู้เล่นเยาวชนชาวโปแลนด์คนแรกที่ทะลุเรต 2700 ของสมาพันธ์หมากรุกโลก ซึ่งได้รับการจัดอันดับสูงสุดในอาชีพหมากรุกของเขาจนถึงขณะนี้ ด้วยเรต 2707 ส่งผลให้เขาเป็นผู้เล่นชาวโปแลนด์ที่มีอันดับสูงสุดเป็นอันดับสองและอันดับที่ 41 ของโลกในเวลานั้น[18][19]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2018 ดูดาชนะการแข่งหมากรุกสากลชิงแชมป์โปแลนด์ด้วยคะแนน 6½/9 (+4–0=5) ซึ่งนำหน้าผู้ที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศอย่างคาสเปอร์ พิโอรุน เขาได้รับการบันทึกชัยชนะเหนือพิโอรุน, ราดอสวัฟ วอยตาส์เซค, ดานีแยล ซัดซิคอฟสกี และอาแล็กซันแดร์ มิสตา[20] ครั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 เขากลายเป็นผู้เล่นโปแลนด์อันดับ 1 และอันดับ 1 ของเยาวชนโลก แซงหน้าวอยตาส์เซค และเหวยอี้ ตามลำดับ[21][22]
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 ดูดาเข้าร่วมการแข่งการดวลหมากรุกสากลดอร์ทมุนท์สพาร์คัสเซินครั้งที่ 46 โดยได้อันดับที่สี่ด้วยคะแนน 4/7 (+2–1=4)[23]
ระหว่างการแข่งหมากรุกสากลโอลิมเปียด 2018 ที่บาทูมี ประเทศจอร์เจีย เขาเป็นฝ่ายชนะวาซิล อีวันชุค และเสมอกับเลวอน อาโรเนียน, วิศวนาถัน อานันท์, ฟาบีอาโน การูอานา, ชาครียาร์ มาเมดยารอฟ และเซียร์เกย์ การ์ยากิน โดยครองอันดับที่สี่ร่วมกับทีมโปแลนด์[24] และใน ค.ศ. 2018 ดูดาได้เข้าสู่รอบรองชนะเลิศของหมากรุกสากลชิงแชมป์เกมเร็วหลังจากเป็นฝ่ายชนะการ์ยากิน และอะเลคซันดร์ กริสชุค แต่ในที่สุดก็แพ้ให้แก่เวสลีย์ โซ[25]
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 ดูดาจบด้วยอันดับสองในการแข่งหมากรุกสากลเกมสายฟ้าชิงแชมป์โลกที่เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ด้วยคะแนน 16½/21 (+15–3=3) ซึ่งตามหลังผู้ชนะอย่างมังนึส คาลเซิน ไปครึ่งคะแนน[26]
ค.ศ. 2019–2020
[แก้]ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เขากลายเป็นผู้เล่นหมากรุกชาวโปแลนด์คนแรกที่ผ่านด่าน 2800 ในหมวดสายฟ้าแลบ ครั้นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ดูดาเข้าร่วมการแข่งเอฟไอดีอี กรังด์ปรีซ์ ฮัมบวร์ค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรอบคัดเลือกสำหรับหมากรุกสากลชิงแชมป์โลก 2020 โดยการแข่งครั้งนี้มีผู้เล่น 16 คน กระทั่งวันที่ 13 พฤศจิกายน ดูดาได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศโดยเป็นฝ่ายแพ้ต่ออะเลคซันดร์ กริสชุค ในช่วงไทเบรก[27]
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 ดูดาเข้าร่วมการแข่งทาทาสตีลเชสทัวร์นาเมนต์ ค.ศ. 2020 และจบการแข่งในอันดับที่ 8 ด้วยคะแนน 6½/13 (+1-1=11) ซึ่งเป็นคะแนนเดียวกับอดีตแชมป์โลกหมากรุกสากลอย่างวิศวนาถัน อานันท์ และแอลีเรซอ ฟิรูซจา
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2020 เขาได้รับชัยชนะครั้งแรกเหนือแชมป์โลกหมากรุกอย่างมังนึส คาลเซิน โดยเอาชนะเขาในรอบที่ 7 ของลินโดเรสแอบบีย์แรพิดเชสแชลเลนจ์ โดยเกมดังกล่าวเข้าสู่อิงลิชโอเพนนิง (คิงส์อิงลิชแวริเอชัน, โฟร์ไนส์แวริเอชัน, ไควเอตไลน์)[28]
ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2020 เขาเป็นฝ่ายชนะมังนึส คาลเซิน อีกครั้ง (รูปเปิดคาโร–คันน์ ดีเฟนซ์ การแปรผันแบบตาร์ตาคาวแวร์) ที่การแข่งนอร์เวย์เชสของบริษัทอัลติบอกซ์ซึ่งจัดขึ้นที่สตาวังเงอร์ นับเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของคาลเซินหลังจากไม่แพ้ใครมา 125 เกมติดต่อกันในหมากรุกคลาสสิก[29] ส่วนที่หมากรุกสากลโอลิมเปียดออนไลน์ 2020 เขาได้รับเหรียญทองแดงหลังจากที่ทีมโปแลนด์เข้าถึงรอบรองชนะเลิศของทัวร์นาเมนต์ และแพ้ในการแข่งไทเบรก 1-2 กับอินเดีย[30]
ขีวิตส่วนตัว
[แก้]ดูดาเป็นนักเรียนของโรงเรียนพลศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยในกรากุฟ เขาชอบฟังผลงานของเบทโฮเฟิน, โมทซาร์ท และควีน[31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jan-Krzysztof Duda odznaczony Złotym Krzyżem Zasługi. "Nikt nie osiąga sukcesu sam"" [Jan-Krzysztof Duda was awarded the Golden Cross of Merit. "Nobody Achieves Success Alone"]. rmf24.pl (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 13 December 2021.
- ↑ "Finał Mistrzostw Polski Juniorów do 12 lat, Puchar Polski do lat 10" [The Final of the Polish Junior Championships U12, the Polish Cup U10]. ozszach.pl (ภาษาโปแลนด์). Opolski Związek Szachowy. 11 March 2007. สืบค้นเมื่อ 13 August 2021.
- ↑ "Finał Mistrzostw Polski Juniorów do 12 lat, Puchar Polski do lat 10" [The Final of the Polish Junior Championships U12, the Polish Cup U10]. ozszach.pl (ภาษาโปแลนด์). Opolski Związek Szachowy. 16 March 2008. สืบค้นเมื่อ 13 August 2021.
- ↑ "Mistrzostwa Polski Juniorow C18 May 2012 Poland". FIDE. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ "Olomouc Chess Summer 2012 - A1 September 2012 Czech Republic". FIDE. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ "List of titles approved by the 83rd FIDE Congress". www.fide.com. 2012-09-17. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Jan Krzysztof Duda: 15-year-old gains GM title". ChessBase. 2013-05-19. สืบค้นเมื่อ 9 October 2015.
- ↑ "First Saturday GM March 2013 April 2013 Hungary". FIDE. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ "Exciting round 1 at the Chess World Cup 2013". Chessdom. 2013-08-13. สืบค้นเมื่อ 27 January 2014.
- ↑ "List of titles approved by the 84th FIDE Congress in Tallinn, Estonia". www.fide.com. 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2019-09-09.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 41st Olympiad Tromso 2014 Open - Poland Chess-Results
- ↑ "European Rapid Chess Championship 2014: Jan Krzysztof Duda is the winner". Chessdom. 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ "European Blitz Chess Championship 2014: David Navara convincing winner". Chessdom. 2014-12-19. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ Sagar Shah (2015-07-31). "Jan Krzysztof Duda wins Lake Sevan 2015". ChessBase. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ "Antipov and Buksa are 2015 World Junior Champions". Chessdom. 2015-09-15. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ Sagar Shah (2015-09-21). "Antipov and Buksa are World Junior Champions". ChessBase. สืบค้นเมื่อ 8 October 2015.
- ↑ "10 Asów Małopolski. Jan Krzysztof Duda jest arcymistrzem, ale maturę zdawać musi" (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 2021-01-27.
- ↑ "Top lists records. Duda, Jan-Krzysztof (POL) g". สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ "Rating Progress Chart. Duda, Jan Krzysztof (POL)". สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ "Duda wins 1st Polish Championship". Chess24.com.
- ↑ "Federation Rankings – Poland". FIDE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2018.
- ↑ "Standard Top 100 Juniors July 2018". FIDE.com. 1 July 2018.
- ↑ 46th Dortmund Sparkassen Chess-Meeting 2018 The Week in Chess
- ↑ "PAIRINGS AND RESULTS". FIDE.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 6 October 2018.
- ↑ "Speed Chess Championship 2018 - Oficjalne informacje" [Speed Chess Championship 2018 - Official information]. Chess.com (ภาษาโปแลนด์). สืบค้นเมื่อ 1 December 2018.
- ↑ "King Salman World Blitz Championship 2018 Open". Chess–Results.com. สืบค้นเมื่อ 30 December 2018.
- ↑ "Hamburg FIDE Grand Prix 2019". Chess24.com. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
- ↑ "Lindores Abbey Rapid Challenge Round 7". Chess24.com. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
- ↑ "Altibox Norway Chess 2020". Chess24.com. สืบค้นเมื่อ 10 October 2020.
- ↑ "Playoff". FIDE.com. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://psychologiaiszachy.blogspot.com/2017/08/poznajemy-blizej-brazowych-medalistow.html (pol.)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แม่แบบ:Fide
- Jan Krzysztof Duda games at 365Chess.com
- ยัน-กชึชตอฟ ดูดา player profile at Chessgames.com