ยันม่าร์
สำนักงานใหญ่บริษัทยันม่าร์ (ประเทศญี่ปุ่น) | |
ชื่อท้องถิ่น | ヤンマー株式会社 |
---|---|
ประเภท | เอกชน |
อุตสาหกรรม | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2455; 113 ปีก่อน |
ผู้ก่อตั้ง | มาโกกิชิ ยามาโอกะ |
สำนักงานใหญ่ | 1-32, ชายามาชิ, เขตคิตะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น |
บุคลากรหลัก | ทาเคฮิโตะ ยามาโอกะ (ประธาน) |
ผลิตภัณฑ์ | |
รายได้ | 703.8 พันล้านเยน (มีนาคม 2559) |
พนักงาน | 17,974 คน (2559) |
เว็บไซต์ | www.yanmar.com/global |
บริษัท ยันม่าร์ จำกัด (อังกฤษ: Yanmar Co., Ltd.; ญี่ปุ่น: ヤンマー株式会社, อักษรโรมัน: Yanmā Kabushiki-Gaisha) เป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องจักรกลหนัก และเครื่องจักรกลการเกษตรของญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2455 ที่นครโอซากะ ยันม่าร์ผลิตและจำหน่ายเครื่องยนต์สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น เรือเดินทะเล เรือสำราญ อุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์การเกษตร และชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้ยังผลิตและจำหน่ายระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบควบคุมและจัดการจากระยะไกล[1]
ประวัติ
[แก้]ยันม่าร์ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2455 ณ นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น[2] โดยมาโกกิชิ ยามาโอกะ[3][4]
เมื่อบริษัทเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2455 บริษัทก็ได้เริ่มผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน[5] ในปี พ.ศ. 2463 บริษัทได้เริ่มผลิตเครื่องยนต์น้ำมันก๊าดขนาดเล็ก[6] ในปี พ.ศ. 2476 บริษัทได้เปิดตัวเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้งานได้จริงเครื่องแรกของโลก นั่นคือรุ่น HB[5][7][8]
ในปี พ.ศ. 2504 ยันม่าร์ได้จัดตั้งแผนกเครื่องจักรกลการเกษตร[9]
ยันม่าร์ยังได้เริ่มจัดหาเครื่องยนต์ให้กับรถแทรกเตอร์ของจอห์น เดียร์[9] และเครื่องทำความเย็นของเทอร์โมคิง (Thermo King) บางรุ่นสำหรับใช้ในรถบรรทุกห้องเย็น[10]
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ยันม่าร์ได้สร้างการเติบโตในตลาดอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในญี่ปุ่นและที่อื่น ๆ ด้วยโดรนขนาดเล็กที่ใช้ในการฉีดพ่นทางการเกษตร และการใช้งานทางอากาศในรูปแบบอื่น ๆ[11][12]
ตามที่อธิบายในเว็บไซต์ของบริษัท "ชื่อยันม่าร์ เป็นการผสมผสานระหว่าง "ยันมะ" (สายพันธ์แมลงปอชนิดหนึ่ง) และ "ยามา" จากชื่อผู้ก่อตั้งบริษัท มาโกกิจิ ยามาโอกะ"[13]
-
เครื่องยนต์ดีเซลทางทะเล ยันม่าร์ 2GM20 ติดตั้งในเรือใบ
-
รถเทตีนตะขาบยันม่าร์
เส้นเวลา
[แก้]- พ.ศ. 2455: มาโกกิชิ ยามาโอกะ ได้ก่อตั้งบริษัทของตนภายใต้ชื่อ ยามาโอกะ ฮัตสึโดกิ เซซาคุโชะ (โรงงานผลิตเครื่องยนต์ยามาโอกะ)[14][15]
- พ.ศ. 2476: เริ่มผลิตเคี่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้งานได้จริงเครื่องแรกของโลก[16]
- พ.ศ. 2504: ก่อตั้งแผนกเครื่องจักรกลการเกษตร[17]
- พ.ศ. 2535: ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลครบ 10 ล้านเครื่อง[18]
- พ.ศ. 2558: เข้าซื้อกิจการฮิโมอินซา (HIMOINSA) ผู้ผลิตชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสัญชาติสเปน 70% [19]
- พ.ศ. 2559: เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แทรคเตอร์ส (International Tractors) สัญชาติอินเดีย ผู้ผลิตรถแทรกเตอร์ยี่ห้อโซนาลิกา (Sonalika) เป็น 30%[20] นอกจากนี้ บริษัทยังได้ซื้อกิจการแชฟฟ์ (Schaeff) ผู้ผลิตอุปกรณ์ขนาดกะทัดรัดของเยอรมันจากเทเร็กซ์ (Terex) และได้ร่วมมือกับโตโยต้าเพื่อพัฒนา "ตัวเรือรุ่นต่อไป" สำหรับเรือ[21][22]
- พ.ศ. 2562: ขยายโรงเรียนฝึกอบรมในต่างประเทศในจีน ฟิลิปปินส์ และอินเดีย[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Yanmar USA" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Yanmar USA. สืบค้นเมื่อ 2018-08-26.
- ↑ New Technology Japan. Japan External Trade Organization, Machinery and Technology Department. 2001.
- ↑ World Engine Digest. John Martin Publications. 1980. ISBN 9780906237151.
- ↑ Steven D. Eppinger; Tyson R. Browning (25 May 2012). Design Structure Matrix Methods and Applications. MIT Press. pp. 196–. ISBN 978-0-262-30065-0.
- ↑ 5.0 5.1 World Fishing. IPC Industrial Press. 1992.
- ↑ World Engine Digest. J. Martin Publications. July 7, 1980. ISBN 9780906237151 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Vaclav Smil (30 July 2010). Prime Movers of Globalization: The History and Impact of Diesel Engines and Gas Turbines. MIT Press. pp. 125–. ISBN 978-0-262-29704-2.
- ↑ Mining and Engineering. Thomson Newspapers Rhodesia. 1982.
- ↑ 9.0 9.1 John Dietz (15 January 2011). John Deere New Generation and Generation II Tractors: History, Models, Variations & Specifications 1960s–1970s. MBI Publishing Company. pp. 112–. ISBN 978-1-61060-110-8.
- ↑ Chintamani Vasant Kulkarni (2007). Modeling and the Performance Analysis of Transportation Refrigeration Units with Alternate Power Systems. University of California, Davis.
- ↑ Giuseppe Amoruso (19 July 2017). Putting Tradition into Practice: Heritage, Place and Design: Proceedings of 5th INTBAU International Annual Event. Springer. pp. 1542–. ISBN 978-3-319-57937-5.
- ↑ Kristin Bergtora Sandvik; Maria Gabrielsen Jumbert (25 August 2016). The Good Drone. Taylor & Francis. pp. 1965–. ISBN 978-1-317-01752-3.
- ↑ [1], About Brand page on yanmar.com; accessed 2016-01-14.
- ↑ American Machinist. Penton Publications. January 1979.
- ↑ Takeshi Abe; Douglas A. Farnie; David J. Jeremy; Tetuso Nakaoka; John F. Wilson (20 July 2005). Region and Strategy in Britain and Japan: Business in Lancashire and Kansai 1890-1990. Taylor & Francis. pp. 50–. ISBN 978-1-134-63045-5.
- ↑ Sam McKinney (2004). Sailing with Vancouver: A Modern Sea Dog, Antique Charts and a Voyage Through Time. TouchWood Editions. pp. 181–. ISBN 978-1-894898-12-6.
- ↑ "TractorData.com - Yanmar farm tractors sorted by model". www.tractordata.com. สืบค้นเมื่อ 2021-10-09.
- ↑ "History|About YANMAR|YANMAR". YANMAR.
- ↑ "Yanmar Acquires HIMOINSA|2015|News|YANMAR". YANMAR.
- ↑ PM, Indulal; Mukherjee, Sharmistha (December 23, 2016). "Yanmar buys Blackstone's 18% stake in International Tractors". The Economic Times. The Times Group. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
- ↑ Malone, Joe (January 30, 2017). "Schaeff machinery makes its return". International Rental News. KHL Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-22. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
- ↑ Milberg, Evan (March 14, 2016). "Toyota Unveils New Boat Made with Composites". Composites Manufacturing. American Composites Manufacturers Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2017. สืบค้นเมื่อ February 13, 2017.
- ↑ "YANMAR TECHNICAL TRAINING SCHOOL|Y media|ヤンマー" (ภาษาอังกฤษ). YANMAR. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.