ยอเซ็ฟ ติซอ
สาธุคุณ ยอเซ็ฟ ติซอ | |
---|---|
ติซอ เมื่อ ป. ค.ศ. 1936 | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวัก | |
ดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม ค.ศ. 1939 – 4 เมษายน ค.ศ. 1945 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ยกเลิกตำแหน่ง |
นานกรัฐมนตรีภูมิภาคปกครองตนเองสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม ค.ศ. 1938 – 9 มีนาคม ค.ศ. 1939 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | วอยเต็ค ตูกา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย การดูแลสังคม และสาธารณสุขสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม ค.ศ. 1938 – 20 มกราคม ค.ศ. 1939 | |
ก่อนหน้า | ตัวเอง |
ถัดไป | ตัวเอง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม ค.ศ. 1938 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1938 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | ตัวเอง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและพลศึกษา เชโกสโลวาเกีย | |
ดำรงตำแหน่ง 27 มกราคม ค.ศ. 1927 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 1929 | |
ก่อนหน้า | ยาน ชราแม็ก |
ถัดไป | ยาน ชราแม็ก |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 ตุลาคม ค.ศ. 1887 น็อจบิตซ์แช ราชอาณาจักรฮังการี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
เสียชีวิต | 18 เมษายน ค.ศ. 1947 บราติสลาวา เชโกสโลวาเกีย | (59 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | การประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ |
พรรคการเมือง | ประชาชนสโลวัก |
วิชาชีพ |
|
ลายมือชื่อ | |
ยอเซ็ฟ กัชปาร์ ติซอ (สโลวัก: Jozef Gašpar Tiso; 13 ตุลาคม ค.ศ. 1887 – 18 เมษายน ค.ศ. 1947) เป็นนักการเมืองและบาทหลวงคาทอลิกชาวสโลวัก ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐสโลวักที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐบริวารของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง ค.ศ. 1945 โดยหลังจากสงครามใน ค.ศ. 1947 เขาถูกประหารชีวิตในข้อหาทรยศชาติที่กรุงบราติสลาวา[1]
เขาเกิดเมื่อ ค.ศ. 1887 ในครอบครัวชาวสโลวักซึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองน็อจบิตซ์แช (บิตชาในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรฮังการี ติซอได้เรียนภาษาจำนวนมากในช่วงชีวิตการเรียนของเขา รวมถึงภาษาฮิบรูและภาษาเยอรมัน เขาได้รับการแนะนำให้กับบาทหลวงตั้งแต่อายุยังน้อย และช่วยต่อสู้กับความยากจนและโรคติดสุราเรื้อรังในดินแดนสโลวาเกีย ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1918 เขาเข้าร่วมพรรคประชาชนสโลวัก (Slovenská ľudová strana) และกลายเป็นหัวหน้าพรรคใน ค.ศ. 1938 ภายหลังจากการเสียชีวิตของอันเดรย์ ฮลินกา จากนั้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 สมัชชาสโลวักในบราติสลาวามีมติเป็นเอกฉันท์ให้รับรองกฎหมาย 1/1939 ซึ่งเปลี่ยนสถานะจากสาธารณรัฐสโลวักปกครองตนเอง (ยังเป็นส่วนหนึ่งของเชโกสโลวาเกีย) เป็นประเทศเอกราช สองวันหลังจากนาซีเยอรมนียึดครองพื้นที่ส่วนที่เหลือของดินแดนเช็ก รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียจึงได้ประกาศจัดตั้งขึ้น
ยอเซ็ฟ ติซอ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเขตปกครองตนเองสโลวาเกีย (ภายใต้กฎหมายเชโกสโลวาเกีย) กลายเป็นนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐสโลวัก และในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1939 เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี
ติซอให้ความร่วมมือกับเยอรมนีในการเนรเทศชาวยิว โดยมีการเนรเทศชาวยิวสโลวักจำนวนมากเข้าสู่ค่ายมรณะและค่ายกักกันในเยอรมนีและโปแลนด์ ในขณะที่ชาวยิวในสโลวาเกียบางส่วนถูกสังหารทันที การเนรเทศดำเนินการตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1942 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1942 นำไปสู่การจราจลของพลพรรคต่อต้านฟาสซิสต์เริ่มดำเนินขึ้น กระทั่งเกิดการก่อการกำเริบชาติสโลวาเกียในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 1944 ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารของเยอรมนีปราบปรามอย่างราบคาบ โดยมีผู้นําหลายคนถูกประหารชีวิต ด้วยเหตุนี้ ทำให้เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1944 มีการเนรเทศชาวยิวอีกครั้ง โดยได้เนรเทศเพิ่มอีก 13,500 ราย
เมื่อกองทัพแดงโซเวียตรุดหน้าสู่ดินแดนส่วนสุดท้ายของสโลวาเกียตะวันตกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ติซอได้ลี้ภัยไปยังออสเตรียและเยอรมนี ที่ซึ่งกองทหารอเมริกันได้จับกุมเขาแล้วส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปยังเชโกสโลวาเกียที่ฟื้นฟูใหม่ เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานกบฏ ทรยศต่อการก่อการกำเริบชาติ และให้ความร่วมมือกับพวกนาซี ติซอถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอใน ค.ศ. 1947 และอัฐิถูกฝังที่บราติสลาวา โดยใน ค.ศ. 2008 อัฐิของเขาจึงย้ายไปฝังที่ห้องใต้ดินในอาสนวิหารที่เมืองญิตรา ประเทศสโลวาเกีย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rozsudok Národného súdu v Bratislave nad Jozefom Tisom – Wikizdroje". sk.wikisource.org. สืบค้นเมื่อ 31 January 2024.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bartl, Július (2002). Slovak History: chronology & lexicon. David Paul Daniel, trans. Wauconda, Ill.: Bolchazy-Carducci. ISBN 978-0-86516-444-4.
- Deák, Ladislav (1991). Hra o Slovensko [The Game for Slovakia] (ภาษาสโลวัก). Bratislava: Veda vydavateľstvo Slovenskej akadémie vied. ISBN 80-224-0370-9.
- Evans, Richard J. (2009). The Third Reich at War. New York: Penguin Press.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Fabricius, Miroslav; Hradská, Katarína, บ.ก. (2007). Jozef Tiso: Prejavy a články 1938 – 1944 [Jozef Tiso: Speeches and Articles 1938 – 1944] (ภาษาสโลวัก). Historický ústav SAV. ISBN 978-80-88880-46-2.
- Fabricius, Miroslav; Suško, Ladislav, บ.ก. (2002). Jozef Tiso: Prejavy a články 1913 - 1938 [Jozef Tiso: Speeches and Articles 1913 - 1938] (ภาษาสโลวัก). Historický ústav SAV. ISBN 80-88880-45-9.
- Felak, James Ramon (1995). "At the Price of the Republic": Hlinka's Slovak People's Party, 1929–1938. Pittsburgh: University of Pittsburgh Press.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Kamenec, Ivan (2013). Jozef Tiso: Tragédia politika, kňaza a človeka [Jozef Tiso: The Tragedy of a Politician, Priest and Man] (ภาษาสโลวัก). Premedia.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Mazower, Mark (2008). Hitler's Empire – Nazi Rule in Occupied Europe. London: Penguin. ISBN 978-0-7139-9681-4.
- Nižňanský, Eduard (2010). Nacizmus, holokaust, slovenský štát [Nazism, holocaust, Slovak state] (ภาษาสโลวัก). Bratislava: Kalligram. ISBN 978-80-8101-396-6.
- Piahanau, Aliaksandr (8 March 1946). "Jozef Tiso Moje mladost" [Jozef Tiso: My youth]. Bratislava.
- Piahanau, Aliaksandr (2017). "A Priest at the Front. Jozef Tiso Changing Social Identities during the First World War". Revue des études slaves. 88 (4): 721–741. doi:10.4000/res.1324. S2CID 158552249.
- Rychlík, Jan (2015). Česi a Slováci ve 20. století: Spolupráce a konflikty 1914 - 1992 [Czechs and Slovaks in the 20th Century: Cooperation and Conflicts] (ภาษาเช็ก). Vyšehrad. ISBN 978-80-7429-631-4.
- Segeš, Dušan; Hertel, Maroš; Bystrický, Valerián, บ.ก. (2012). Slovensko a slovenská otázka v poľských a maďarských diplomatických dokumentoch v rokoch 1938–1939 [Slovakia and the Slovak Question in Polish and Hungarian Diplomatic Documents 1938–1939] (ภาษาสโลวัก, โปแลนด์ และ ฮังการี). Bratislava: Historický ústav SAV. ISBN 978-80-971247-1-7.
- Ward, James Mace (2013). Priest, Politician, Collaborator: Jozef Tiso and the Making of Fascist Slovakia. Ithaca and London: Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4988-8.