การก่อการกำเริบชาติสโลวาเกีย
การก่อการกำเริบชาติสโลวัก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ขบวนรถของกองทัพฝ่ายก่อกบฏชาติสโลวักใกล้กับเมือง Kelemeš (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของเปรเชา) | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Gottlob Berger Hermann Höfle Augustín Malár |
Ján Golian † Rudolf Viest † | ||||||
กำลัง | |||||||
40,000, later increased to 83,000 | 18,000 initially, later increased to 78,000 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
≈10,000 | ≈10,000 + 5,304 captured and executed |
การก่อกบฏชาติสโลวาเกีย (สโลวัก: Slovenské národné povstanie, abbreviated SNP) หรือการก่อกำเริบปี 1944 เป็นการเคลื่อนไหวของการก่อกบฏด้วยอาวุธโดยกลุ่มต่อต้านสโลวักในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการการฝ่ายต่อต้านนี้เป็นตัวแทนส่วนใหญ่โดยสมาชิกพรรคประชาธิปไตย แต่ยังรวมไปถึงพรรคสังคมประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ แม้ว่าจะมีขนาดเล็กก็ตาม มันถูกเปิดฉากเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม ค.ศ. 1944 จากบันสกาบิสตรีตซาในความพยายามที่จะต่อต้านทหารเยอรมันที่ยึดครองดินแดนสโลวาเกียและเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นฝ่ายให้ความร่วมมือของยอเซ็ฟ ติซอ แม้ว่าการต่อต้านจะจบลงด้วยการถูกปราบปรามอย่างราบคาบโดยกองทัพเยอรมัน ปฏิบัติการรบแบบกองโจรยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งกองทัพโซเวียต กองทัพสโลวาเกีย และกองทัพโรมาเนียได้เข้ามาปลดปล่อยรัฐฟาสซิสต์สโลวาเกียในปี ค.ศ. 1945
ในช่วงหลังสงคราม มีหลายหน่วยงานทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นพวกลัทธิคอมมิวนิสต์ พยายามที่จะ"จี้ปล้น"การก่อการกำเริบครั้งนี้เพื่อชื่อเสียงของพวกเขาเอง ระบอบการปกครองลัทธิสตาลินในเชโกสโลวาเกียได้นำเสนอการก่อการกำเริบครั้งนี้ในฐานะเหตุการณ์ที่ริเริ่มและถูกควบคุมโดยกองกำลังคอมมิวนิสต์[1]ชาวสโลวักผู้คลั่งชาตินิยมในฝ่ายตรงข้าม ได้กล่าวอ้างว่าการก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นประเด็นที่สำคัญต่อชาติสโลวาเกีย เนื่องจากหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักคือการขับไล่ระบอบหุ่นเชิดของรัฐสโลวักและก่อตั้งเชโกสโลวาเกียขึ้นมาใหม่ ซึ่งสโลวักถูกปกครองโดยชาวเช็ก ในความเป็นจริง หลายฝ่ายที่ต่อสู้ในการก่อการกำเริบ ซึ่งมีขนาดใหญ่ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยทหารของกองทัพสโลวัก ฝ่ายต่อต้านลัทธิประชาธิปไตย พลพรรคคอมมิวนิสต์ และกองทัพจากต่างประเทศทำให้เกิดการแตกแยก การก่อการกำเริบครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างแพร่หลายแทบไม่ต้องสงสัยเลย แต่ผู้ที่เข้าร่วมและผู้สนับสนุนของการก่อการกำเริบครั้งนี้เป็นตัวแทนของทุกศาสนา ชนชั้น อายุ และฝ่ายการเมืองต่อต้านนาซีในชาติสโลวัก[2][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Plevza, V. (Editor): History of Slovak National Uprising 1944 - 5. vol. Bratislava, Nakladateľstvo Pravda, 1985, pp. 488-496 (In Slovak)
- ↑ Mičev, S. (Ed.), 2009, Slovak National Uprising 1944. Múzeum SNP, Banská Bystrica, p. 123 (In Slovak)
- ↑ Lacko, M.: Slovak National Uprising 1944. Bratislava, Slovart, 2008 (In Slovak)