ข้ามไปเนื้อหา

ม้ากระทืบโรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ม้ากระทืบโรง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
หมวด: Magnoliophyta
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ชั้น: Magnoliopsida
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Moraceae
สกุล: Ficus
สปีชีส์: F.  foveolata

ม้ากระทืบโรง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus foveolata Wall) เป็นไม้ในวงศ์ MORACEAE มีชื่อท้องถิ่นอื่นว่า เช่น เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี[1] เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีน้ำตาล มีปุ่มขึ้นคล้ายหนาม ดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง ขยายพันธุ์ ด้วยการตัดเถาม้ากระทืบโรงยาวประมาณ 1 คืบ นำมาปักชำได้

สรรพคุณ

[แก้]

สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง[2] แก้ประดงเลือด ที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย แก้ประดงลม แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยย่อยอาหาร ทำให้อาหารมีรส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นคุย ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ[3]และยังช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต

     -เถามีรสเย็นขื่น ใช้ดองกับสุรา หรือใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงกำลัง หรือจะใช้เถาม้ากระทืบโรงที่ตากแห้งแล้วนำมาเข้าเครื่องยา ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายก็ได้เช่นกัน
     -ลำต้นม้ากระทืบโรง ใช้ผสมกับลำต้นคุย นำมาต้มดื่มใช้เป็นยาอายุวัฒนะ 

เถาม้ากระทืบโรง และลำต้นม้ากระทืบโรงช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย

      -ต้นม้ากระทืบโรง ช่วยบำรุงร่างกาย
      -ทั้งต้นม้ากระทืบโรงช่วยทำให้เจริญอาหาร 
      -เถาม้ากระทืบโรงช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้เถาต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ดองกับเหล้าก็ได้[4]
      -ต้นม้ากระทืบโรง ช่วยแก้เลือดเสีย เลือดตกค้าง ซูบซีด 
      -เนื้อไม้ม้ากระทืบโรงช่วยแก้อาการปวดศีรษะ 
      -เถาม้ากระทืบโรงมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดฟัน [5]
      -เถาม้ากระทืบโรงช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยขับน้ำย่อย ช่วยทำให้อาหารมีรสชาติ
      -ทั้งต้นม้ากระทืบโรงช่วยแก้ริดสีดวงทวาร 
      -เถาม้ากระทืบโรงช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย[6]
      -เถาม้ากระทืบโรงมีสรรพคุณชวยแก้ประดงลม  
      -เถาม้ากระทืบโรงช่วยแก้ประดงเลือดที่ทำให้เป็นจุดห้อเลือด เป็นเม็ดตุ่มตามผิวกาย
      -เถา และเนื้อไม้ของม้ากระทืบโรงช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว 
      -เถา และต้นม้ากระทืบโรงช่วยบำรุงกำหนัด[7]
   
องค์ประกอบทางเคมี:
          ลำต้นพบสารกลุ่ม eudesmane sesquiterpene ได้แก่ foveolide A,foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol, 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol 
                      สารกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B 
                      สารกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate 
                      สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin [8]

        สาร foveolide A จากลำต้นแสดงความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้, เซลล์มะเร็งตับ, เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้คือ 200 ไมโครโมลาร์ [9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไม้ดีมีประโยชน์ - "ม้ากระทืบโรง" บำรุงความกำหนัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
  2. http://www.medplant.mahidol.ac.th/user/reply.asp?id=4242
  3. ม้ากระทืบโรง
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.
  8. http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=108
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-04.