มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ
มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ | |
---|---|
เกิด | 8 ธันวาคม ค.ศ. 1965 บาตู, ชวาตะวันออก, ประเทศอินโดนีเซีย |
เสียชีวิต | 7 กันยายน ค.ศ. 2004 บนเที่ยวบินของการูดาอินโดนีเซียจากจาการ์ตา ไป อัมสเตอร์ดัม | (38 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | วางพิษสารหนู |
สัญชาติ | อินโดนีเศีย |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยบราวิชัย |
อาชีพ | นักกฎหมาย |
มีชื่อเสียงจาก | นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน |
คู่สมรส | ซูจีวาตี |
รางวัล | ไรต์ไลฟ์ลิฮูดอะวอร์ด |
มูนีร์ ซาอิด ตาลิบ (อินโดนีเซีย: Munir Said Thalib; 8 ธันวาคม 1965 – 7 กันยายน 2004) เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนชาวอินโดนีเซีย ผู้รับรางวัลไลต์ไลฟ์ลิฮูดประจำปี 2000 เขาถูกลอบสังหารในปี 2004 ขณะเดินทางบนเครื่องบินของการูดาอินโดนีเซียไปยังอัมสเตอร์ดัมเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยยูเทรกต์[1] เขาเป็นหนึ่งในนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนและนักเคลื่อนไหวต้านการคอร์รัปชั่นที่โด่งดังที่สุดของอินโดนีเซีย เขาเป็นผู้ก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อคนหายและเหยื่อความรุนแรง (KontraS)[2] และดำรงตำแหน่งผู้ว่าการศูนย์เฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซีย (Indonesian Human Rights Monitor หรือ IMPARSIAL) เป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนถูกลอบสังหาร
ในปี 2001 ขณะกำลังสอบสวนกรณีการลักพาตัวของโกปัซซุซ เขาเคยถูกข่มขู่ด้วยการส่งกล่องระเบิดมาที่บ้าน
การลอบสังหารและผลสืบเนื่อง
[แก้]มูนีร์ถูกลอบสังหารด้วยการวางยาพิษจากสารหนูบนเที่ยวบินการูดาอินโดนีเซียของรัฐบาล จากจาการ์ตา ไปอัมสเตอร์ดัม ในวันที่ 7 กันยายน 2004 ผลชันสูตรพลิกศพและรายงานจากผู้เห็นเหตุการณ์ระบุตรงกันว่าเขาเสียชีวิตสองขั่วโมงก่อนเครื่องบินจะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติสกิปโฮล เขาได้รับสารพิษนี้ขณะต่อเครื่องที่สิงคโปร์ นักบินของการูดา ปลลีการ์ปุซ ปรียันโต เป็นผู้ต้องสงสัยหลักในการสืบสวน แรกเริ่มมูนีร์เดินทางออกจากอินโดนีเซียโดยเป็นผู้ถือตั๋วฟรีภายใต้เอกสารระบุตนปลอมเพื่อช่วยให้เขาสามารถออกเดินทางบนเครื่องบินได้ มูนีร์เริ่มมีอาการท้องร่วงฉับพลันและอาเจียนอย่างหนักไม่นานหลังเครื่องออกจากสิงคโปร์มุ่งหน้าอัมสเตอร์ดัม ลูกเรือแจ้งแก่กัปตันว่ามีผู้โดยสารป่วยหนัก และมีแพทย์ที่บังเอิญโดยสารไปด้วยบนเครื่องได้รับการเรียกให้ให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์ กระนั้นก็ไม่สามารถยื้อชีวิตมูนีร์ไว้ได้[3]
ผลชันสูตรพลิกศพที่รายงานในสองเดือนหลังเสียชีวิต โดยสถาบันนิติเวชเนเธอร์แลนด์ระบุว่าร่างกายของมูนีร์มีระดับสารหนูสูงกว่าระดับที่เป็นอันตรายถึงชีวิตถึงสามเท่า รายงานนี้ต่อมาได้รับการยืนยันโดยตำรวจอินโดนีเซีย และเข้าใจกันว่าสารหนูถูกใส่ในน้ำส้มที่มูนีร์ดื่มขณะเดินทางบนเครื่องบินของการูดา
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ประกาศว่าเขายืนยันจะตามหาผู้กระทำความผิดมาลงโทษและให้มีการสืบสวนแยกเป็นการด่วน อย่างไรก็ตาม หลักฐานไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ระดับสูงไม่ร่วมมือ และท้ายที่สุดการสืบสวนก็สิ้นสุดลงโดยไม่มีผลออกมา[2][4]
มีการกล่าวโทษว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยข่าวกรองรัฐอินโดนีเซีย (BIN) มีส่วนเกี่ยวข้องในการฆาตกรรมนี้ หัวหน้าหน่วยในเวลานั้น ซูตันโต ถูกกล่าวหาว่ารู้เห็นว่า BIN มีบทบาท ส่วนรองผู้บังคับการหน่วย มุคดี ปูร์โวปรันโจโน ถูกนำตัวขึ้นศาลก่อนจะตัดสินพ้นผิด การตัดสินนี้ถูกประนามในระดับนานาชาติว่าเป็น "การตัดสินคดีแบบแกล้งแสดง"[2][4] เชื่อว่ามุคดีสั่งฆ่ามูนีร์เพราะเขาไปวิจารณ์การนำโกปัซซุซของเขา[5]
การรั่วไหลของบทสนทนาทูตอเมริกาชิ้นหนึ่งกล่าวโทษอดีตหัวหน้าหน่วย BIN อา. เอ็ม. เฮ็นโดรปรีโยโน ว่า "นำการประชุมสองครั้งที่ซึ่งวางแผนการสังหารมูนีร์"[5]
ในปี 2014 เฮ็นโดรปรีโยโนยอมรับต่อนักข่าว Allan Nairn ว่าเขามีส่วน "รับผิดชอบในการสั่งการ" สังหารมูนีร์ และพร้อมจะถูกดำเนินการทางยุติธรรมต่อไป[6]
หลังเสียชีวิต
[แก้]มูนีร์ได้รับรางวัลซิวิลเคอเรจจากสมาคมเทรนหลังเสียชีวิต[7] ในปี 2013 มีการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ในมาลังเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา[8]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มูนีร์สมรสกับนักกิจกรรมสิทธิแรงงาน ซูจีวาตี และมีลูกด้วยกันสองคน ภรรยาของเขาเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการสืบสวนการเสียชีวิตของมูนีร์[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Munir murder conviction quashed BBC News
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Tibke, Patrick (2 September 2014). "Jokowi's Challenge – Part 3: An end to impunity or same old injustices?". Asian Correspondent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-06. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.
- ↑ "Rights campaigner Munir dies on plane". The Jakarta Post. 8 September 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2004.
- ↑ 4.0 4.1 "Secretary Kerry's Trip to Indonesia Should Promote Human Rights". Targeted News Service. 4 October 2013. ProQuest 1439503188.
- ↑ 5.0 5.1 Osman, Nurfika (10 September 2011). "WikiLeaks US Cables Point to BIN Role in Munir Murder". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.
- ↑ "As Indonesia's New President Takes Office, Cabinet Includes Officials Tied to Atrocities of Old". Democracy Now. สืบค้นเมื่อ 29 October 2014.
- ↑ "Honorees". Civil Courage Prize. 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2011.
- ↑ Ayu Pitaloka, Dyah (9 December 2013). "New Museum Brings Munir's Cases, Death To Public View". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
- ↑ Hegarty, Stephanie (24 May 2011). "Indonesian human rights widow fights for justice". BBC.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Munir Museum เก็บถาวร 2018-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- BBC News - Indonesia widens Munir enquiry
- Dateline Archives - Garuda's Deadly Upgrade
- Indonesia pilot jailed for murder
- "Munir: Vanguard of reform", Sidney Jones, The Jakarta Post, 10 September 2004
- Washington Post - Airline Probed in Activist's Murder
- Who Killed Munir?
- Munir's Widow Calls on Indonesia to Hold His Govt. Killers Responsible - video report by Democracy Now!