มุฮัมมัด อุมัร
มุฮัมมัด อุมัร มุญาฮิด | |
---|---|
محمد عمر مجاهد | |
ประมุขสภาสูงสุดแห่งอัฟกานิสถาน[1][2][3] | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กันยายน ค.ศ. 1996 – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 | |
นายกรัฐมนตรี | มุฮัมมัด รับบานี อับดุล กาบีร์ (รักษาการ) |
ก่อนหน้า | บูร์ฮานุดดีน รับบานี (ในฐานะประธานาธิบดี) |
ถัดไป | บูร์ฮานุดดีน รับบานี (ในฐานะประธานาธิบดี) |
ผู้นำเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถานคนแรก | |
ดำรงตำแหน่ง กันยายน ค.ศ. 1994 – 23 เมษายน ค.ศ. 2013 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อัคตาร์ มันศูร์ (ค.ศ. 2015) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประมาณ ค.ศ. 1960 ใกล้กันดะฮาร์[4] หรือจังหวัดโอรุซกัน ประเทศอัฟกานิสถาน[5] |
เสียชีวิต | 23 เมษายน ค.ศ. 2013 (53 ปี) จังหวัดซาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน[6] |
สาเหตุการเสียชีวิต | วัณโรค[8][9][10] |
ที่ไว้ศพ | ตำบลชินเค จังหวัดซาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน[7] |
ความสูง | 6 ft 6 in (1.98 m) |
คู่สมรส | ภรรยา 3 คน |
บุตร | 5 หรือ 6 คนรวมมุฮัมมัด ยะอ์กูบ |
ความสัมพันธ์ | อับดุลมะนาน โอมารี (ลูกเลี้ยงชาย) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | มุญาฮิดีน (ค.ศ. 1983–1991) Hezb-e Islami Khalis (1983–1991) ตอลิบาน (ค.ศ. 1994–2013) |
ประจำการ | ค.ศ. 1983–1991 ค.ศ. 1994–2013 |
ผ่านศึก | สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน |
มุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร มุญาฮิด (ปาทาน: محمد عمر مجاهد, ประมาณ ค.ศ. 1960 – 23 เมษายน ค.ศ. 2013)[13] เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของตอลิบานซึ่งเป็นกลุ่มปลดแอกในประเทศอัฟกานิสถาน เกิดเมื่อราว พ.ศ. 2503[14] ที่จังหวัดกันดะฮาร์ ในครอบครัวชาวนาที่ยากจน บิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขายังเป็นเด็กหนุ่ม เขาจึงต้องดูแลครอบครัว เริ่มทำงานเป็นผู้สอนศาสนาในมัดเราะซะฮ์เล็ก ๆ ใกล้บ้าน ซึ่งถูกรบกวนจากการรุกรานของสหภาพโซเวียต อุมัรได้เข้าร่วมกับฝ่ายต่อต้านนาญิบุลลอฮ์ ผู้นำอัฟกานิสถาน โดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคฮิซบี อิสลามี เขาได้รับบาดเจ็บจนตาขวาบอดสนิท มีภรรยา 3 คน มีบุตร 5 คน
การเกิดขึ้นของตอลิบานที่เขาเป็นผู้นำนั้น เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 เมื่อมีเพื่อนบ้านมาบอกเขาว่ามีขุนศึกในเมืองกันดะฮาร์มาลักพาหญิงไปข่มขืนหลายครั้ง อุมัรจึงรวบรวมนักเรียนศาสนา 30 คน มีปืนไรเฟิลเพียง 10 กระบอก เข้าโจมตีค่ายของขุนศึกและช่วยชีวิตหญิงสาวกลับคืนมาได้ ทำให้กองกำลังตอลิบานเกิดขึ้น ณ จุดนั้น หลังจากที่ยึดอาวุธของผู้มีอิทธิพลได้แล้ว จึงเข้ายึดครองพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มจากกันดะฮาร์ มีคนหนุ่มอัฟกานิสถานมาร่วมด้วยมากมาย จนอุมัรสามารถนำกองกำลังตอลิบานเข้ายึดกรุงคาบูลได้ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 และจับนาญิบุลลอฮ์แขวนคอกลางกรุงคาบูล และเขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาสูงสุดแห่งอัฟกานิสถานซึ่งถือเป็นประมุขรัฐในสมัยตอลิบานปกครองประเทศ
อุมัรเป็นผู้นำที่ลึกลับที่สุด ไม่เคยถ่ายรูปหรือพบกับนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตก เขาพบกับตัวแทนจากสหประชาชาติครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2541 เขาพ้นจากตำแหน่งเมื่อสหรัฐและพันธมิตรฝ่ายเหนือโจมตีอัฟกานิสถาน เขาได้ตัดสินใจนำกองกำลังตอลิบานออกจากกรุงคาบูลไปสู่พื้นที่ที่เป็นเทือกเขา
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 เราะฮ์มาตุลลอฮ์ นาบิล รักษาการหัวหน้าหน่วยข่าวกรองอัฟกานิสถานกล่าวว่า "ไม่แน่ใจว่าอุมัรยังมีชีวิตอยู่หรือไม่" เนื่องจากในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีกระแสข่าวในหมู่ผู้นำของตอลิบานว่าอุมัรเสียชีวิตแล้ว[15] ในขณะที่รายงานล่าสุดกล่าวว่าอุมัรซ่อนตัวในเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน หน่วยข่าวกรองชาวยุโรปกล่าวว่าอุมัรยังมีชีวิตอยู่[16]
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีรายงานว่าอุมัรได้เสียชีวิตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2556[17] ด้วยวัณโรค[18] รายงานดังกล่าวได้รับการยืนยันจากหน่วยข่าวกรองอัฟกานิสถานและกลุ่มตอลิบานในวันต่อมา[19] โดยตำแหน่งผู้นำตอลิบานสืบทอดต่อโดยอัคตาร์ มันศูร[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Legend Mullah Mohammed Omar". The Independent. 31 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
- ↑ Malashenko, Alexey (11 August 2015). "Where Will the New Taliban Leader Lead His People?". Russian International Affairs Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021 – โดยทาง Carnegie Moscow Center.
- ↑ "Mullah Omar: Life chapter of Taliban's supreme leader comes to end". CNN. 29 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
- ↑ "Mohammad Omar: emir of Afghanistan". www.britannica.com. 18 May 2023.
- ↑ Muhammad Zubair Khan and Andrew Marszal (29 July 2015). "Taliban supreme leader Mullah Omar 'is dead'". Telegraph UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
- ↑ Emma Graham-Harrison (10 March 2019). "Fugitive Taliban leader lived short walk from US base, book reveals". The Guardian.
- ↑ "Taliban Leadership Visits Mullah Omar's Grave". CROX NEWS. 31 August 2021.
- ↑ Goldstein, Joseph; Shah, Taimoor (30 July 2015). "Death of Mullah Omar Exposes Divisions Within Taliban". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
- ↑ Nikhil Kumar (29 July 2015). "Mullah Omar Taliban Death". Time. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
- ↑ "Afghan intel agency: Taliban leader died two years ago". USA Today. 29 July 2015.
- ↑ Abdul Salam Zaeef (2010). My Life with the Taliban.
- ↑ Arnaud de Borchgrave, "Osama bin Laden – Null and Void", UPI, 14 June 2001, quoted in Wright, Looming Tower, (2006), p. 226
- ↑ Goldstein, Joseph; Shah, Taimoor (30 July 2015). "Death of Mullah Omar Exposes Divisions Within Taliban". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
- ↑ Matthew Rosenberg (28 December 2014). "Around an Invisible Leader, Taliban Power Shifts". The New York Times. p. A3.
- ↑ "Taliban Supreme leader Mullah Omar has possibly died". 19 November 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
- ↑ "Around an Invisible Leader, Taliban Power Shifts". 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
- ↑ Mullah Omar: Taliban leader 'died in Pakistan in 2013'
- ↑ "Afghan intelligence says Taliban's Mullah Omar died two years ago". The Globe and Mail. July 29, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
- ↑ "Afghanistan says Taliban leader Mullah Omar died 2 years ago". msn.com.
- ↑ "Mullah Omar: Taliban choose deputy Mansour as successor". BBC News. 30 July 2015.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Aggarwal, Neil Krishan (2016). The Taliban's Virtual Emirate: The Culture and Psychology of an Online Militant Community. Columbia University Press. ISBN 978-0-2315-4162-6.
- Coll, Steve (2004). Ghost Wars: The Secret History of the CIA, Afghanistan, and Bin Laden, from the Soviet Invasion to September 10, 2001. Penguin Press. ISBN 1-59420-007-6.
- Goodson, Larry P. (2001). Afghanistan's Endless War: State Failure, Regional Politics and the Rise of the Taliban. Seattle: University of Washington Press. ISBN 0-295-98111-3. OCLC 44634408.
- Rashid, Ahmad (2001). Taliban: The Story of the Afghan Warlords. London: Pan Books. ISBN 0-330-49221-7.
- Weber, Olivier (2001). Le faucon afghan: un voyage au royaume des talibans (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Robert Laffont. ISBN 2221093135. OCLC 319750715.
- จรัญ มะลูลีม. อิสลามการเมืองในการเมืองตะวันออกกลาง. กทม. ศยาม. 2555. หน้า 183 - 187
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- งานโดยหรือเกี่ยวกับ มุฮัมมัด อุมัร ในห้องสมุดต่าง ๆ ในแคตาลอกของเวิลด์แคต
- Mullah Mohammed Omar collected news and commentary at Newsweek
- การสัมภาษณ์
- "Mullah Omar – in his own words", The Guardian, 26 September 2001
- "Interview with Mullah Omar – transcript", BBC News, 15 November 2001
- บทความ
- Investigating Terror: Accomplices, BBC News, 2001
- US says Mullah Omar 'in Pakistan', BBC News, 9 February 2008
- Mullah Mohammed Omar, Hindustan Times, 6 September 2009
- Profile: Mullah Mohammed Omar, BBC News, 6 July 2010
- เอกสารไม่ลับ