ข้ามไปเนื้อหา

มุฮัมมัด อุมัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุฮัมมัด อุมัร มุญาฮิด
محمد عمر مجاهد
ประมุขสภาสูงสุดแห่งอัฟกานิสถาน[1][2][3]
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน ค.ศ. 1996 – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001
นายกรัฐมนตรีมุฮัมมัด รับบานี
อับดุล กาบีร์ (รักษาการ)
ก่อนหน้าบูร์ฮานุดดีน รับบานี (ในฐานะประธานาธิบดี)
ถัดไปบูร์ฮานุดดีน รับบานี (ในฐานะประธานาธิบดี)
ผู้นำเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถานคนแรก
ดำรงตำแหน่ง
กันยายน ค.ศ. 1994 – 23 เมษายน ค.ศ. 2013
ก่อนหน้าก่อตั้งตำแหน่ง
ถัดไปอัคตาร์ มันศูร์ (ค.ศ. 2015)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดประมาณ ค.ศ. 1960
ใกล้กันดะฮาร์[4] หรือจังหวัดโอรุซกัน ประเทศอัฟกานิสถาน[5]
เสียชีวิต23 เมษายน ค.ศ. 2013 (53 ปี)
จังหวัดซาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน[6]
สาเหตุการเสียชีวิตวัณโรค[8][9][10]
ที่ไว้ศพตำบลชินเค จังหวัดซาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน[7]
ความสูง6 ft 6 in (1.98 m)
คู่สมรสภรรยา 3 คน
บุตร5 หรือ 6 คนรวมมุฮัมมัด ยะอ์กูบ
ความสัมพันธ์อับดุลมะนาน โอมารี (ลูกเลี้ยงชาย)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ มุญาฮิดีน (ค.ศ. 1983–1991)
Hezb-e Islami Khalis (1983–1991)
อัฟกานิสถาน ตอลิบาน (ค.ศ. 1994–2013)
ประจำการค.ศ. 1983–1991
ค.ศ. 1994–2013
ผ่านศึกสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

สงครามกลางเมืองอัฟกัน

มุลลอฮ์ มุฮัมมัด อุมัร มุญาฮิด (ปาทาน: محمد عمر مجاهد, ประมาณ ค.ศ. 1960 – 23 เมษายน ค.ศ. 2013)[13] เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของตอลิบานซึ่งเป็นกลุ่มปลดแอกในประเทศอัฟกานิสถาน เกิดเมื่อราว พ.ศ. 2503[14] ที่จังหวัดกันดะฮาร์ ในครอบครัวชาวนาที่ยากจน บิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขายังเป็นเด็กหนุ่ม เขาจึงต้องดูแลครอบครัว เริ่มทำงานเป็นผู้สอนศาสนาในมัดเราะซะฮ์เล็ก ๆ ใกล้บ้าน ซึ่งถูกรบกวนจากการรุกรานของสหภาพโซเวียต อุมัรได้เข้าร่วมกับฝ่ายต่อต้านนาญิบุลลอฮ์ ผู้นำอัฟกานิสถาน โดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคฮิซบี อิสลามี เขาได้รับบาดเจ็บจนตาขวาบอดสนิท มีภรรยา 3 คน มีบุตร 5 คน

การเกิดขึ้นของตอลิบานที่เขาเป็นผู้นำนั้น เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2537 เมื่อมีเพื่อนบ้านมาบอกเขาว่ามีขุนศึกในเมืองกันดะฮาร์มาลักพาหญิงไปข่มขืนหลายครั้ง อุมัรจึงรวบรวมนักเรียนศาสนา 30 คน มีปืนไรเฟิลเพียง 10 กระบอก เข้าโจมตีค่ายของขุนศึกและช่วยชีวิตหญิงสาวกลับคืนมาได้ ทำให้กองกำลังตอลิบานเกิดขึ้น ณ จุดนั้น หลังจากที่ยึดอาวุธของผู้มีอิทธิพลได้แล้ว จึงเข้ายึดครองพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มจากกันดะฮาร์ มีคนหนุ่มอัฟกานิสถานมาร่วมด้วยมากมาย จนอุมัรสามารถนำกองกำลังตอลิบานเข้ายึดกรุงคาบูลได้ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 และจับนาญิบุลลอฮ์แขวนคอกลางกรุงคาบูล และเขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาสูงสุดแห่งอัฟกานิสถานซึ่งถือเป็นประมุขรัฐในสมัยตอลิบานปกครองประเทศ

อุมัรเป็นผู้นำที่ลึกลับที่สุด ไม่เคยถ่ายรูปหรือพบกับนักหนังสือพิมพ์ชาวตะวันตก เขาพบกับตัวแทนจากสหประชาชาติครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2541 เขาพ้นจากตำแหน่งเมื่อสหรัฐและพันธมิตรฝ่ายเหนือโจมตีอัฟกานิสถาน เขาได้ตัดสินใจนำกองกำลังตอลิบานออกจากกรุงคาบูลไปสู่พื้นที่ที่เป็นเทือกเขา

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 เราะฮ์มาตุลลอฮ์ นาบิล รักษาการหัวหน้าหน่วยข่าวกรองอัฟกานิสถานกล่าวว่า "ไม่แน่ใจว่าอุมัรยังมีชีวิตอยู่หรือไม่" เนื่องจากในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีกระแสข่าวในหมู่ผู้นำของตอลิบานว่าอุมัรเสียชีวิตแล้ว[15] ในขณะที่รายงานล่าสุดกล่าวว่าอุมัรซ่อนตัวในเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน หน่วยข่าวกรองชาวยุโรปกล่าวว่าอุมัรยังมีชีวิตอยู่[16]

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีรายงานว่าอุมัรได้เสียชีวิตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2556[17] ด้วยวัณโรค[18] รายงานดังกล่าวได้รับการยืนยันจากหน่วยข่าวกรองอัฟกานิสถานและกลุ่มตอลิบานในวันต่อมา[19] โดยตำแหน่งผู้นำตอลิบานสืบทอดต่อโดยอัคตาร์ มันศูร[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Legend Mullah Mohammed Omar". The Independent. 31 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
  2. Malashenko, Alexey (11 August 2015). "Where Will the New Taliban Leader Lead His People?". Russian International Affairs Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-22. สืบค้นเมื่อ 12 September 2021 – โดยทาง Carnegie Moscow Center.
  3. "Mullah Omar: Life chapter of Taliban's supreme leader comes to end". CNN. 29 July 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 13 February 2016.
  4. "Mohammad Omar: emir of Afghanistan". www.britannica.com. 18 May 2023.
  5. Muhammad Zubair Khan and Andrew Marszal (29 July 2015). "Taliban supreme leader Mullah Omar 'is dead'". Telegraph UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  6. Emma Graham-Harrison (10 March 2019). "Fugitive Taliban leader lived short walk from US base, book reveals". The Guardian.
  7. "Taliban Leadership Visits Mullah Omar's Grave". CROX NEWS. 31 August 2021.
  8. Goldstein, Joseph; Shah, Taimoor (30 July 2015). "Death of Mullah Omar Exposes Divisions Within Taliban". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
  9. Nikhil Kumar (29 July 2015). "Mullah Omar Taliban Death". Time. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.
  10. "Afghan intel agency: Taliban leader died two years ago". USA Today. 29 July 2015.
  11. Abdul Salam Zaeef (2010). My Life with the Taliban.
  12. Arnaud de Borchgrave, "Osama bin Laden – Null and Void", UPI, 14 June 2001, quoted in Wright, Looming Tower, (2006), p. 226
  13. Goldstein, Joseph; Shah, Taimoor (30 July 2015). "Death of Mullah Omar Exposes Divisions Within Taliban". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
  14. Matthew Rosenberg (28 December 2014). "Around an Invisible Leader, Taliban Power Shifts". The New York Times. p. A3.
  15. "Taliban Supreme leader Mullah Omar has possibly died". 19 November 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
  16. "Around an Invisible Leader, Taliban Power Shifts". 28 December 2014. สืบค้นเมื่อ 1 January 2015.
  17. Mullah Omar: Taliban leader 'died in Pakistan in 2013'
  18. "Afghan intelligence says Taliban's Mullah Omar died two years ago". The Globe and Mail. July 29, 2015. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
  19. "Afghanistan says Taliban leader Mullah Omar died 2 years ago". msn.com.
  20. "Mullah Omar: Taliban choose deputy Mansour as successor". BBC News. 30 July 2015.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การสัมภาษณ์
บทความ
เอกสารไม่ลับ