ข้ามไปเนื้อหา

มีเลเต็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มีเลเต็ก
มีเลเต็ก
ชื่ออื่นมีเลเต็กการูดา
ประเภทบะหมี่
มื้อจานหลัก
แหล่งกำเนิดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคยกยา
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน

มีเลเต็ก (อินโดนีเซีย: Mie lethek; แปลว่า หมี่ทุเรศ) เป็นบะหมี่ที่มีที่มาจากเมืองสรันดากัน อำเภอบันตุล เขตการปกครองพิเศษยกยาการ์ตา[1] บะหมี่ทำมาจากมันสำปะหลังและมะพร้าวขูด โดยดั้งเดิมแล้วใช้กระทิงในการมาปั่นแป้งทำบะหมี่ คำว่า "lethek" ได้มาจากลักษณะสีน้ำตาลของหมี่ที่เหมือนกับเปลือกไม้[2] หมี่เลเท็กเป็นที่นิยมลดลงในยกยาการ์ตาเนื่องจากการแข่งขันจากอาหารจานอื่น เช่น เปอติซ, กูนิง และ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กระนั้นในอำเภอบันตุล ยังคงรับประทานบะหมี่นี้กันโดยทั่วไป[3][4]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในทศวรรษ 1920s อูมาร์ ยัสซีร์ (Umar Yassir) เดินทางจากประเทศเยเมนมายังยกยาการ์ตาเพื่อเผยแผ่ศาสนาอิสลาม กระนั้นคำสอนของเขาไม่สามารถแพร่หลายได้เท่าที่ควรเนื่องจากเขาเลือกใช้อักษรยาวี ท้ายที่สุด ชาวบ้านได้เสนอตัว กไย บากีร์ (Kyai Bakir) ซึ่งสามารถพูดภาษาอาหรับได้และสามารถส่งผ่านคำสอนได้ดีกว่า แก่ยัสซีร์ บากีร์ส่งตัวยัสซีร์ไปยังสรันดากันในบันตุลเพื่อสอนศาสนา เขาพบว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ช่วยดำรงชีพแต่ยังช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านได้ ในปี 1940 เขาจึงก่อตั้งโรงงานผลิตบะหมี่ขึ้นในสรันดากัน[3][5][6] โรงงานบะหมี่ของอูมาร์มีชื่อว่า โรงงานบะหมี่ครุฑ (การูดา; Garuda Noodle Factory) ซึ่งมีการปิดตัวชั่วคราวไปสักพักก่อนกลับมาเปิดใหม่[5]

การผลิต

[แก้]
กระทิงที่ใช้ผลิตหมี่

วัตถุดิบหลักของหมี่เลเต็กคือมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลัง มันสำปะหลังจะนำไปแช่น้ำหลายวันโดยเปลี่ยนน้ำทุกวัน หลังจากนั้นจึงนำไปบดผสมกับแป้วมันสำปะหลัง แป้งที่ได้จะนำมานวดโดยใช้กระทิงนานสองชั่วโมง จากนั้นนำมาขึ้นรูปเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมขนาด 20 x 30 x 20 เซนติเมตร และนำไปนึ่งไอน้ำนาน 90 นาทีก่อนจะทิ้งให้เย็นข้ามคืน นำมาขูดเป็นผงผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ขึ้นรูปเป็นบะหมี่ และนำไปต้ม[3]

การประกอบอาหาร

[แก้]

มีเลเต็กสามารถนำไปผัดหรือต้ม[7] นิยมปรุงรสด้วยเครื่องเทศเช่นกระเทียม หอมแดง พริก เม็ดแคนเดิลนัต (candlenuts), ขมิ้น และ ข่า ร่วมกับเนื้อสัตว์หรือผัก[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mie Lethek Garuda". Atlas Obscura. 2020-02-07. สืบค้นเมื่อ 2024-04-16.
  2. "Mie Lethek, Mie Legendaris Bantul yang Tidak Se'lethek' Namanya". Mie Lethek, Mie Legendaris Bantul yang Tidak Se'lethek' Namanya - Krjogja (ภาษาอินโดนีเซีย). 2019-02-07. สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Potensi Makanan Tradisional Mie Lethek Sebagai Daya Tarik Wisata di Daerah Istimewa Yogyakarta" (ภาษาอินโดนีเซีย). Program Diploma Kepariwisataan Universitas Merdeka Malang. 2022-10-31. สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  4. Media, Kompas Cyber (2011-11-03). "Meski Kusam, Mi Lethek Tetap Bertahan". KOMPAS.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  5. 5.0 5.1 Hidayat, Pandu (2020-05-16). "Mi Lethek, Kuliner Legendaris Yogyakarta". Good News From Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  6. Sahana, Munarsih (2017-07-03). "Mie Lethek, Makanan Organik Lokal Yang Digemari Barack Obama". VOA Indonesia (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  7. Sari, Yenny Mustika (2021-08-06). "5 Mie Jawa Paling Enak, Ada Mie Godog hingga Mie Lethek". detikfood (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.
  8. Beribe, Bonifasius Sedu (2019-08-15). "Mie Lethek, Si Butek dari Jogja yang Nampol". Mie Lethek, Si Butek dari Jogja yang Nampol - Akurat (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2024-04-15.