ข้ามไปเนื้อหา

มีดโกนของฮิตเชนส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มีดโกนของฮิตเชนส์ (อังกฤษ: Hitchens's Razor) คือมีดโกนเชิงญาณวิทยา ทำหน้าที่เป็นกฎสำหรับปัดตกหรือปฏิเสธการกล่าวอ้างความรู้บางอย่าง โดยกล่าวว่า "สิ่งใดกล่าวอ้างได้โดยไร้ซึ่งหลักฐานก็ถูกปัดตกโดยไร้ซึ่งหลักฐาน" (what can be asserted without evidence can also be dismissed without evidence)[1][2][3] มีดโกนนี้ถูกสร้างตั้งชื่อในภายหลังโดยนักเขียน นักวารสารศาสตร์ คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์ (1949–2011) เป็นการกล่าวโดยนัยว่าภาระการพิสูจน์ความเป็นจริงของข้อกล่าวอ้างตกลงไปที่ผู้กล่าวอ้างนั้นเอง และหากผู้กล่าวอ้างไม่พิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของตนแล้ว ข้อกล่าวอ้างจะถือว่าไม่มีมูล และฝ่ายค้านข้อกล่าวอ้างนี้ไม่จำเป็นต้องโต้เถียงเพื่อหักล้างข้อกล่าวอ้างนี้ ฮิตเชนส์ใช้วลีนี้โดยเฉพาะในบริบทเพื่อหักล้างความเชื่อทางศาสนาและการมีตัวตนอยู่ของพระเป็นเจ้า[3]

วิเคราะห์

[แก้]

คำบอกเล่านี้ปรากฏในหนังสือของฮิตเชนส์ใน ค.ศ. 2007 ชื่อ God Is Not Great: How Religion Poisons Everything (พระเจ้าไม่ยิ่งใหญ่: ศาสนาก่อพิษในทุกสิ่งอย่างไร) [3] [4] คำว่า "มีดโกนของฮิตเชนส์" (Hitchens's Razor) ปรากฏครั้งแรก (ในชื่อ "Hitchens' Razor") ในฟอรัมออนไลน์เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 และใช้โดยบล็อกเกอร์เอเทียสต์ "Rixaeton" ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2010 และได้รับความนิยมจากนักชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการและนักเคลื่อนไหวเอเทียสต์ เจอร์รี คอยน์ หลังจากฮิตเชนส์เสียชีวิตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 [5] [6] [7] บางหน้าในหนังสือของฮิตเชนส์ เขายังกล่าวถึงมีดโกนอ็อกคัมอีกด้วย [8] ใน ค.ศ. 2007 ไมเคิล คินสลีย์ ตั้งข้อสังเกตในเดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่า ฮิตเชนส์ค่อนข้างชอบที่จะใช้มีดโกนอ็อกคัมกับข้อกล่าวอ้างทางศาสนาต่าง ๆ [9] และอ้างอิงจากจิลเลียน เมลชอร์บนเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลใน ค.ศ. 2017 ที่กล่าวว่า "สิ่งใดกล่าวอ้างได้โดยไร้ซึ่งหลักฐานก็ถูกปัดตกโดยไร้ซึ่งหลักฐาน" คือ "มีดโกนอ็อกคัมรูปแบบใหม่โดยคริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์" [10] มีดโกนของฮิตเชนส์ถูกนำพาพูดถึงคู่กับมาตรฐานเซแกน ("Extraordinary claims require extraordinary evidence" (ข้อกล่าวอ้างอันวิเศษมหัศจรรย์ใดจำเป็นต้องเสนอด้วยหลักฐานอันน่ามหัศจรรย์)) เพื่อเป็นตัวอย่างของแนวคิดหลักฐานนิยมในขบวนการอเทวนิยมสมัยใหม่

การใช้งานในการวิจารณ์อเทวนิยม

[แก้]

นักปรัชญาวิชาการ ไมเคิล วี. แอนทอนี (2010) แย้งว่าแม้จะใช้มีดโกนของฮิตเชนส์เพื่อปฏิเสธความเชื่อทางศาสนาและเพื่อสนับสนุนแนวคิดอเทวนิยม แต่การใช้มีดโกนกับแนวคิดอเทวนิยมเองก็ดูเหมือนจะบอกเป็นนัยว่าแนวคิดอเทวนิยมนั้นไม่ยุติธรรมในเชิงองค์ความรู้ ตามดารกล่าวของแอนโทนี อเทวนิยมสมัยใหม่ (New Atheists) ซึ่งฮิตเชนส์ก็เป็นสมาชิกด้วยนั้น ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งพิเศษหลายประการที่อ้างว่าแสดงให้เห็นว่าอเทวนิยมนั้นในความเป็นจริงสามารถยืนยันได้โดยไม่มีหลักฐานหรือไม่

การวิจารณ์

[แก้]

นักปรัชญา ซี. สตีเฟน อีแวนส์ (2015) สรุปคำตอบโต้เชิงเทววิทยาของคริสเตียนทั่วไปบางประการต่อข้อโต้แย้งของฮิตเชนส์, ริชาร์ด ดอว์กินส์ และสมาชิกอเทวนิยมสมัยใหม่ ว่าหากความเชื่อทางศาสนาไม่ได้ตั้งอยู่ฐานของหลักฐานแล้วก็ถือว่าไม่สมเหตุสมผลและด้วยเหตุนี้เองก็จึงสามารถเพิกเฉยได้โดยไม่มีหลักฐาน โดยให้ลักษณะเฉพาะของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้าแบบใหม่ว่าเป็น พวกที่มีหลักฐาน อีแวนส์นับตัวเองเป็นหนึ่งใน นักญาณวิทยาสายปฏิรูป ร่วมกับ อัลวิน แพลนติงกา ซึ่งโต้แย้งเรื่อง ลัทธิรากฐานนิยมรูป แบบหนึ่ง กล่าวคือ "ความเชื่อในพระเจ้าสามารถมีเหตุผลได้ แม้ว่าผู้เชื่อจะไม่มีข้อโต้แย้งหรือหลักฐานเชิงประพจน์ที่ความเชื่อนั้น เป็นพื้นฐาน" แนวคิดก็คือความเชื่อทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเชื่ออื่นๆ และ "ความเชื่อพื้นฐาน" หรือ "ความเชื่อพื้นฐาน" บางอย่างจำเป็นต้องสันนิษฐานว่าเป็นความจริงเพื่อที่จะเริ่มต้นที่ไหนสักแห่ง และมันก็เป็นเรื่องปกติที่จะเลือกพระเจ้าเป็นหนึ่งในความเชื่อพื้นฐานเหล่านั้น [11]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ratcliffe, Susan, บ.ก. (2016). Oxford Essential Quotations: Facts (4 ed.). Oxford University Press. ISBN 9780191826719. สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2020. What can be asserted without evidence can also be dismissed without evidence.
  2. McGrattan, Cillian (2016). The Politics of Trauma and Peace-Building: Lessons from Northern Ireland. Abingdon: Routledge. p. 2. ISBN 978-1138775183.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hitchens, Christopher (6 เมษายน 2009). God Is Not Great: How Religion Poisons Everything (Kindle ed.). Twelve Books. p. 258. ASIN B00287KD4Q. And remember, miracles are supposed to occur at the behest of a being who is omnipotent as well as omniscient and omnipresent. One might hope for more magnificent performances than ever seem to occur. The “evidence” for faith, then, seems to leave faith looking even weaker than it would if it stood, alone and unsupported, all by itself. What can be asserted without evidence can also be dismissed without evidence. This is even more true when the “evidence” eventually offered is so shoddy and self-interested.
  4. Hitchens, Christopher (2007). God Is Not Great: How Religion Poisons Everything. New York, NY: Twelve Books. p. 150. ISBN 978-1843545743.
  5. Rixaeton (1 ธันวาคม 2010). "Hitchens' Razor". Rixaeton's Space Adventures in Space and Other Places. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2021.
  6. Rixaeton (2 มกราคม 2012). "Correcting Hitchens' Razor to Hitchens's Razor". Rixaeton's Space Adventures in Space and Other Places. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2021.
  7. Jerry Coyne (25 ธันวาคม 2011). "Readers' tributes to Hitchens: The final day, with music". Why Evolution Is True. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2021.
  8. Hitchens, Christopher (6 เมษายน 2009). God Is Not Great: How Religion Poisons Everything (Kindle ed.). Twelve Books. p. 119. ASIN B00287KD4Q. [William Ockham] devised a 'principle of economy', popularly known as 'Ockham's razor,' which relied for its effect on disposing of unnecessary assumptions and accepting the first sufficient explanation or cause. 'Do not multiply entities beyond necessity.' This principle extends itself. 'Everything which is explained through positing something different from the act of understanding', he wrote, 'can be explained without positing such a distinct thing.'
  9. Kinsley, Michael (13 พฤษภาคม 2007). "In God, Distrust". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2021. Hitchens is attracted repeatedly to the principle of Occam's razor: that simple explanations are more likely to be correct than complicated ones. (E.g., Earth makes a circle around the Sun; the Sun doesn't do a complex roller coaster ride around Earth.) You might think that Occam's razor would favor religion; the biblical creation story certainly seems simpler than evolution. But Hitchens argues effectively again and again that attaching the religious myth to what we know from science to be true adds nothing but needless complication.
  10. Melchior, Jillian (21 กันยายน 2017). "Inside the Madness at Evergreen State". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2019. Mr. Coffman cited Christopher Hitchens's variation of Occam's razor: 'What can be asserted without evidence can be dismissed without' [evidence]
  11. Evans, C. Stephen (2015). Why Christian Faith Still Makes Sense: A Response to Contemporary Challenges. Grand Rapids, Michigan: Baker Academic. pp. 16–17. ISBN 9781493400225. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2021.