ข้ามไปเนื้อหา

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตมิตซูบิชิ มอเตอร์ส
เรียกอีกชื่อ
  • มิตซูบิชิ ชาเลนเจอร์  (2539–59)
  • มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต
  • มิตซูบิชิ โชกุน สปอร์ต (สหราชอาณาจักร)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2539–ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง
รูปแบบตัวถังSUV 5 ประตู
โครงสร้าง
แชสซีบอดีออนเฟรม
รุ่นที่คล้ายกันมิตซูบิชิ ไทรทัน

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต (อังกฤษ: Mitsubishi Pajero Sport) เป็นรถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดกลาง (mid-size SUV) แบบโครงสร้างตัวถังแยกกับช่วงล่าง (body-on-frame) ที่ผลิตและพัฒนาโดยมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มใช้ชื่อปาเจโรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ใช้โครงสร้างเดียวกันกับมิตซูบิชิ ไทรทัน โดยมีการพัฒนามาแล้ว 3 รุ่น (โฉม) ปาเจโร สปอร์ต แตกต่างจากปาเจโรรุ่นดั้งเดิมที่เป็นรถ SUV ขนาดใหญ่ และใช้โครงสร้างตัวถังแบบ unibody ซึ่งผลิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และยุติการผลิตในปี พ.ศ. 2564

เดิมทีมิตซูบิชิเคยใช้ชื่อ มิตซูบิชิ ชาเลนเจอร์ (ญี่ปุ่น: 三菱・チャレンジャーโรมาจิMitsubishi Charenjāทับศัพท์: Mitsubishi Challenger) สำหรับรถยนต์รุ่นนี้ในประเทศญี่ปุ่น และบางประเทศที่ส่งออกไปขาย อย่างไรก็ตาม หลังจากรุ่นที่ 3 ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ. 2558 ทางมิตซูบิชิก็ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่ออื่นแทน เช่น ปาเจโร สปอร์ต (Pajero Sport) มอนเตโร สปอร์ต (Montero Sport) และโชกุน สปอร์ต (Shogun Sport)

รุ่นที่ 1 (K80/K90/PA/PA II; พ.ศ. 2539)

[แก้]
รุ่นที่ 1 (K80/K90/PA/PA II)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
  • มิตซูบิชิ ชาเลนเจอร์
  • มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต
  • มิตซูบิชิ โชกุน สปอร์ต (สหราชอาณาจักร)
  • มิตซูบิชิ สตราดา จี-แวกอน (ประเทศไทย)
  • มิตซูบิชิ นาติวา
  • เป่ย์จิง BJ2025
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2539–2551
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
รุ่นที่คล้ายกันมิตซูบิชิ ไทรทัน (รุ่นที่ 3)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
กำลัง
  • 98.5 kW (132 hp; 134 PS) (4G64)
  • 130 kW (174 hp; 177 PS) (6G72)
  • 139 kW (186 hp; 189 PS) (6G74)
  • 103 kW (138 hp; 140 PS) (4M40)
  • 121 kW (162 hp; 165 PS) (4M41)
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด V5MT1
  • เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 5-สปีด INVECS-II
  • เกียร์อัตโนมัติ 4-สปีด
มิติ
ระยะฐานล้อ2,725 mm (107.3 in)
ความยาว4,620 mm (181.9 in)
ความกว้าง1,775 mm (69.9 in)
ความสูง1,735 mm (68.3 in)
น้ำหนัก1,845–1,920 kg (4,068–4,233 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปมิตซูบิชิ เอนเดเวอร์ (อเมริกาเหนือ)

สำหรับรถ SUV ที่วางจำหน่ายในช่วงเวลาเดียวกับมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต รุ่นแรก ในตลาดลาตินอเมริกา โปรดดูที่ มิตซูบิชิ มอนเตโร เอาท์แลนเดอร์ (Mitsubishi Montero Outlander)

การผลิตเริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2539 และเริ่มวางจำหน่ายในตลาดส่งออกส่วนใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 โดยใช้ชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค เช่น ชาเลนเจอร์, ปาเจโร สปอร์ต ในยุโรป, มอนเตโร สปอร์ต ในอเมริกาเหนือ ใต้ สเปน และฟิลิปปินส์, นาติวา ในลาตินอเมริกาบางประเทศ แคริบเบียน และตะวันออกกลาง, โชกุน สปอร์ต ในสหราชอาณาจักร,[1] และสตราดา จี-แวกอน ในประเทศไทย ใช้พื้นฐานเดียวกันกับมิตซูบิชิ สตราดา (Mitsubishi Strada) ในยุคเดียวกัน โดยใช้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ร่วมกันหลายชิ้น (เช่น ประตูหน้า) แต่มีความแตกต่างตรงที่การใช้ระยะฐานล้อเดียวกับปาเจโรรุ่นที่สอง จึงทำให้ปาเจโร สปอร์ต มีขนาดเล็กกว่าปาเจโรรุ่นดั้งเดิม

ระบบกันสะเทือนด้านหน้าเป็นแบบอิสระพร้อมทอร์ชันบาร์ และเพลาท้ายแบบคานแข็งเหมือนกับปาเจโร จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ตรงช่วงปลายปี พ.ศ. 2543 ที่มีการปรับเปลี่ยนระบบกันสะเทือนด้านหลังจากเดิมที่เป็นแหนบมาเป็นคอยล์สปริง นอกจากนั้นยังมีการปรับโฉมเพิ่มเติมอีกหลายครั้งตลอดอายุการผลิต เมื่อความนิยมเพิ่มขึ้น มิตซูบิชิจึงได้เริ่มประกอบรถรุ่นนี้ในต่างประเทศเพื่อจำหน่ายในพื้นที่นั้น ๆ โดยเริ่มที่ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2546[2] และบราซิลในปี พ.ศ. 2549[3] ต่อมาได้ยุติการจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2546 และสหรัฐในปี พ.ศ. 2547 โดยถูกแทนที่ด้วยรถรุ่นใหม่คือ มิตซูบิชิ เอนเดเวอร์ (Mitsubishi Endeavor)[4] สำหรับประเทศแคนาดายังคงวางจำหน่ายควบคู่ไปกับมิตซูบิชิ เอนเดเวอร์ จนถึง พ.ศ. 2551 ในขณะเดียวกัน การจำหน่ายในยุโรปตอนกลางและตะวันตกได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่เปิดตัวปาเจโร/มอนเตโร สปอร์ต รุ่นที่สอง[5] ในประเทศญี่ปุ่น ยังมีการจำหน่ายในร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งที่เรียกว่า Car Plaza

เครื่องยนต์ที่นิยมใช้มากที่สุดคือ เครื่องยนต์เบนซิน V6 ขนาด 3.0 ลิตร ซึ่งให้กำลัง 175 แรงม้า (130 กิโลวัตต์) ที่ 5,000 รอบต่อนาที[6] ในตลาดอเมริกาเหนือจะใช้เครื่องยนต์เบนซิน V6 ทุกปีที่ผลิต ยกเว้นรุ่นเริ่มต้นในสหรัฐที่มีเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 ลิตรเป็นทางเลือกในช่วงปี พ.ศ. 2540 ถึง 2542 และวางจำหน่ายต่อเนื่องอีกหลายปีในแคนาดา ส่วนตลาดนอกอเมริกาเหนือนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 4 สูบ ซึ่งมีหลายขนาดให้เลือก

แกลเลอรี

[แก้]

รุ่นที่ 2 (KG/KH/PB; พ.ศ. 2551)

[แก้]
รุ่นที่ 2 (KG/KH/PB)
มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต (ก่อนปรับโฉม)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
  • มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต
  • มิตซูบิชิ นาติวา
  • มิตซูบิชิ โชกุน สปอร์ต
  • มิตซูบิชิ ชาเลนเจอร์ (ออสเตรเลีย)
  • มิตซูบิชิ ปาเจโร ดาการ์ (ลาตินอเมริกา)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2551–2559
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
รุ่นที่คล้ายกันมิตซูบิชิ ไทรทัน (รุ่นที่ 4)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
กำลัง
  • 162 kW (217 hp; 220 PS) (6B31)
  • 139 kW (186 hp; 189 PS) (6G74)
  • 100–131 kW (134–176 hp; 136–178 PS) (4D56)
  • 121 kW (162 hp; 165 PS) (4M41)
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด V5MT1
  • เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 5-สปีด INVECS-II พร้อมโหมดสปอร์ต SMART
  • เกียร์อัตโนมัติ 4-สปีด INVECS-II พร้อมโหมด Sportronic
มิติ
ระยะฐานล้อ2,800 mm (110.2 in)
ความยาว4,695 mm (184.8 in)
ความกว้าง1,815 mm (71.5 in)
ความสูง1,840 mm (72.4 in)

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต รุ่นที่สองถูกออกแบบโดยอาศัยพื้นฐานของโครงรถแบบขั้นบันได (ladder frame chassis) ของมิตซูบิชิ ไทรทัน เปิดตัวครั้งแรกในงานแสดงรถยนต์นานาชาติมอสโก (Moscow International Automobile Salon) ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2551 และทยอยวางจำหน่ายในบางประเทศ เช่น รัสเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง ด้านการออกแบบได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากรถต้นแบบคือ มิตซูบิชิ ปาเจโร อีโวลูชัน (Mitsubishi Pajero Evolution) ปี พ.ศ. 2544 ที่ใช้เครื่องยนต์ V8 ขนาด 4.7 ลิตร รุ่นนี้ยังคงมีเครื่องยนต์ให้เลือกเหมือนเดิมคือ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.5 หรือ 3.2 ลิตร และเครื่องยนต์เบนซิน V6 ขนาด 3.0 หรือ 3.5 ลิตร ภายในห้องโดยสารมีให้เลือกทั้งแบบ 5 ที่นั่งและ 7 ที่นั่ง[5][9] เช่นเดียวกับรถกระบะไทรทันที่เป็นพื้นฐาน โรงงานผลิตปาเจโร สปอร์ต สำหรับจำหน่ายทั่วโลกนั้น ตั้งอยู่ที่ประเทศไทยแห่งเดียว[10]

ในประเทศฟิลิปปินส์ มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต จะใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต (Mitsubishi Montero Sport) เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 มีเครื่องยนต์เพียงรุ่นเดียวคือ เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลไดเรกต์อินเจ็กชัน รหัส 4M41 ขนาด 3.2 ลิตร ให้กำลัง 163 แรงม้า แรงบิด 343 นิวตันเมตร ทำงานร่วมกับเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด INVECS-II (พร้อมโหมดสปอร์ตทรอนิกส์) มี 2 รุ่นย่อยคือ GLS และ GLS SE ซึ่งเป็นรุ่นท็อป ในปี พ.ศ. 2554 เครื่องยนต์ของมอนเตโร สปอร์ต ได้รับการปรับปรุง โดยเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล รหัส 4D56 ขนาด 2.5 ลิตร ให้กำลังสูงสุดที่ 178 แรงม้า แรงบิด 350 นิวตันเมตร (เพิ่มขึ้นจากรุ่นเดิม 15 แรงม้าและ 7 นิวตันเมตร) เครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้มาพร้อมกับระบบเทอร์โบแปรผัน (Variable Geometry Turbo: VGT) ซึ่งช่วยเพิ่มพละกำลังเครื่องยนต์ได้ดีกว่าเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 3.2 ลิตร รุ่นก่อนหน้า 15% นอกจากจะมีกำลังมากกว่าและตอบสนองได้ดีขึ้นแล้ว เครื่องยนต์รุ่นใหม่นี้ยังประหยัดน้ำมันมากขึ้นอีกด้วย รุ่นย่อยที่ได้รับการปรับปรุงเครื่องยนต์นี้ใช้ชื่อว่า มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต GLS-V ซึ่งเป็นรุ่นกลาง เพิ่มเติมด้วยช่องต่ออุปกรณ์เสริม เซ็นเซอร์ถอยหลัง แผ่นกันรอยที่ประตูท้าย เครื่องเสียงหน้าจอสัมผัส 2DIN พร้อมบลทูธและ GPS และดิสก์เบรคขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวรุ่นย่อยใหม่แทนรุ่น GLS SE เดิม คือ มิตซูบิชิ มอนเทโร สปอร์ต GTV มาพร้อมกระจังหน้าใหม่ เครื่องเสียง DVD ตราสัญลักษณ์ สปอยเลอร์ท้ายรถทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ แพดเดิลชิฟท์ และเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด รุ่นใหม่

ในประเทศอินเดีย ปาเจโร สปอร์ต เคยถูกนำเข้ามาในรูปแบบชุดประกอบ (CKD) และประกอบโดยบริษัทร่วมค้า (joint venture) ระหว่างฮินดูสถานมอเตอร์ กับมิตซูบิชิ เครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเครื่องยนต์ดีเซลเทอร์โบ 4 สูบ ขนาด 2.5 ลิตร รหัส 4D56-T[11] และยุติการจำหน่ายไปเมื่อปี พ.ศ. 2562[12]

ในประเทศบังกลาเทศ ปาเจโร สปอร์ต ได้รับการประกอบโดยโปรโกติ(Pragoti) ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมยานยนต์ของรัฐบาล[13]

ภายในห้องโดยสารตกแต่งด้วยเบาะหนัง มีหน้าจอสัมผัสบริเวณคอนโซลหน้า หน้าจอนี้แสดงข้อมูลต่าง ๆ เช่น เวลา เข็มทิศ ข้อมูลประหยัดน้ำมัน และฟังก์ชั่นอื่น ๆ เบาะแถวที่ 2 มีช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารแต่ละคน พร้อมแผงควบคุมแอร์สำหรับเบาะหลัง เบาะแถวที่ 3 มาพร้อมกับที่วางแก้ว 2 ใบและช่องเสียบปลั๊กไฟ

ปัญหารถเร่งเองโดยไม่ตั้งใจ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2554 เจ้าของมิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต ในฟิลิปปินส์ รายงานว่ารถของตนเองเกิดอาการเร่งเครื่องเองอย่างกะทันหัน[14] ต่อมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ฟิลิปปินส์ ได้ชี้แจงว่าบริษัทได้ทำการทดสอบระบบไฟฟ้าของรถและไม่พบปัญหาใด ๆ นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้น่าจะเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับมากกว่า[15][16] เจ้าของรถที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว วางแผนที่จะยื่นฟ้องร้องบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ฟิลิปปินส์ เป็นคดีโจทก์[17] ต่อมากระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อตรวจสอบอุบัติเหตุและข้อร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง 2558 โดยจะมีการเสนอให้มีการเรียกคืนรถ หรือยกเลิกการจำหน่ายมอนเตโร สปอร์ต ในประเทศฟิลิปปินส์ทั้งหมด[18]

รุ่นที่ 3 (KR/KS/QE/QF; พ.ศ. 2558)

[แก้]
รุ่นที่ 3 (KR/KS/QE/QF)
มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต GLS ปี พ.ศ. 2560 (ออสเตรเลีย ก่อนการปรับโฉมใหม่)
ภาพรวม
เรียกอีกชื่อ
  • มิตซูบิชิ มอนเตโร สปอร์ต
  • มิตซูบิชิ โชกุน สปอร์ต (สหราชอาณาจักร)
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2558–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
ผู้ออกแบบอัตสึโนริ มิตสึดะ, นาโอกิ อากิตะ, โอซามุ สึจิยะ, โทชิฮิโระ อิมาเอดะ และยูทากะ อิวาตะ (ก่อนปรับโฉม)[19]
สึเนะฮิโระ คุนิโมโตะ (ปรับโฉม)
ตัวถังและช่วงล่าง
รุ่นที่คล้ายกัน
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
กำลัง
  • 162 kW (217 hp; 220 PS) (6B31)
  • 133 kW (178 hp; 181 PS) (4N15)
  • 135 kW (181 hp; 184 PS) (4N16)
  • 100 kW (134 hp; 136 PS) (4D56)
ระบบเกียร์
  • เกียร์ธรรมดา 5-สปีด[20]
  • เกียร์ธรรมดา 6-สปีด
  • เกียร์อัตโนมัติ 5-สปีด[20]
  • เกียร์อัตโนมัติ 6-สปีด Aisin (ประเทศไทย; ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
  • เกียร์อัตโนมัติ 8-สปีด Aisin TL-80SN/TL-80NF
มิติ
ระยะฐานล้อ2,800 mm (110.2 in)
ความยาว4,785–4,825 mm (188.4–190.0 in)
ความกว้าง1,815 mm (71.5 in)
ความสูง1,805 mm (71.1 in)
น้ำหนัก2,045 kg (4,508 lb)

มิตซูบิชิเปิดตัวปาเจโร สปอร์ต รุ่นที่ 3 ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 และวางจำหน่ายเป็นรุ่นปี พ.ศ. 2559 โดยมาพร้อมเครื่องยนต์ใหม่รหัส 4N15 ขนาด 2.4 ลิตร MIVEC 4N15 ที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม แต่ให้กำลังแรงม้าเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ 4D56 โดยมีกำลัง 181 แรงม้า (133 กิโลวัตต์) แรงบิด 430 นิวตันเมตร (เพิ่มขึ้น 23% จากเดิม 350 นิวตันเมตร) ทั้งที่มีความจุลดลงเล็กน้อยที่ 2,442 ซีซี (เดิม 2,476 ซีซี) ตั้งแต่เปิดตัวรุ่นที่ 3 นี้ มิตซูบิชิได้ยกเลิกการใช้ชื่อชาเลนเจอร์ และใช้ชื่อปาเจโร สปอร์ต/มอนเทโร สปอร์ต แทน[21]

คุณสมบัติเด่นของมิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต รุ่นที่ 3 คือระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด Aisin TL-80SN/TL-80NF จากโตโยต้า ซึ่งมาแทนระบบเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด INVECS-II ในรุ่นก่อน ช่วยให้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่าเดิมอย่างมาก โดยที่อัตราเร่งยังคงดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีรุ่นย่อยบางรุ่นที่ใช้เกียร์ธรรมดา 6 สปีด สำหรับระบบขับเคลื่อน ทุกเครื่องยนต์มาพร้อมระบบเบรกแบบดิสก์ ล้อหน้าเป็นแบบมีรูระบายความร้อนขนาด 6 นิ้ว และล้อหลังเป็นแบบตันขนาด 6 นิ้ว รวมไปถึงระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ S-AWC ของมิตซูบิชิ (เฉพาะรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ) ภายในยังมีออปชันเพิ่มเติมมากมาย เช่น หลังคาซันรูฟ ระบบปรับอากาศแบบแยกโซน เบาะหนังทรงสปอร์ตปรับไฟฟ้า พร้อมเบาะรองนั่งแบบหลายชั้น (บางรุ่นมีที่นั่งเสริมสำหรับผู้โดยสารอีก 2 คน ทำให้จุผู้โดยสารได้ทั้งหมด 7 คน ขึ้นอยู่กับตลาดที่จำหน่าย) และระบบ Infotainment หน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้ว

ปาเจโร สปอร์ต รุ่นใหม่นี้มีตัวถังที่เบาลงกว่ารุ่นก่อน ด้วยเหตุผลคือ การใช้พลาสติกแบบ CF (Carbon Fiber Reinforced Plastic; พลาสติกเสริมคาร์บอนไฟเบอร์ ) ซึ่งความแข็งแรงทนทาน แต่น้ำหนักเบา และเสื้อสูบที่ทำจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์ ส่งผลให้มีตัวถังจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำ

ในปี พ.ศ. 2564 หลังจากมิตซูบิชิ ปาเจโร รุ่นดั้งเดิมซึ่งเป็นรถ SUV ขนาดใหญ่ถูกยุติการผลิตไป มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ก็กลายเป็นรถ SUV รุ่นท็อปของแบรนด์ ที่ยังคงใช้โครงสร้างตัวถังแบบแยกกับช่วงล่าง (body-on-frame) อยู่[22][23]

ระบบขับเคลื่อน

[แก้]

เครื่องยนต์ของปาเจโร/มอนเตโร สปอร์ต มี 3 รุ่นดังนี้

  • 4D56 DI-D คอมมอนเรล กำลัง 136 แรงม้า (100 กิโลวัตต์; 134 แรงม้า) แรงบิด 324 นิวตันเมตร (239 ปอนด์-ฟุต; 33 กิโลกรัม-เมตร) (สำหรับรุ่น GLX และ Exceed ในอินโดนีเซีย)[24] จับคู่กับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด ในรุ่น GLX/Exceed หรือเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด ในรุ่น Exceed
  • 4N15 MIVEC VG Turbo กำลัง 181 แรงม้า (133 กิโลวัตต์; 179 แรงม้า) แรงบิด 430 นิวตันเมตร (317 ปอนด์-ฟุต; 44 กิโลกรัม-เมตร) (สำหรับรุ่น Dakar ในอินโดนีเซีย และทุกรุ่นในฟิลิปปินส์และไทย) จับคู่กับเกียร์ธรรมดา 6 สปีด หรือเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
  • 6B31 MIVEC V6 เครื่องยนต์เบนซินขนาด 3.0 ลิตร จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด (ไม่มีจำหน่ายในอินโดนีเซีย)

การจำหน่าย

[แก้]

อินโดนีเซีย

[แก้]

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต รุ่นที่ 3 เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559 ที่กรุงจาการ์ตา ในช่วงแรกมีการประกอบและนำเข้ามาจากประเทศไทย ต่อมาในเดือนเมษายน 2560 ได้มีการย้ายฐานการผลิตมาประกอบที่โรงงานจิการัง เมืองเบอกาซี จังหวัดชวาตะวันตก

ฟิลิปปินส์

[แก้]

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ถูกนำมาทำตลาดในชื่อ มิตซูบิชิ มอนเทโร สปอร์ต เปิดตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ช่วงแรกมี 4 รุ่นย่อยคือ: GLS 4x2 (เกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด), GLS Premium 4x2 (เกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด), GLS 4x4 (เกียร์ธรรมดา 6 สปีด) และ GT 4x4 (เกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด) ทุกรุ่นย่อยใช้เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ รหัส 4N15 MIVEC VGT ขนาด 2.4 ลิตร[25] ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้มีการเพิ่มรุ่นย่อย GLX 4x2 (เกียร์ธรรมดา 6 สปีด) ซึ่งเป็นรุ่นเริ่มต้นเข้ามาในไลน์ผลิตภัณฑ์[26] มอนเทโร สปอร์ต ได้รับการปรับโฉมครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2562[27] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ก็ได้มีการเพิ่มรุ่น Black Series เข้ามาอีก[28]

บังกลาเทศ

[แก้]

วางจำหน่ายในชื่อ ปาเจโร สปอร์ต ทำการประกอบโดยปราโกติ (Pragoti) ที่เมืองจิตตะกอง[29] โดยบริษัทแห่งนี้ยังเคยมีการผลิตปาเจโร สปอร์ต มาก่อนด้วย[30]

ตะวันออกกลาง

[แก้]

สำหรับตลาดตะวันออกกลาง ปาเจโร สปอร์ต มีจำหน่ายในรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน V6 6B31 ขนาด 3.0 ลิตร[31]

ออสเตรเลีย

[แก้]

ในประเทศออสเตรเลีย มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต มีให้เลือกทั้งแบบ 5 ที่นั่งสำหรับรุ่นพื้นฐาน GLX หรือ GLS หรือแบบ 7 ที่นั่งในรุ่น GLS และ Exceed มีจำหน่ายเฉพาะรุ่นเกียร์อัตโนมัติเท่านั้น เนื่องจากรุ่นเกียร์ธรรมดาในรุ่นก่อนหน้านี้มียอดขายน้อย[32]

ยุโรป

[แก้]

สำหรับตลาดสหราชอาณาจักร มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต จะวางจำหน่ายภายใต้ชื่อ มิตซูบิชิ โชกุน สปอร์ต (Mitsubishi Shogun Sport) โดยมีรุ่นสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีเบาะแถวที่สองและสาม เพื่อเพิ่มพื้นที่บรรทุกสัมภาระ

ปรับโฉม (QF)

[แก้]

การปรับโฉมครั้งแรกในรุ่นที่ 3 เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 การปรับโฉมครั้งนี้เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงด้านหน้ารถ โดยใช้กระจังหน้าแบบ Dynamic Shield ที่ทันสมัย ไฟหน้าเป็นแบบสองชั้น ดีไซน์ไฟท้ายมีการปรับให้สั้นลงตามความเห็นลูกค้า ส่วนเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง ยังคงเหมือนเดิมกับรุ่นก่อนปรับโฉม[33] เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ได้แก่ ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน (Hill Start Assist), ชุดมาตรวัดดิจิตอลขนาด 8 นิ้ว, หน้าจอสัมผัสขนาด 8 นิ้ว รองรับระบบนำทาง กล้องมองภาพรอบคัน 360 องศา รองรับ Apple CarPlay และ Android Auto และระบบเปิด-ปิดประตูท้ายด้วยระบบไฟฟ้า หลังจากเปิดตัวในไทย ตลาดต่างประเทศก็เริ่มมีการวางจำหน่ายตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยอินโดนีเซียเปิดตัวตามมาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 ได้มีการเปิดตัวการปรับโฉมครั้งที่สองที่ประเทศไทย โดยมีการเปลี่ยนแปลงกระจังหน้ารถใหม่ และภายในได้รับการปรับปรุงด้วยพวงมาลัยแบบ 3 ก้าน[34] นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัวในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 อีกด้วย[35]

ความปลอดภัย

[แก้]

มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต ที่ผลิตในประเทศไทย ถูกนำไปทดสอบความปลอดภัยโดย Latin NCAP ในปี พ.ศ. 2558 โดยรุ่นพื้นฐานที่จำหน่ายในตลาดลาตินอเมริกา ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวสำหรับการปกป้องผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ แต่สำหรับการปกป้องเด็กเล็กได้รับเพียง 3 ดาวเท่านั้น[36]

จำนวนการผลิต

[แก้]
ปีงบประมาณ (พ.ศ.) จำนวนการผลิต
ญี่ปุ่น บราซิล ประเทศไทย อินโดนีเซีย
2539 35,561 - - -
2540 51,594 - - -
2541 71,562 - - -
2542 95,914 - - -
2543 92,475 - - -
2544 78,337 - - -
2545 69,001 - - -
2546 34,258 - - -
2547 30,515 - - -
2548 23,773 600 - -
2549 17,455 5,370 - -
2550 19,349 6,120 11 -
2551 9,210 4,470 15,065 -
2552 2,364 4,560 37,179 -
2553 2,154 1,380 55,289 -
2554 42 - 67,966 -
2555 - - 82,712 -
2556 - - 49,438 -
2557 - - 42,207 -
2558 - - 68,361 -
2559 - - 59,993 107
2560 - - 62,201 17,940
2561 - - 51,411 21,120

(ที่มา: Facts & Figures 2000, Facts & Figures 2005, Facts & Figures 2008, Facts & Figures 2010, Facts & Figures 2013 เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Facts & Figures 2018, Facts & Figures 2019, เว็บไซต์ของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส)

ยอดจำหน่าย

[แก้]
ปี (พ.ศ.) ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย[37] ออสเตรเลีย มาเลเซีย[38] เม็กซิโก[39]
2543 1,812
2544 1,590
2545 1,804
2546 985
2547 576
2548 204 962
2549 32 736
2550 69 518
2551 19 152
2552 3,298 485 339
2553 11,024 1,446 536
2554 13,212 1,589 413
2555 13,936 1,298 391
2556 12,908 1,018 293
2557 6,394[40] 11,867 714 246
2558 18,975[41] 10,805 997[42] 372 194
2559 15,592[43] 10,768[44] 19,124 4,049[42] 190 69
2560 14,454[45] 19,917[44] 20,239 105 56
2561 12,932[46] 16,148[47] 20,975 6,566[48] 9 371
2562 13,558 12,861[49] 18,238[50] 6,477[51] 12 300
2563 9,342[52] 5,775[53] 9,344[54] 6,017[55] 1 599
2564 7,273[56] 4,195[57] 16,996[58] 6,804[59] 6 288
2565 7,405[60] 20,285[61] 5 440
2566 4,169[62] 13,118[63] 2 276

อ้างอิง

[แก้]
  1. Facts & Figures 2001 (PDF), Mitsubishi Motors Corporation, October 2001, p. 23, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14
  2. "Locally Produced Mitsubishi Pajero Sport Launches in China" เก็บถาวร 2008-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mitsubishi Motors press release, March 14, 2003
  3. "Mitsubishi launches locally-made Pajero Sport"[ลิงก์เสีย], Just Auto, April 18, 2006
  4. "Mitsubishi Motors Announces "Project America" – First product Is Next Generation SUV" เก็บถาวร 2012-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mitsubishi Motors press release, February 14, 2000
  5. 5.0 5.1 "New Mitsubishi Pajero Sport SUV to be unveiled at 2008 Moscow Motor Show" เก็บถาวร 2008-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mitsubishi Motors press release, July 17, 2008
  6. "Nativa GLS - Specification". Bahrain: Mitsubishi Motors. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-14.
  7. "Pajero Sport Offroadster Now Assembled in Russia". Wroom.ru. 2 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2013. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  8. "Mitsubishi Montero Sport de nuevo en Venezuela". Automotriz. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 July 2014.
  9. "Mitsubishi Motors Russia". Mitsubishi-motors.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2011. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  10. "Mitsubishi Pajero Sport the “Stylish Riding –On-Demand SUV”" เก็บถาวร 2009-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Mitsubishi Motors press release, AutoinCar.com, August 27, 2008
  11. "SouLSteer, Mistubishi [sic] Pajero Sport: King of all the roads, April 21, 2013". 15 April 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2013. สืบค้นเมื่อ April 21, 2013.
  12. "Mitsubishi Likely To Discontinue India Operations Officially". RushLane (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-05-20. สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
  13. "Pragoti Industries Ltd". bsec.gov.bd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-20. สืบค้นเมื่อ 2013-05-31.
  14. Sarne, Vernon (2014-01-17). "Blog on Montero Sport Sudden Unintended Acceleration Is Back". Top Gear Philippines. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-17. สืบค้นเมื่อ 2015-11-12.
  15. "Official Statement of Mitsubishi Motors Philippines on Claims of Sudden Unintended Acceleration". Mitsubishi Motors Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-11-12.
  16. Neri, Jerome G. (2015-04-19). "Sudden acceleration: is it for real?". Sun.Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-12.
  17. "Watch: Sudden Unintended Acceleration of Montero Sport". ABS-CBN Corporation. 2015-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-25. สืบค้นเมื่อ 2015-11-26.
  18. "Philippines to Probe Sudden Acceleration on Mitsubishi Vehicles". Bloomberg L.P./The Japan Times. 2015-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-28. สืบค้นเมื่อ 2015-11-26.
  19. "/A00201501088". DGIP.go.id. Pangkalan Data Kekayaan Intelektual. 2015-12-23. สืบค้นเมื่อ 2022-06-10.
  20. 20.0 20.1 "Pajero Sport Transmission". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-30. สืบค้นเมื่อ 2016-04-26.
  21. "All-New 2016 Mitsubishi Pajero Sport Officially Revealed [w/Video]". CarScoops. 2015-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 2016-01-21.
  22. "Mitsubishi Shogun Sport – A brand new 4x4". Mitsubishi Motors UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-12.
  23. Shogun Sport Brochure mitsubishi-motors.co.uk
  24. "Tabel Spesifikasi Pajero Sport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2024-07-10.
  25. Aguilar, Martin (20 January 2016). "2016 Mitsubishi Montero Sport makes Philippines debut". AutoIndustriya.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  26. De Guzman, Marcus (20 December 2016). "New entry-level 2017 Mitsubishi Montero Sport introduced". AutoIndustriya.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  27. De Guzman, Marcus (3 October 2019). "Here's a much closer look at PH-spec 2020 Mitsubishi Montero Sport". AutoIndustriya.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  28. De Guzman, Marcus (4 January 2022). "Mitsubishi PH launches Montero Sport Black Series for PHP 1.981M". AutoIndustriya.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  29. "প্রগতি সংযোজন করবে পাজেরো স্পোর্টস গাড়ি". Prothom Alo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-20. สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  30. "Pragoti Industries Ltd". pragotiindustries.gov.bd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-03-19.
  31. "Products | MITSUBISHI MOTORS" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2019-03-22.
  32. Pettendy, Marton (3 November 2015). "Mitsubishi Pajero Sport 2015 Review". สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  33. Padeanu, Adrian (25 July 2019). "2020 Mitsubishi Pajero Sport Gets Fresh Face, Updated Interior". สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  34. "2024 Mitsubishi Pajero Sport Breaks Cover". carandbike (ภาษาEnglish). สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  35. Lacuna, Jamil (25 June 2024). "Mitsubishi PH quietly launches 2024 Montero Sport facelift". AutoIndustriya.com. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  36. "Official results of the Mitsubishi Montero Sport + 3 Airbags 2015". LATIN NCAP - PARA AUTOS MAS SEGUROS.
  37. "Indonesia Automotive Industry Data".
  38. "Mitsubishi Pajero : Popularity over the Years". data.gov.my.
  39. "Venta al público y producción de vehículos ligeros por marca, modelo, segmento y país origen". Instituto Nacional de Estadística, Geografía e Informática (INEGI) (ภาษาสเปนแบบเม็กซิกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-20.
  40. "Thailand cars sales report 2014". HeadlightMag.com. Thailand. February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 24 Oct 2018.
  41. "Thailand cars sales report 2015". HeadlightMag.com. Thailand. 10 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 24 Oct 2018.
  42. 42.0 42.1 Klose, Steane (2017-01-31). "New 4X4 Sales In 2016". Loaded 4X4 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  43. "Thailand cars sales report 2016". HeadlightMag.com. Thailand. 26 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 24 Oct 2018.
  44. 44.0 44.1 "Focus2move| Philippines Vehicles Industry - Facts & Data 2017". focus2move.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-31. สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  45. "Thailand cars sales report 2017". HeadlightMag.com. Thailand. 29 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2018. สืบค้นเมื่อ 24 Oct 2018.
  46. "PPV vehicle sales in December 2018". HeadlightMag.com. Thailand. 12 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 3 Apr 2019.
  47. Zulueta, Allysa Mae (2019-02-01). "10 best-selling cars in the Philippines in 2018". AutoDeal (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  48. "VFACTS: Six brands that managed bumper 2018 sales | CarAdvice". CarAdvice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-08-17.
  49. Sarne, Vernon B. "The models responsible for Mitsubishi PH's 64,065 sold units in 2019". visor.ph (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-08.
  50. Rahadiansyah, Rangga (2020-01-23). "20 Mobil Terlaris 2019" [20 of Indonesia's Best Selling Cars in 2019]. Detik.com (ภาษาอินโดนีเซีย). Indonesia: Trans Media. สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
  51. Hilliard, Justin (9 January 2021). "Top 100 new cars sold in Australia in 2019". CarsGuide.com.au. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  52. "Sales Report: PPV sales in 2020: Toyota Fortuner, one standing champion, 19,742 units, 44.3% market share". Headlight Magazine. Thailand. 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-26.
  53. Sarne, Vernon B. (6 February 2021). "See Mitsubishi PH's per-model sales breakdown in 2020". visor.ph. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  54. Rahadiansyah, Rangga. "Bukan Avanza Rajanya, Ini Mobil Terlaris 2020 di Indonesia". detikoto (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-01-16.
  55. Hilliard, Justin (9 January 2021). "Top 100 new cars sold in Australia in 2020". CarsGuide.com.au. สืบค้นเมื่อ 9 February 2021.
  56. "ยอดจดทะเบียน PPV ในปี 2021 ยืนหนึ่งคือ Toyota Fortuner เล่นเอาอันดับที่เหลือมีเหนื่อย | AutoFun". AutoFun Thailand. 2022-01-13. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
  57. "Here is Mitsubishi PH's per-model sales breakdown in 2021". Visor (ภาษาอังกฤษ). 2022-01-20. สืบค้นเมื่อ 2022-01-21.
  58. Pool (2022-01-16). "20 Mobil Terlaris 2021, Avanza Juaranya" [20 Best-Selling Cars in 2021, Avanza is The Champion]. Detik.com (ภาษาIndonesian). Indonesia: Trans Media. สืบค้นเมื่อ 2022-01-16.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  59. Hilliard, Justin (15 January 2022). "Top 100 new cars sold in Australia in 2021: From Toyota HiLux and Ford Ranger to Mitsubishi's Pajero and Mirage". CarsGuide.
  60. "Sales Report ยอดขาย PPV เดือน มกราคม – ธันวาคม 65 : Toyota Fortuner ยืนหนึ่ง ครองส่วนแบ่ง 41.6 %". HeadLight Magazine. 2023-01-10. สืบค้นเมื่อ 2023-12-20.
  61. Rahadiansyah, Rangga (2023-01-17). "Honda Brio Salip Avanza di Lap Terakhir, Ini 20 Mobil Terlaris 2022" [Honda Brio Overtakes Avanza on the Last Lap, These Are 20 Best Selling Cars of 2022]. Detik Oto (ภาษาIndonesian). Indonesia: Transmedia. สืบค้นเมื่อ 2023-01-23.{{cite news}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  62. "Sales Report สรุปยอดขาย PPV รถยนต์อเนกประสงค์พื้นฐานกระบะ เดือน มกราคม – ธันวาคม ปี 2023". HeadLight Maganize.
  63. Rayanti, Dina (2024-01-16). "Avanza-Brio Minggir Dulu, Ini Dia Mobil Terlaris di Indonesia Tahun 2023" [Move aside Avanza-Brio, here is the best selling car in Indonesia in the year 2023]. Detik Oto (ภาษาอินโดนีเซีย). Indonesia: Transmedia. สืบค้นเมื่อ 2024-01-16.