มิซาโตะ (จังหวัดมิยางิ)
มิซาโตะ 美里町 | |
---|---|
ศาลเจ้าโคโงตะยามาโนกามิ | |
ที่ตั้งของมิซาโตะ (เน้นสีเหลือง) ในจังหวัดมิยางิ | |
พิกัด: 38°32′39.8″N 141°03′24.1″E / 38.544389°N 141.056694°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | โทโฮกุ |
จังหวัด | มิยางิ |
อำเภอ | โทดะ |
การปกครอง | |
• ประเภท | เทศบาลเมือง |
• นายกเทศมนตรี | เซอิจิ ไอซาวะ (相澤 清一) (อิสระ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 74.99 ตร.กม. (28.95 ตร.ไมล์) |
ประชากร (1 ธันวาคม ค.ศ. 2024)[1] | |
• ทั้งหมด | 22,626 คน |
• ความหนาแน่น | 302 คน/ตร.กม. (780 คน/ตร.ไมล์) |
สัญลักษณ์ | |
• ต้นไม้ | ด็อกวูด (Cornus florida) |
• ดอกไม้ | กุหลาบ |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
รหัสท้องถิ่น | 04505-5 |
โทรศัพท์ | 0229-43-2111 |
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 13 โคมาโงเมะ คิตาอูระ เมืองมิซาโตะ อำเภอโทดะ จังหวัดมิยางิ 987-0005 |
เว็บไซต์ | www |
มิซาโตะ (ญี่ปุ่น: 美里町; โรมาจิ: Misato-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในอำเภอโทดะ จังหวัดมิยางิ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งหมด 74.99 ตารางกิโลเมตร (28.95 ตารางไมล์) ณ วันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2024 เมืองนี้มีจำนวนประชากรประมาณ 22,626 คน มีความหนาแน่นของประชากร 302 คนต่อตารางกิโลเมตร[1][2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เมืองมิซาโตะตั้งอยู่ในเขตจังหวัดมิยางิตอนกลางค่อนไปทางเหนือ อยู่บนที่ราบโอซากิ
เทศบาลข้างเคียง
[แก้]- จังหวัดมิยางิ
ภูมิอากาศ
[แก้]เมืองมิซาโตะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเด่นคือมีฤดูร้อนที่อากาศอบอุ่นและฤดูหนาวที่อากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 11.6 °C ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 1,210 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ประมาณ 24.4 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคมอยู่ที่ประมาณ −0.1 °C[3]
สถิติประชากร
[แก้]ตามข้อมูลสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[4] ระบุว่าจำนวนประชากรของเมืองมิซาโตะเริ่มลดลงหลังจาก ค.ศ. 2000
ปี | ประชากร | ±% |
---|---|---|
1960 | 28,793 | — |
1970 | 26,722 | −7.2% |
1980 | 28,152 | +5.4% |
1990 | 28,164 | +0.0% |
2000 | 27,395 | −2.7% |
2010 | 25,190 | −8.0% |
2020 | 24,565 | −2.5% |
ประวัติศาสตร์
[แก้]พื้นที่ที่เป็นเมืองมิซาโตะในปัจจุบัน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโบราณที่ชื่อแคว้นมุตสึ พื้นที่บริเวณนี้มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ยุคโจมงเป็นอย่างน้อย โดยชาวเอมิชิเป็นกลุ่มคนที่มาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มแรก ๆ ต่อมาในยุคโคฟุง มีการตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ปัจจุบันกลายมาเป็นหมู่บ้านโคโงตะ ในช่วงหลังของยุคเฮอัง พื้นที่แห่งนี้ถูกปกครองโดยตระกูลโอชูฟูจิวาระ ในช่วงยุคเซ็งโงกุ พื้นที่นี้ถูกกลุ่มซามูไรหลายกลุ่มแย่งชิงดินแดน ก่อนที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของตระกูลดาเตะแห่งแคว้นศักดินาเซ็นได ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะในช่วงยุคเอโดะ
เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านโคโงตะและหมู่บ้านนังโงขึ้นเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1889 โดยหมู่บ้านโคโงตะได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1907 และผนวกรวมเมืองฟูโดโดะ หมู่บ้านคิตาอูระ และหมู่บ้านนากาโซเนะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1954 และหมู่บ้านชิกิตามะเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1954 ส่วนหมู่บ้านนังโงได้รับการยกฐานะเป็นเมืองเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2006 ได้มีการควบรวมเมืองโคโงตะและเมืองนังโงเข้าด้วยกัน เพื่อจัดตั้งเป็นเมืองมิซาโตะ
การเมืองการปกครอง
[แก้]เมืองมิซาโตะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี-สภา โดยมีนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภาเมืองเป็นฝ่ายนิติบัญญัติระบบสภาเดียวซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในแง่ของการเมืองระดับจังหวัด เมืองมิซาโตะและเมืองวากูยะที่อยู่ใกล้เคียงรวมกันเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดมิยางิจำนวน 1 คน และในแง่ของการเมืองระดับชาติ เมืองมิซาโตะเป็นส่วนหนึ่งของเขตเลือกตั้งที่ 5 ของจังหวัดมิยางิ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภาญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของเมืองมิซาโตะส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว
การศึกษา
[แก้]เมืองมิซาโตะมีโรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่งและโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 3 แห่งที่สังกัดเทศบาลเมืองมิซาโตะ และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 แห่งที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดมิยางิ นอกจากนี้ ทางจังหวัดมิยางิยังเปิดโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับผู้พิการอีก 2 แห่งในเมืองมิซาโตะ
การขนส่ง
[แก้]รถไฟ
[แก้]- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East): สายหลักโทโฮกุ
- สถานี: โคโงตะ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East): สายอิชิโนมากิ
- สถานี: โคโงตะ
- บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East): สายริกูตะวันออก
- สถานี: โคโงตะ – คิตาอูระ – ริกูเซ็งยาจิ
ทางหลวง
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
[แก้]- แหล่งยามามาเอะ - แหล่งโบราณสถานแห่งชาติ[7]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ฮิโรชิ มิตสึซูกะ - นักการเมืองและรัฐมนตรี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "宮城県推計人口(月報)" [ประชากรโดยประมาณของจังหวัดมิยางิ (รายงานรายเดือน)]. จังหวัดมิยางิ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2025.
- ↑ สถิติทางการของเมืองมิซาโตะ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ ข้อมูลภูมิอากาศเมืองมิซาโตะ
- ↑ "Miyagi (Japan): Prefecture, Cities, Towns and Villages - Population Statistics, Charts and Map". www.citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2021-10-24.
- ↑ "International Exchange". List of Affiliation Partners within Prefectures. Council of Local Authorities for International Relations (CLAIR). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
- ↑ "City of Winona Sister-City Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-06. สืบค้นเมื่อ 2025-01-07.
- ↑ "山前遺跡". Cultural Heritage Online (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 25 December 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของเมืองมิซาโตะ (ในภาษาญี่ปุ่น)