ข้ามไปเนื้อหา

มิกซีดีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มิกซีดีมา
ชื่ออื่นMyxedema, Myxoedema
ผู้ป่วยด้วยภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำรุนแรงแสดงอาการมิกซีดีมาที่ใบหน้า
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ

มิกซีดีมา (อังกฤษ: Myxedema) หรือปรากฏบัญญัติคำว่า การบวม น้ำคั่งอยู่ตามเยื่อต่าง ๆ; อาการบวมไปทั้งตัว; มิกซีดีมา; ต่อมไทรอยด์พร่อง; โรคต่อมธัยรอยด์หย่อนสมรรถภาพ; มิย์กซีดีมา เป็นคำที่ปรากฏใช้ทั่วไปกับภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำรุนแรง[1] อย่างไรก็ตาม ปรากฏใช้คำนี้เพื่ออธิบายความเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังที่เกิดขึ้นในภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง และที่พบ (ได้ยาก) ในกรณีปฏิทรรศน์ที่เกิดจากภาวะไทรอยด์ต่ำที่มีการสะสมของสารจำพวกมิวโคพอลีแซคคาไรด์ในชั้นเดอร์มิส ซึ่งทำให้เกิดการบวมเฉพาะบริเวณ หนึ่งในอาการแสดงของมิกซีดีมาที่ปรากฏในขาคือพรีทิเบียลมิกซีดีมา อาการเด่นของโรคเกรฟส์ โรคภูมิคุ้มกันตนเองที่ก่อให้เกิดภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง มิกซีดีมาอาจปรากฏได้ในโรคอื่น ๆ ของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำแบบอื่น ๆ เช่น ไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

คำว่า myxedema มาจาก μύξα แปลว่า 'เมือก' หรือ 'สารคล้ายสไลม์' และ ὁοίδημα แปลว่า "อักเสบ" บางทีอาจเรียกว่าการบวมแบบกดไม่บุ๋ม (nonpitting edema) เพื่อให้ตรงข้ามกับ การบวมแบบบุ๋ม

มิกซีดีมาปรากฏความชุกในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย[2]

การวินิจฉัย

[แก้]

การวินิจฉัยมิกซีดีมามักจะทำด้วยเหตุผลทางคลินิกเพียงอย่างเดียว ลักษณะอาการคือ อ่อนแรง แพ้อากาศหนาว ความคิดและการเคลื่อนไหวร่างกายเชื่องช้า ผิวแห้งโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และเสียงแหบ ผลลัพธ์ของการทดสอบไทรอกซินในซีรั่มทั้งหมดและการทดสอบดัชนีไทรอกซินอิสระมักจะยืนยันการวินิจฉัยได้[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Berger, William D. James, Dirk M. Elston, Timothy G. (2011). Andrews' Diseases of the skin : clinical dermatology (11th ed.). [London]: Saunders/ Elsevier. ISBN 978-1-4377-0314-6.
  2. Schneider, Arthur S.; Kim, Philip A. Szanto; with special contributions by Sandra I.; Swanson, Todd A. (2009). Pathology (4th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins. pp. 314. ISBN 978-1451109061.
  3. McConahey, W. M. (March 1978). "Diagnosing and treating myxedema and myxedema coma". Geriatrics. 33 (3): 61–66. ISSN 0016-867X. PMID 624451.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก