ข้ามไปเนื้อหา

มาวอิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาวอิจับดวงอาทิตย์ ภาพวาดด้วยปากกาและหมึกโดย Arman Manookian, ประมาณ ค.ศ. 1927, พิพิธภัณฑ์ศิลปะโฮโนลูลู

มาวอิ (ฮาวาย/มาวรี: Māui) เป็นวีรบุรุษวัฒนธรรมและอันธพาลผู้ยิ่งใหญ่ในเรื่องปรัมปราพอลินีเชีย มาวอิได้รับการนับถือน้อยมากเพราะไม่ถือกันว่าเป็นเทพเจ้า (มนุษย์ครึ่งเทพ) แต่ถือเป็นวีรบุรุษในคติชนมากกว่า ต้นกำเนิดของมาวอิมีความแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม แต่วีรกรรมหลัก ๆ หลายครั้งของมาวอิยังคงค่อนข้างคล้ายคลึงกัน[1]

เรื่องราววีรกรรมและการผจญภัยของมาวอิถูกเล่าขานไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของพอลินีเชีย ซึ่งสามารถสืบย้อนไปได้ไกลทางตะวันตกถึงหมู่เกาะนอกชายฝั่งของเกาะนิวกินี บางวีรกรรมที่ปรากฏทั่วไปในวัฒนธรรมพอลินีเซีย ได้แก่ การขโมยไฟจากยมโลกมาให้มนุษย์, การใช้ตะขอวิเศษเกี่ยวเอาหมู่เกาะขึ้นมา และการจับดวงอาทิตย์เพื่อยืดช่วงเวลากลางวันให้ยาวขึ้น[2] ลักษณะของเมาอิที่นำเสนอออกมามีความแตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ ตั้งแต่ชายหนุ่มรูปงาม ไปจนถึงนักบวชพเนจรชราผู้เฉลียวฉลาด[1] แม้กล่าวกันว่ามาวอินั้นมีลักษณะเป็นอันธพาลหรือ "kolohe" อย่างมาก แต่หลายสิ่งที่มาวอิทำก็เพื่อทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น

ในวัฒนธรรมประชานิยม

[แก้]
ผู้เข้าร่วมขบวนพาเหรดในเทศกาลแมร์รีโมนาร์ชในไฮลู รับบทแสดงเป็นมาวอิ โดยอิงจากตัวละครมาวอิในภาพยนตร์ปี ค.ศ. 2016 เรื่อง ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้

มาวอิปรากฏในภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ 3 มิติแนวดนตรีของวอลต์ดิสนีย์แอนิเมชันสตูดิโอส์ในปี ค.ศ. 2016 เรื่อง ผจญภัยตำนานหมู่เกาะทะเลใต้ (Moana) และภาพยนตร์ภาคต่อในปี ค.ศ. 2024 เรื่อง โมอาน่า 2 (Moana 2) มาวอิในภาพยนตร์ให้เสียงพากย์โดยดเวย์น จอห์นสัน มาวอิในภาพยนตร์ถูกพ่อแม่ที่เป็นมนุษย์ทอดทิ้งตั้งยังเป็นทารก เหล่าเทพรู้สึกสงสารจึงทำให้มาวอิเป็นครึ่งเทพและมอบตะขอตกปลาวิเศษที่ทำให้มาวอิมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มาวอิกระทำปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ความรักจากมนุษยชาติคืนมา การกระทำปาฏิหาริย์แต่ละครั้งจะทำให้มาวอิได้รับรอยสักที่เคลื่อนไหวได้ เป็นที่เล่าขานว่ามาวอิขโมยหัวใจของเทฟิติ เทพีแห่งเกาะผู้ทรงพลังและเป็นผู้สร้างชีวิต โมอาน่าตัวละครเอกของภาพยนตร์โน้มน้าวมาวอิให้ช่วยเหลือเธอในการนำหัวใจของเทฟิติไปคืน ในเพลงที่มาวอิร้องชื่อ "ยัวร์เวลคัม" (You're Welcome; "ไม่ต้องห่วง") ที่ประพันธ์โดยลิน-มานูเอล มิรันดา มาวอิกล่าวถึงวีรกรรมต่าง ๆ ของตนที่ถูกพูดถึงในนิทานพื้นบ้าน[3] มาวอิรูปแบบนี้มีการผสมผสานองค์ประกอบจากเรื่องเล่าพอลินีเชียต่าง ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Craighill Handy 1927: 118
  2. Tregear 1891:233
  3. Caldwell, Ellen C. (6 June 2017). "The Polynesian Origin Myths Behind Disney's Moana". JSTOR Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 March 2024.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • E.R. Tregear, Maori-Polynesian Comparative Dictionary (Lyon and Blair: Lambton Quay, 1891).
  • M. Beckwith, Hawaiian Mythology (University of Hawaii Press: Honolulu, 1970).
  • W.D. Westervelt, Legends of Maui (Hawaiian Gazette: Honolulu, 1910).
  • W.D. Westervelt, Legends of Gods and Ghosts (Hawaiian Mythology) (Press of George H. Ellis, Co.: Boston, 1915).
  • E.S. Craighill Handy, Polynesian Religion (The Museum of Polynesian Religion: Honolulu, 1927).
  • Westervelt, W.D. (2010). Legends of Ma-ui: A demi god of Polynesia, and of his mother Hina. Honolulu, HI: The Hawaiian Gazette Co.
  • Westervelt, W. D. (n.d.). V. Retrieved April 10, 2019, from http://www.sacred-texts.com/pac/maui/maui08.htm
  • Westervelt, W. D. (n.d.). II. Retrieved April 10, 2019, from http://www.sacred-texts.com/pac/maui/maui05.htm

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มาวอิ