มาร์ก็อท ฟรังค์
มาร์ก็อท ฟรังค์ | |
---|---|
รูปถ่ายมาร์ก็อทที่โรงเรียนในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 | |
เกิด | มาร์ก็อท เบ็ทที ฟรังค์ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926 แฟรงก์เฟิร์ต เยอรมนี |
เสียชีวิต | ประมาณกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 (18–19 ปี) ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน นีเดอร์ซัคเซิน นาซีเยอรมนี |
สาเหตุเสียชีวิต | ไข้รากสาดใหญ่ |
สัญชาติ |
|
การศึกษา |
|
มีชื่อเสียงจาก | พี่สาวของอันเนอ ฟรังค์ |
บิดามารดา | อ็อทโท ฟรังค์ เอดิท ฮ็อลเล็นเดอร์ |
ญาติ | อันเนอ ฟรังค์ (น้องสาว) Buddy Elias (ลูกพี่ลูกน้อง) |
มาร์ก็อท เบ็ทที ฟรังค์ (เยอรมัน: Margot Betti Frank; 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1926 – กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 1945)[2] เป็นลูกสาวคนโตของอ็อทโท ฟรังค์ และเอดิท ฟรังค์ และพี่สาวคนโตของอันเนอ ฟรังค์ คำสั่งเนรเทศขับไล่มาร์ก็อทจากตำรวจลับเกสตาโพ ทำให้ครอบครัวตระกูลฟรังค์ต้องเร่งรีบหลบซ่อนตัว ตามที่อนุทินของอันเนอ น้องสาวคนเล็กของเธอ บันทึกไว้ มาร์ก็อทเองก็ได้บันทึกอนุทินของเธอเช่นกัน แต่กลับไม่มีใครได้พบร่องรอยอนุทินของมาร์ก็อทเลย[3] เธอเสียชีวิตในค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน[4]
ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา
[แก้]มาร์ก็อท เบ็ทที ฟรังค์ ได้รับการตั้งชื่อตามคุณป้าฝั่งคุณแม่ของเธอที่ชื่อว่า เบ็ตตินา ฮอลแลนเดอร์ (ค.ศ.1898 – ค.ศ.1914) เธอเกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตประเทศเยอรมนี โดยพ่อแม่เชื้อสายยิวนามว่าอ็อทโทและเอดิธ ในช่วงวัยเด็กของเธอ เธออาศัยที่ชานเมืองกับพ่อแม่ของเธอ (อ็อทโท ฟรังค์และเอดิธ ฟรังค์) และน้องสาวของเธอนามว่าอันเนอ ฟรังค์ [5] อ็อทโทและเอดิธเป็นพ่อแม่ที่ทุ่มเทและสนใจในด้านวิชาการ พวกเขามีหนังสือมากมาย รวมทั้งทั้งสองยังส่งเสริมให้ลูกๆอ่านหนังสือ ในช่วงที่อันเนอเกิด พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านสองชั้นที่ มาร์บัคเวค 307 ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต-ดอร์นบุช มาร์ก็อทและอันเนอไปเล่นในสวนกับเด็กในละแวกบ้านเกือบทุกวัน แม้ว่าพวกเขาจะมีพื้นเดิมต่างกัน บางคนเป็นคาทอลิก บางคนเป็นโปรเตสแตนต์ บางคนเชื้อสายยิว แต่พวกเขาก็สนใจในวันหยุดทางศาสนาของกันและกัน มาร์ก็อทได้รับเชิญไปงานศีลมหาสนิทของเพื่อนคนหนึ่งของเธอ และเพื่อนบ้านก็ได้รับเชิญมางานเฉลิมฉลองฮานุกกาห์ที่บ้านของฟรังค์ในบางครั้ง[6] ในปี ค.ศ.1931 ทั้งครอบครัวได้ย้ายไปอยู่ที่ Ganghoferstrasse 24 ในพื้นที่เสรีนิยมของดอร์นบุชชื่อว่า Dichterviertel (ย่านกวี) บ้านทั้งสองยังคงมีอยู่จนถึงปุจจุบัน[7]
ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1932 กองกำลังพายุ(เอสอา)พรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีของนาซีเดินขบวนบนถนนของเมืองแฟรงก์เฟิร์ตสวมใส่ปลอกแขนที่มีเครื่องหมายสวัสติกะ พวกเสื้อน้ำตาล (พวกเขาถูกเรียกเช่นนี้เพราะว่าเป็นสีของเครื่องแต่งกายที่สวมอยู่) ร้องอย่างเสียงดังว่า “เมื่อเลือดของชาวยิวพ่นออกมาจากมีด สิ่งต่างๆจะดีขึ้นอีกครั้ง” เมื่อได้ยินเช่นนี้ เอดิธและอ็อทโทต่างปรึกษากันเพราะว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะออกจากบ้านเกิดของเขาได้ทันที เนื่องจากว่าการไปอาศัยอยู่ต่างประเทศก็เป็นเรื่องใหญ่.[8]
มาร์ก็อทศึกษาที่โรงเรียนลูทวิช-ริกเตอร์ในเมืองแฟรงก์เฟิร์ต จนกระทั่งถึงการแต่งตั้งของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1933 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ที่ซึ่งเพิ่มความรุนแรงของมาตรการต่อต้านชาวยิว หนึ่งในนั้นคือการขับไล่นักเรียนชาวยิวออกจากโรงเรียนนอกศาสนา เนื่อจากเหตุการณ์ความรุนแรงของลัทธิต่อต้านยิว ครอบครัวฟรังค์ได้ตัดสินใจที่จะตามชาวยิวอีก 63,000 ชีวิตออกจากเยอรมนีในปีนั้น โดนอพยพไปที่อัมสเตอร์ดัมในประเทศเนเธอร์แลนด์.[9] เอดิธ ฟรังค์และลูกสาวทั้งสองของเธอได้เข้าไปอยู่อาศัยกับแม่ของเธอใน อาเคินในฤดูร้อนของปี ค.ศ.1933 ในขณะที่อ็อทโท ฟรังค์ได้เริ่มธุรกิจ Opekta ที่อัมสเตอร์ดัม เอดิธเดินทางไปกลับระหว่างอาเคินและอัมสเตอร์ดัมเพื่อที่จะหาที่อยู่อาศัยในเมืองอัมสเตอร์ดัม มาร์ก็อทได้ย้ายไปอัมสเตอร์ดัมในเดือนธันวาคม ของปี ค.ศ.1933 ตามด้วยอันเนอในเดือนกุมภาพันธ์ของปี ค.ศ.1934.[8]มาร์ก็อทได้เข้าเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่ Jekerstraat ของอัมสเตอร์ดัม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับที่อยู่ใหม่บนจัตุรัสแมร์เวเดอ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอัมสเตอร์ดัม[8] ถึงแม้ว่าตอนแรกจะมีปัญหาในด้านของภาษา มาร์ก็อทก็เป็นนักเรียนที่โดดเด่น เธอมีผลการเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม
ยุคยึดครองของเยอรมัน
[แก้]เป็นสิ่งที่น่าตกใจมากเมื่อเยอรมันบุกรุกเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1940 ถึงแม้ว่ามาตรการต่อต้านชาวยิวจะถูกใช้ แต่ในครั้งแรกๆ มาร์ก็อทและน้องสาวของเธอยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในปี ค.ศ.1941 พวกเขาถูกห้ามไม่ให้เข้าโรงภาพยนตร์และไม่สามารถเข้าร่วมชมรมกีฬาได้ หนึ่งในมาตรการที่รุนแรงที่สุดก็คือ มาร์ก็อทและเด็กชาวยิวคนอื่นๆไม่สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนที่ตนเองเลือกได้ หลังจากฤดูร้อนของปี ค.ศ.1941 มาร์ก็อทและน้องสาวของเธอต้องเข้าเรียนโรงเรียนของชาวยิวที่มีแต่นักเรียนและคุณครูที่เป็นคนยิว[10]
ที่สถานศึกษาของชาวยิว มาร์ก็อทแสดงความตั้งใจและความฉลาดของเธอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เธอเป็นที่น่าจดใจที่โรงเรียนเก่าของเธอ เธอเป็นที่จดจำของศิษย์เก่าในเรื่องของความมีคุณธรรม เรียบร้อย และเชื่อฟัง มาร์ก็อทมีเพื่อนจำนวนมาก เธอสนุกกับการพายเรือและเล่นเทนนิสในเวลาว่างของเธอ ในอนุทินของอันเนอ อันเนอจดจำได้ถึงช่วงเวลาที่แม่ของพวกเธอ แนะนำให้เธอเลียนแบบมาร์ก็อท และถึงแม้ว่าอันเนอจะเขียนชื่นชมพี่สาวของเธอว่าเท่และฉลาด แต่อันเนอก็ได้อธิบายถึงความเป็นตัวของเธอเองโดยไม่ได้มีต้นแบบมาจากใคร นอกจากนั้นในอนุทินของอันเนอ มาร์ก็อทเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับแม่มากกว่าอันเนอ และมีความถ่อมตัวและอดทน ซึ่งตรงกันข้ามกับอันเนอ ผู้ที่ตัดสินใจแน่วแน่และพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด[11]
ถึงแม้ว่าน้องสาวของเธอ(อันเนอ) จะเรียนภาษาฮีบรูเหมือนกันในภายหลัง แต่ว่าอันเนอเหมือนพ่อของเธอซึ่งไม่ได้สนใจในวัฒนธรรมของชาวยิวเท่ามาร์ก็อท มาร์ก็อทดำเนินรอยตามแม่ของเธอโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในชุมชนเรียกร้องเสรีภาพชาวยิวในเมืองอัมสเตอร์ดัม เธอลงเรียนภาษาฮีบรู เข้าโบสถ์ยิว และในปี ค.ศ.1941 เธอได้เข้าร่วมขบวนการไซออนิสต์เพื่อให้คนหนุ่มสาวชาวยิวสามารถอพยพไปดินแดนปาเลสไตน์เพื่อสร้างรัฐของชาวยิวขึ้นมา โดยอันเนอ ฟรังค์ได้อธิบายในอนุทินของเธอว่า เธออยากที่จะเป็นหมอตำแย[5]
ในฤดูร้อนของปี ค.ศ.1942 การเนรเทศอย่างเป็นระบบของชาวยิวจากเนเธอร์แลนด์ได้เริ่มต้นขึ้น ในวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1942 มาร์ก็อทได้รับประกาศให้ไปรายงานตัวกับค่ายแรงงานในเยอรมนี ทำให้วันถัดไปเธอและครอบครัวได้หลบซ่อนตัวที่ห้องลับในบริษัทของพ่อเธอที่ Prinsengracht อยู่ใจกลางเมืองของอัมสเตอร์ดัม หลังจากนั้นมีชาวยิว 4 คนเข้ามาร่วมหลบภัยด้วย นามว่า แฮร์มัน, โอกุสต์, ปีเตอร์แวนเพลและ Fritz Pfeffer พวกเขาซ่อนตัวที่นั่นราว 2 ปี จนกระทั่งถูกพบตัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1944.[12][10]
ชีวิตในช่วงหลบซ่อนตัว
[แก้]มาร์ก็อทมีอายุได้ 16 ปีตอนที่เธอเริ่มซ่อนตัว ในตอนแรกเธอนอนเตียงเดียวกับอันเนอ แต่เมื่อ Fritz Pfeffer เข้ามาอยู่ที่ห้องลับด้วยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1942 มาร์ก็อทก็ย้ายไปนอนนอนห้องเดียวกับพ่อแม่ของเธอ[10] มาร์ก็อท ฟรังค์และครอบครัวของเธอสามารถอยู่อย่างหลบซ่อนตัวได้ เพราะว่าพนักงานในสำนักงานทั้งสี่คนในบริษัทของพ่อเธอยินดีที่จะดูแลพวกเธอถึงแม้ว่าจะทำให้ชีวิตพวกเขาต้องเสี่ยงไปด้วยก็ตาม ผู้ที่ช่วยเหลือพวกเธอคือมีป คีส, Bep Voskuijl, Johannes Kleiman และ Victor Kugler พวกเขามีกฎที่เข้มงวดเพื่อไม่ให้พนักงานในคลังสินค้า ผู้ที่มาเยือนบริษัทและเพื่อนบ้านสังเกตเห็นทั้งแปดคนที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องลับ มาร์ก็อทและคนที่เหลือที่ซ่อนตัวต้องอยู่ในความเงียบสงัดในช่วงเวลาทำงานและไม่สามารถใช้น้ำได้เลย[10] ในระหว่างวันมาร์ก็อทอ่านหนังสืออย่างมาก เหมือนกับอันเนอและปีเตอร์ เธอใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียน นอกจากนั้นมาร์ก็อทยังศึกษาหลักสูตรการศึกษาทางไปรษณีย์ในภาษาลาติน โดยศึกษาในชื่อของ Bep Voskuijl หนึ่งในผู้ช่วยเหลือ ไม่ได้ใช้ชื่อของเธอเอง[13]
ถูกควบคุมตัวและเสียชีวิต
[แก้]มาร์ก็อท ฟรังค์ถูกควบคุมตัวโดยเกสตาโพพร้อมกับทุกคนที่ซ่อนตัวอยู่ด้วยกันเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1944 และถูกกักขังไว้ที่สำนักงานใหญ่ข้ามคืน ก่อนถูกส่งไปขังในคุกที่บริเวณใกล้เคียงเป็นเวลาสามวัน หลังจากนั้นพวกเขาถูกพาไปที่ค่ายกักกันเวสเตอร์บอร์ก เนื่องจากว่าครอบครัวฟรังค์ไม่ได้ตอบกลับการแจ้งเรียกตัวของมาร์ก็อทในปี ค.ศ.1942 และถูกพบว่าซ่อนตัวอยู่ พวกเขารวมทั้ง Fritz Pfeffer และครอบครัวแวนเพล ถูกประกาศว่าเป็นอาชญากรโดยเจ้าหน้าที่ของค่ายและถูกกักกันตัวโดยมีบทลงโทษให้ทำงานหนักในโรงงานรื้อแบตเตอรี่ พวกเขาอยู่ที่นั่นจนกระทั่งโดนเลือกให้โดนเนรเทศครั้งสุดท้ายของเวสเตอร์บอร์กสู่ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1944.[14] บลูม เอเวอร์ส-เอ็มเดนเป็นคนพื้นเมืองชาวอัมสเตอร์ดัมที่รู้จักมาร์ก็อทและอันเนอจากสถานศึกษาของชาวยิว จำได้ว่ามาร์ก็อทและเอดิทโดนเลือกให้ไปค่ายแรงงานเลอโบที่อัปเปอร์ซิลีเซีย ในขณะที่อันเนอถูกห้ามไม่ให้เข้าร่วมเนื่องจากเธอเป็นหิด มาร์ก็อทและเอดิทตัดสินใจที่จะอยู่กับอันเนอ บลูมจึงไปโดยไม่รอพวกเขา[15] ในขณะที่เอดิทยังอยู่ที่ค่ายกักกันเดิม มาร์ก็อทและอันเนอถูกส่งตัวไปที่ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทั้งสองติดไข้รากสาดใหญ่ในฤดูหนาวของปี ค.ศ.1944.[16]
มาร์ก็อท ฟรังค์ เสียชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1945 ในอายุ 18 หรือ 19 ปี เนื่องจากไข้รากสาดใหญ่ หลังจากนั้นไม่กี่วัน อันเนอก็เสียชีวิตลงด้วยสาเหตุเดียวกัน [17] Janny Brandes-Brilleslijperและพี่สาวของเธอ Lientje ฝังมาร์ก็อทและอันเนอไว้ด้วยกันที่หนึ่งในสุสานหมู่ของค่าย ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945 หลังจากที่เธอกลับมาถึงเนเธอร์แลนด์และหายจากไข้รากสาดใหญ่ Janny เขียนจดหมายถึงอ็อทโท ฟรังค์ เพิ่มบอกเขาว่าลูกสาวทั้งสองของเขาได้เสียชีวิตลงแล้ว[18][19]
อ็อทโท ฟรังค์เป็นคนเดียวที่รอดชีวิดในแปดคนที่ซ่อนตัวอยู่ด้วยกัน เมื่อเขากลับมาถึงอัมสเตอร์ดัมในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1945 เขาได้รับอนุทินของอันเนอจากมีป คีส ซึ่งเขาได้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1947 เพื่อระลึกถึงลูกสาวของเขา นอกจากอันเนอ มาร์ก็อทก็ได้เขียนอนุทินของเธอตอนซ่อนตัวอยู่เช่นเดียวกัน (อันเนอได้พูดถึงอนุทินของพี่สาวในอนุทินของเธอ) แต่ไม่สามารถค้นพบอนุทินของมาร์ก็อทได้[20] แต่อย่างไรก็ตาม นักเขียนหลายๆท่านได้เขียนอนุทินของมาร์ก็อทขึ้นมา อย่างเช่นนวนิยายเรื่อง The Silent Sister โดย Mazal Alouf-Mizrahi จดหมายที่ถูกเขียนโดยมาร์ก็อทและอันเนอถึงเพื่อนทางจดหมายชาวอเมริกันได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2003.[21] Buddy Elias (1925–2015) เป็นญาติคนแรกของมาร์ก็อทและอันเนอและเป็นญาติสนิทคนสุดท้ายที่รอดชีวิต[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Müller 1999, pp. 128–130
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-02. สืบค้นเมื่อ 2018-03-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Margot Frank". Anne Frank Stichting. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
- ↑ Rittner, Carol (1998). Anne Frank in the world: essays and reflections. M.E. Sharpe. p. 111. ISBN 978-0-7656-0020-2.
- ↑ 5.0 5.1 "Margot Frank – Anne Frank Fonds". www.annefrank.ch. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
- ↑ Rol, Ruud van der (1993). Anne Frank, beyond the diary : a photographic remembrance. Verhoeven, Rian., Langham, Tony (Translator), Peters, Plym, Quindlen, Anna. New York: Viking. ISBN 0-670-84932-4. OCLC 27186901.
- ↑ Heidermann, Horst (2002), "1847: Ein "Anti-Musik-Verein" im Wohnhaus der Familie Heine", Heine-Jahrbuch 2002, Stuttgart: J.B. Metzler, pp. 221–226, doi:10.1007/978-3-476-02889-1_11, ISBN 978-3-476-01925-7
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Verhoeven, Rian (2019). Anne Frank was niet alleen : het Merwedeplein, 1933–1945. Amsterdam: Prometheus. pp. 7–12, 25. ISBN 978-90-446-3041-1. OCLC 1129599223.
- ↑ Rol, Ruud van der (1993). Anne Frank, beyond the diary : a photographic remembrance. Verhoeven, Rian., Langham, Tony (Translator), Peters, Plym. Quindlen, Anna. New York: Viking. p. 21. ISBN 0-670-84932-4. OCLC 27186901.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "Margot Frank". Anne Frank Fonds. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Anne Frank". Anne Frank House. 4 August 2021. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ Barnouw, David; Van Der Stroom, Gerrold, บ.ก. (2003). The Diary of Anne Frank: The Revised Critical Edition. New York: Doubleday. p. 21. ISBN 0-385-50847-6.
- ↑ "LOI course in Latin". Anne Frank House. 4 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
- ↑ "The final transport from Westerbork to Auschwitz". Anne Frank Website (ภาษาอังกฤษ). 3 September 2019. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ Lindwer, Willy (1988). The Last Seven Months of Anne Frank. Netherlands: Gooi & Sticht. p. 129. ISBN 978-0-385-42360-1.
- ↑ Prins, Erika; Broek, Gertjan. "One day they simply weren't there any more…" (PDF). Anne Frank House.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Lindwer, Willy (1988). The Last Seven Months of Anne Frank. Netherlands: Gooi & Sticht. p. 74. ISBN 978-0-385-42360-1.
- ↑ Lindwer, Willy (1988). The Last Seven Months of Anne Frank. Netherlands: Gooi & Sticht. pp. 83–84. ISBN 978-0-385-42360-1.
- ↑ "Otto krijgt de dagboeken". Anne Frank Huis... สืบค้นเมื่อ 11 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Margot Frank". Anne Frank Stichting. สืบค้นเมื่อ 30 October 2015.
- ↑ "Anne Frank and her Iowa Penpal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2013. สืบค้นเมื่อ 16 March 2014.
- ↑ "Buddy Elias". Anne Frank Fonds. 4 August 2021. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Anne Frank. The Diary of Anne Frank: The Revised Critical Edition, edited by David Barnouw and Gerrold Van der Stroom, translated by Arnold J. Pomerans, compiled by H. J. J. Hardy, second edition, Doubleday, 2001.
- Willy Lindwer. The Last Seven Months of Anne Frank, Pan Macmillan, 1989.
- Jeroen De Bruyn and Joop van Wijk. Anne Frank: The Untold Story. The hidden truth about Elli Vossen, the youngest helper of the Secret Annex, Bep Voskuijl Producties, 2018.
- Rubin, Susan Goldman. Searching for Anne Frank: Letters from Amsterdam to Iowa, Abrams, 2003.
- Miep Gies and Alison Leslie Gold. Anne Frank Remembered, Simon and Schuster, 1988.