มายาปุระ
มายาปุระ | |
---|---|
สมาธิ (อนุสรณ์ศพ) ของศรีละ ปรภุปาทะ ที่มนเทียรสมาคมกฤษณภาวนามฤตนานาชาติในมายาปุระ | |
พิกัด: 23°26′18″N 88°23′34″E / 23.4382755°N 88.3928686°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | เวสต์เบงกอล |
อำเภอ | นาฑิยา |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 741313 |
รหัสโทรศัพท์ | 91 3472 |
มายาปุระ (อักษรโรมัน: Mayapur)[1] เป็นย่านหนึ่งในเมืองวามันปุกุร พื้นที่พัฒนาชุมชนนวทวีป ตำบลกฤษณนคร อำเภอนาฑิยา รัฐเวสต์เบงกอล ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบกันของแม่น้ำชลางคี กับภคีรถี ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำคงคา พื้นที่ของมายาปุระถือว่ามีความสำคัญทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้นับถือลัทธิโคทิยไวษณวะ.
ชื่อเมือง มายาปุระ หรือ มยาปุระ มีที่มาจากชื่อภาษาเบงกอล มิญาปุระ (เบงกอล: মিঞাপুর แม่แบบ:IPA-bn; Miyapur) ของหมู่บ้านชาวประมงมุสลิม[2][3] ปรากฏชื่อ มิญาปุระ ในเอกสารทางการ ตลอดจนรายงานสำรวจทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของทางการมาก่อน[2][4]
พื้นที่บริเวณนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับไจตันยะ มหาประภุ บุคคลซึ่งได้รับการเคารพนับถือมากในลัทธิโคทิยไวษณวะ[5] ว่ากันว่าพระกฤษณะและพระพลราม อวตารมาเป็นไจตันยะ มหาประภุ และ นิตยานันทะ ประภุ ว่ากันว่าเช่นเดียวกับที่พระกฤษณะกับไจตันยะไม่ต่างกันฉันใด มายาปุระกับวฤนทาวันก็ไม่ต่างกันเช่นนั้น[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "THE CALCUTTA REVIEW VOL.101". Internet Archive (ภาษาอังกฤษ). Kolkata: Thomas S. Smith, City Press. 1895. p. Critical Notations- xli. สืบค้นเมื่อ 2020-07-28.
- ↑ 2.0 2.1 Bhatia, Varuni (2017). Unforgetting Chaitanya: Vaishnavism and Cultures of Devotion in Colonial Bengal (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 190. ISBN 978-0-19-068624-6.
- ↑ Mondal, Mrityunjay (2012). Chaitanyadeb. kolkata: Patra Bharati. p. 202.
- ↑ Bose, Satyendranath (1937). "শ্রীগৌরাঙ্গদেবের জন্মস্থান" (PDF). bn.wikisource.org. Kolkata. p. 30. สืบค้นเมื่อ 2020-07-28.
- ↑ "Journey in Comfort with Driver for Outstation Gurgaon to Mayapur - August 12, 2023" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-08-12. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.
- ↑ "Narottam.com - Lectures and Kirtans by Indradyumna Swami". Narottam.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.