ข้ามไปเนื้อหา

มากิ โกโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มากิ โกะโต)
มากิ โกโต
後藤 真希
โกโตในงาน "พรีเมียมไลฟ์" ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2010
เกิด (1985-09-23) 23 กันยายน ค.ศ. 1985 (39 ปี)[1]
เขตเอโดงาวะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[1]
ชื่ออื่นโกมากิ[2]
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
บุตร2
ญาติยูกิ โกโต (น้องชาย)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปี
  • 1999–2007
  • 2008–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง

มากิ โกโต (ญี่ปุ่น: 後藤 真希โรมาจิGotō Maki; เกิดวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1985) เป็นนักแสดง ผู้แต่งบทเพลง และอดีตนักแสดงชาวญี่ปุ่น เกิดและเติบโตที่เขตเอโดงาวะ โตเกียว

อาชีพ

[แก้]

ค.ศ. 1999–2002: มอร์นิงมูซูเมะ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1999 โกโตได้รับเลือกเป็นสมาชิกรุ่นที่ 3 เพียงคนเดียวของมอร์นิงมูซูเมะ โดยผลงานซิงเกิลเปิดตัวในฐานะสมาชิกคือ "เลิฟแมชีน" ซึ่งซิงเกิลนี้สร้างยอดขายได้เกิน 1 ล้านชุด มากกว่า 9 เท่าของยอดขายซิงเกิลที่แล้ว ในปีเดียวกันเธอก็ยังเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มยูนิตย่อยพุจจิโมนิ จนกระทั่งในปี 2002 โกโตสำเร็จการศึกษาออกจากกลุ่มและเธอได้มุ่งเน้นไปที่อาชีพศิลปินเดี่ยว

ค.ศ. 2001–2007: ศิลปินเดี่ยว

[แก้]

โกโตเริ่มเข้าสู่การเป็นศิลปินเดี่ยวใน ค.ศ. 2001 ด้วยซิงเกิล "ไอโนะบากายาโร" โกโตได้ทุ่มเทความสนใจให้กับอาชีพศิลปินเดี่ยวของเธอ และกลุ่มไอดอลระยะสั้นที่เธอเป็นสมาชิก เช่น กลุ่มโกมัตโต กลุ่มโนจิอูระนัตสึมิ และกลุ่มเดฟ.ดีวา เมื่อเวลาผ่านไป เธอยังเพิ่มความสนใจให้กับการแสดงควบคู่ไปกับการร้องเพลงอีกด้วย

ในช่วงต้น ค.ศ. 2007 โกโตได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของกลุ่มไอดอลพิเศษของ "มอร์นิงมูซูเมะ ทันโจ จูเน็นคิเน็นไต" ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อฉลองครบรอบ 10 ปีแห่งการก่อตั้งมอร์นิงมูซูเมะ โดยนอกจากโกโตแล้ว สมาชิกในกลุ่มดังกล่าวยังประกอบไปด้วยนัตสึมิ อาเบะ คาโอริ อีดะ ริซะ นีงากิ และโคฮารุ คูซูมิ[3] เพลงซิงเกิลของกลุ่มเพลงแรกที่มีชื่อว่า "โบกูรากาอิกิรุ มายเอเชีย" เปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2007

ไม่นานหลังจากที่ยูกิ โกโต น้องชายของเธอถูกจับ ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ในระหว่างโชว์สุดท้ายในทัวร์ "จีอีโมชันทู: ฮาวทูยูซเซ็กซี" โกโตประกาศกับแฟนๆ ว่าเธอจะสำเร็จการศึกษาจากเฮลโล! โปรเจกต์ และออกจากบริษัทอัปฟรอนต์[4][5] ด้วบเหตุนี้ เธอจึงไม่สามารถเข้าร่วมทัวร์คอนเสิร์ตของเฮลโล! โปรเจกต์ ประจำฤดูหนาวปี 2008 ได้[6] ใน ค.ศ. 2018 โกโตกล่าวว่าทางบริษัทบอกให้เธอให้ลาออกจากบริษัท แม้ว่าทางบริษัทได้จองเธอแล้ว ทำให้เธอพูดไม่ออก[7] เธอเคยวางแผนเกษียณจากวงการบันเทิง แต่คิดอีกครั้งหลังจากแม่ให้คำแนะนำ[8]

ค.ศ. 2007–2011: เปลี่ยนชื่อป้ายเป็น สวีตแบล็กโปรเจกต์

[แก้]

บล็อกทางการของโกโตเปิดใหม่อีกครั้งในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2008 เธอเปิดเผยว่าเธออยู่ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อเรียนร้องเพลงกับการเต้นรำ ในวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โกโตได้ลงทะเบียนกับริธึมโซนภายใต้บริษัทเอเว็กซ์กรุป.[9]

เพื่อให้โปรเจกต์นี้สมบูรณ์ Mixi จึงเปิดพื้นที่พิเศษให้กับสวีตแบล็ก[10] และเอเว็กซ์ได้เผยแพร่เว็บสารคดีชีวิตประจำวันของโกโตในฐานะนักร้องบนยูทูบ[11] ซึ่งประสบความสำเร็จเหนือความคาดหมาย[12]

ค.ศ. 2012–ปัจจุบัน: รอยร้าว

[แก้]

ในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 2011 โกโตประกาศในเว็บไซต์ทางการของเธอว่าเธอจะหยุดอาชีพนักดนตรีในต้นปี 2012 แต่ยังคงปรากฎตัวในงานที่จำกัดผู้เข้าชม เช่นคอนเสิร์ตของดรีมมอร์นิงมูซูเมะ และนำแสดงโฆษณา มอนสเตอร์ ฮันเตอร์[13]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2018 โกโตปรากฎตัวในโทรทัศน์ครั้งแรกใน 6 ปีในรายการวาไรตีโชว์ ทรีโอไอดอลนะอนนะ[14]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ใน ค.ศ. 1996 พ่อของโกโตเสียชีวิตขณะปีนเขา[15] สองปีหลังเข้าร่วมกลุ่มมอร์นิงมูซูเมะ ตอนอายุ 15 ปี โกโตซื้อบ้านสามชั้นให้ครอบครัวเธออาศัยอยู่ อย่างไรก็ตาม เธอถูกกลั่นแกล้งและตัดสินใจดร็อปเรียนชั้นมัธยม[16]

โกโตมีพี่สาวสองคนกับน้องชายคนเดียวชื่อว่ายูกิ โกโต แร็ปเปอร์ในกลุ่ม EE Jump.[17] หลังถูกจับกุมในข้อหาขโมยของ ก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย[18]

ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2010 โกโตเห็นโทกิโกะ โกโต แม่ของเธอ ตกลงมาจากชั้นสามในเวลา 23:00 น.และรีบส่งเธอไปที่โรงพยาบาล แต่เธอเสียชีวิตจากบาดแผลในวันที่ 24 มกราคม เวลา 1:13 น.[19][20][21]

โกโตประกาศในบล็อกของเธอในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ว่าเธอได้แต่งานแล้ว[22] เธอถือกำเนิดลูกสาวกับลูกชายในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2015 และวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2017[23] ตามลำดับ[24]

ผลงาน

[แก้]

ผลงานที่โกโตมีส่วนร่วมกับมอร์นิงมูซูเมะในฐานะสมาชิก โปรดดูที่บทความรายชื่อผลงานของมอร์นิงมูซูเมะ

เพลงซิงเกิล

[แก้]
ชื่อเพลง ชื่อภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย ยอดขายภายในสัปดาห์แรก (ชุด) ยอดขายรวม (ชุด) อันดับในตารางจัดอันดับเพลงของประเทศญี่ปุ่น
ไอโนะบากะยาโร 愛のバカやろう 28 มีนาคม พ.ศ. 2544 268,330 434,790 1
อาฟูเระจาอุ...บีอินเลิฟ 溢れちゃう... BE IN LOVE 19 กันยายน พ.ศ. 2544 136,110 210,360 2
เตโวนิกิตเตะอารูกิไต 手を握って歩きたい 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 74,150 104,630 3
ยารูกิ! อิตส์อีซี やる気! IT'S EASY 21 สิงหาคม พ.ศ. 2545 73,230 113,260 2
ซานส์ตัวมามี/คิมิ โตะ อิตสึมาเดโมะ サン・トワ・マミー 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545 38,802 58,644 6
อูวาซาโนะ เซ็กซีกาย うわさの SEXY GUY 19 มีนาคม พ.ศ. 2546 40,743 61,424 6
สแครมเบิล スクランブル 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 35,353 46,181 5
ไดเตะโยะ! พลีสโกออน 抱いてよ! PLEASE GO ON 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 48,011 58,501 4
เก็งโชกุ แกล ฮาเดนิยูกูเบะ! 原色 GAL 派手に行くべ! 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 30,849 45,494 3
ซาโยนาราโนะเลิฟซอง サヨナラの LOVE SONG 17 มีนาคม พ.ศ. 2547 27,317 35,126 5
โยโกฮามะชิงกิโร 横浜蜃気楼 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 23,935 30,984 8
ซาโยนารา โทโมดัจจินิวะนาริตะกูนาอิโนะ さよなら「友達にはなりたくないの」 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 22,944 29,004 9
ซูพินโตะนามิดะ スッピンと涙。 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 16,520 20,709 9
อิมานิคิตโตะ...อินมายไลฟ 今にきっと…In My LIFE 25 มกราคม พ.ศ. 2549 17,635 21,409 12
แกรสโนะพัปส์ ガラスのパンプス 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 22,180 27,907 7
ซัมบอยส์! ทัช SOME BOYS! TOUCH 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 20,665 29,459 5
ซีเคร็ต Secret/シークレット 11 เมษายน พ.ศ. 2550 11,112 14,861* 9

หมายเหตุ: เพลง "ไอโนะบากะยาโร" เป็นเพลงของศิลปินเดี่ยวในเฮลโล! โปรเจกต์ เพลงเดียวที่ติดอันดับหนึ่งในโอริคอนชาร์ตประจำสัปดาห์ของ

อัลบั้มเพลง

[แก้]
ชื่ออัลบั้ม ชื่อภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย ยอดขายภายในสัปดาห์แรก (ชุด) ยอดขายรวม (ชุด) อันดับในตารางจัดอันดับเพลงของประเทศญี่ปุ่น
มักกิงโกลด์ ① マッキングGOLD① 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 75,465 104,999 4
② เพนท์อิตโกลด์ ②ペイント イット ゴールド 28 มกราคม พ.ศ. 2547 39,724 52,040 4
เทิร์ดสเตชัน 3rd ステーション 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 26,150 32,356 11
โกโต มากิ พรีเมียมเบสต์ ① 後藤真希 プレミアムベスト① 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548 22,470 29,626 9
ฮาวทูยูสเซ็กซี How to use SEXY 19 กันยายน พ.ศ. 2550 - - -
ไอ โกโตบะ (วอยซ์) 愛言葉(VOICE) 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 - - -

มินิอัลบั้ม

[แก้]
ชื่ออัลบั้ม ชื่อภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษ วันที่วางจำหน่าย ยอดขายภายในสัปดาห์แรก (ชุด) ยอดขายรวม (ชุด) อันดับในตารางจัดอันดับเพลงของประเทศญี่ปุ่น
สวีตแบล็ค SWEET BLACK 16 กันยายน พ.ศ. 2552 - - -
วัน ONE 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 - - -
กลอเรีย Gloria 12 มกราคม พ.ศ. 2554 - - -
เลิฟ Love 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - - -

สมุดรวมภาพ

[แก้]
  1. [6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544] Goto Maki (後藤真希)
  2. [20 มีนาคม พ.ศ. 2546] maki
  3. [10 มิถุนายน พ.ศ. 2546] more maki
  4. [25 เมษายน พ.ศ. 2547] PRISM
  5. [23 กรกฎาคม พ.ศ. 2547] Alo-Hello! Goto Maki (アロハロ! 後藤真希)
  6. [27 เมษายน พ.ศ. 2548] Dear...
  7. [21 สิงหาคม พ.ศ. 2549] FOXY FUNGO
  8. [27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554] go to natura...
  9. [9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564] ramus

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "後藤真希のプロフィール" [Maki Goto's profile]. Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2020-01-20.
  2. "ゴマキ、ブログ反響に感謝&喜び「嬉しかった」". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). April 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-10. สืบค้นเมื่อ September 3, 2018.
  3. "Morning Musume at 10." Japan-Zone.com (January 12, 2007.) (อังกฤษ)
  4. 後藤真希がハロプロ卒業 弟逮捕で「メンバーに迷惑」 (ภาษาญี่ปุ่น). The Sankei Shimbun & Sankei Digital. October 28, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2007.
  5. "Maki Goto: Hello! Project information concerning graduation" (ภาษาญี่ปุ่น). helloproject.com. October 28, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2007. สืบค้นเมื่อ October 29, 2007.
  6. "Hello! Project 2008 Winter: Information on member absences" (ภาษาญี่ปุ่น). helloproject.com. September 30, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2007. สืบค้นเมื่อ October 29, 2007.
  7. Takeda, Sasetsu (March 5, 2019). "No More Objectification of Me: 女性アイドルはなぜ「謝らされる」のか?". GQ Japan (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 21 March 2019.
  8. "後藤真希、芸能界引退を考えた過去 引き止めたのは?". Model Press (ภาษาญี่ปุ่น). October 27, 2018. สืบค้นเมื่อ November 3, 2018.
  9. "Maki Goto Official Website" (ภาษาญี่ปุ่น). rhythmzone.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2008. สืบค้นเมื่อ June 19, 2008.
  10. [1] เก็บถาวร มีนาคม 7, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. avex Channel. YouTube. Retrieved November 11, 2012.
  12. 後藤真希 : 後藤真希を擁したSWEET BLACK楽曲、着うたが2作連続チャートイン / BARKS ニュース. Barks.jp. Retrieved November 11, 2012.
  13. Brian Ashcraft (February 23, 2013). "This Japanese Popstar Has Truly Insane Gaming Hours". Kotaku. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  14. "後藤真希、6年ぶりG帯バラエティー". Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). September 26, 2018. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  15. Entertainment News from Japan: Mother of Gomaki in Apparent Suicide. Japan Zone (October 29, 2006). Retrieved November 11, 2012.
  16. 金曜日のスマたちへ「波瀾万丈2時間スペシャル」後藤真希 24歳の告白 (ภาษาญี่ปุ่น). July 23, 2010. ระบบแพร่สัญญาณโตเกียว.
  17. "『金スマ』後藤真希特番に大反響、瞬間最大視聴率は19.3%". Barks (ภาษาญี่ปุ่น). July 26, 2010. สืบค้นเมื่อ September 3, 2018.
  18. "Goto Maki graduates from Hello! Project". Hello!Online. November 10, 2007. สืบค้นเมื่อ June 19, 2008.
  19. "ゴマキ母自殺か、自宅3階から転落し死亡". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). January 24, 2018. สืบค้นเมื่อ September 4, 2018.
  20. "ゴマキ母飛び降り自殺、衝撃の真相!昼から酔って大声も". Zakzak (ภาษาญี่ปุ่น). January 25, 2018. สืบค้นเมื่อ September 4, 2018.
  21. "藤本美貴:後藤真希の母「優しく接してくれた」と悼む 時速200キロのフリーキックマシン発表会". Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). January 25, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2010.
  22. "Former Morning Musume singer Maki Goto announces marriage". Japan Today. July 23, 2014. สืบค้นเมื่อ May 4, 2016.
  23. "Goto Maki gives birth to second child". tokyohive. 6Theory Media, LLC. March 26, 2017. สืบค้นเมื่อ March 30, 2021.
  24. "ご報告☆゛" (ภาษาญี่ปุ่น). Ameba Blogs. December 8, 2015. สืบค้นเมื่อ May 4, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]