ข้ามไปเนื้อหา

มัสรัต ซหรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสรัต ซหรา
مسرت زہرہ
ซหราเมื่อปี 2020
เกิด (1993-12-08) 8 ธันวาคม ค.ศ. 1993 (31 ปี)
ศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ ประเทศอินเดีย
การศึกษามหาวิทยาลัยกลางกัศมีร์
อาชีพการรายงานข่าวโดยภาพถ่าย

มัสรัต ซหรา (Masrat Zahra; เกิด 8 ธันวาคม 1993) เป็นนักข่าวฟรีแลนซ์สายงานภาพถ่ายข่าว (photojournalist) จากเมืองศรีนคร ชัมมูและกัศมีร์ เธอทำงานมุ่งเน้นไปที่เรื่องราวของชุมชนและสตรี เธอได้ระยรางวัล 2020 ความกล้าหาญในสายงานภาพถ่ายสำหรับข่าว อันยา นีดริงเฮาส์ ("Anja Niedringhaus Courage" in Photojournalism) จากมูลนิธิสื่อสตรีสากล และรางวัลคนข่าวกล้าหาญและมีจริยธรรมปีเตอร์ มัคเลอร์ (Peter Mackler Award for Courageous and Ethical Journalism) ในปี 2020

ประวัติ

[แก้]

มัสรัต ซหรา เกิดในย่านฮะวาล ของเมืองศรีนคร[1] ในครอบครัวชาวมุสลิม[2][3] ยิดาเป็นคนขับรถบรรทุกและมารดาเป็นแม่บ้าน[2] เธอเข้าศึกษาต่อด้านวารสารศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยกลางกัศมีร์[1] เธอมีผลงานการถ่ายภาพข่าวจากข้อพิพาทกัศมีร์ที่ถูกนำไปใช้รายงานต่อโดยสำนักข่าวจากนานาชาติ เช่น เดอะวอชิงตันโพสต์, เดอะฮิวมานิทาเรียน, ทีอาร์ทีเวิลด์, อัลจาซีรา, เดอะคาราวาน และเดอะซัน[4][5][1]

ในวันที่ 3 สิงหาคม 2019 ก่อนการยกเลิกสถานะพิเศษของรัฐชัมมูและกัศมีร์ เธอได้รับมอบหมายให้ส่งผลงานให้กับเจอร์นัลลิสตส์อันเดอร์ฟายร์ (Journalists Under Fire) นิทรรศการที่จะจัดขึ้นในนครนิวยอร์ก โดยยูไนเต็ดโฟโต้อินดัสทรีส์ (United Photo Industries) และ เซนต์แอนส์แวร์เฮาส์ (St Ann's Warehouse) ร่วมกับคณะกรรมการปกป้องนักข่าว อย่างไรก็ตาม สองวันถัดมาในวันที่ 5 รัฐบาลทำการตัดอินเทอร์เน็ตทั่วชัมมูและกัศมีร์ ส่งผลให้เธอไม่สามารถส่งผลงานเข้าจัดแสดงได้ทันท่วงที[6]

ในเดือนเมษายน 2020 กองบังคับการตำรวจชัมมูและกัศมีร์ขึ้นชื่อซหราในรายงานเอฟไออาร์ภายใต้รัฐบัญญัติกิจกรรมอันขัดต่อกฎหมาย (การป้องกัน) ซึ่งปกติมีไว้ใช้กับผู้ก่อการร้าย[11] ตำรวจอ้างว่าได้รับแจ้งว่าซหราทำการอัปโหลดโพสต์ที่มีเนื้อหา "ชังชาติ" ("anti-national posts") ขึ้นบนเฟซบุ๊กโดยมีเป้าหมายเพื่อ "จงใจจะก่ออาชญากรรมโดยการปลุกปั่นเยาวชน" (criminal intention to induce the youth) ในขณะที่ความเป็นจริงเธอมีแค่อัปโหลดภาพถ่ายข่าวของเธอเท่านั้น[12] การกระทำนี้ถูกประณามว่าเป็นการโจมตีนักข่าว โดยนักวิชาการและนักเคลื่อนไหว 450 คนลงนามประณาม[11]

รางวัล

[แก้]

ในปี 2020 ซหราได้รับรางวัลความกล้าหาญในการถ่ายภาพข่าว อันยา นีดริงเฮาส์ (Anja Niedringhaus Courage in Photojournalism) จากมูลนิธิสื่อสตรีสากล[13][14][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Majid Maqbool (25 August 2018). "Kashmir through the female gaze". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  2. 2.0 2.1 "In Kashmir, an empty bed signifies a life lost" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera English. 20 Jan 2020. สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
  3. Maqbool, Majid (25 Aug 2018). "Kashmir through the female gaze". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 12 June 2020.
  4. 4.0 4.1 Rebecca Staudenmaier (11 June 2020). "Kashmir conflict photographer Masrat Zahra wins top photojournalism award". Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  5. Bilal Kuchay (20 April 2020). "Kashmir journalist charged for 'anti-national' social media posts". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  6. "Capturing Kashmir". The Caravan. 2 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  7. "'State Has Hounded Masrat Zahra': 450 Activists, Scholars Condemn UAPA Use on Journalists". The Wire. 27 April 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  8. Sareer Khalid (20 April 2020). "جموں کشمیر کی پہلی اور واحد خاتون فوٹو جرنلسٹ پر ملک دشمن سرگرمیوں کے الزام میں مقدمہ" [Charges against first and alone female photojournalist of Jammu and Kashmir]. Roznama Rashtriya Sahara (ภาษาอูรดู). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  9. Shafaq Shah (20 April 2020). "'Don't Know What To Say, How To React': Kashmiri Journalist Booked For 'Anti-National' Posts". HuffPost. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  10. AZAAN JAVAID (20 April 2020). "I'm speechless, says J&K journalist Masrat Zahra after being booked for 'anti-national' posts". ThePrint. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  11. 11.0 11.1 [7][8][9][10]
  12. "Who is Kashmiri journalist Masrat Zahra? Why was she booked under UAPA?". The Free Press Journal. 20 April 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  13. "Anja Niedringhaus Courage In Photojournalism Award". International Women's Media Foundation. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  14. "Masrat Zahra Wins Top Photojournalism Award". Kashmir Observer. 11 June 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.