ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดใหญ่แห่งเจนเน

พิกัด: 13°54′19″N 4°33′20″W / 13.90528°N 4.55556°W / 13.90528; -4.55556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดใหญ่แห่งเจนเน
Grande mosquée de Djenné
الجامع الكبير في جينيه
มัสยิดใหญ่แห่งเจนเน มองทางตลาดกลางแห่งเจนเน (central market of Djenné).แผนที่
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
สถานะใช้งาน
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเจนเน, Mopti, ประเทศมาลี
พิกัดภูมิศาสตร์13°54′19″N 4°33′20″W / 13.90528°N 4.55556°W / 13.90528; -4.55556
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบซูดาน-ซาเฮล
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1907
ลักษณะจำเพาะ
ความสูงสูงสุด16 เมตร (52 ฟุต)
หอคอย3
วัสดุดิน

มัสยิดใหญ่แห่งเจนเน (ฝรั่งเศส: Grande mosquée de Djenné, อาหรับ: الجامع الكبير في جينيه) เป็นสิ่งก่อสร้างที่ถูกวิเคราะห์โดยสถาปนิกหลายคนว่าเป็นหนึ่งในความสำเร็จของสถาปัตยกรรมซูดาน-ซาเฮล ตั้งอยู่ในเมืองเจนเน ประเทศมาลี บนที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำบานี มัสยิดแรกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่สิ่งก่อสร้างปัจจุบันถูกสร้างใน ค.ศ.1907 มัสยิดนี้ถูกรวมกับ "เมืองเก่าแห่งเจนเน" ในแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกใน ค.ศ. 1988

ประวัติ

[แก้]

มัสยิดหลังแรก

[แก้]
ซากปรักหักพังของมัสยิดหลังเดิมในโปสการ์ดของฝรั่งเศส ประมาณ ค.ศ. 1900

วันที่มัสยิดหลังแรกถูกสร้างนั้น ยังไม่ทราบที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่ามันถูกสร้างในระหว่างช่วงต้น ค.ศ. 1200 ถึงปลาย ค.ศ. 1330[1] หลักฐานที่กล่าวถึงมัสยิดหลังแรกอยู่ใน ตาริค อัสซูดาน ของอับดุซซาดี ซึ่งถูกบันทึกในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้กล่าวว่าสุลต่านคุนบูรูเข้ารีตกลายเป็นมุสลิมและรื้อพระราชวังของพระองค์พร้อมกับสร้างเป็นมัสยิด แล้วค่อยสร้างพระราชวังใหม่ใกล้มัสยิดอยู่ทางด้านตะวันออก[2] หลังจากนั้นผู้สืบทอดได้สร้างหอคอยของมัสยิดในขณะที่สุลต่านองค์ต่อไปได้สร้างกำแพงล้อมรอบ[3]

ไม่มีหลักฐานอื่นเกี่ยวกับมัสยิดนี้ที่ถูกบันทึกอีกเลย จนกระทั่งเรอเน กาเย (René Caillié) นักสำรวจชาวฝรั่งเศสได้มาเยี่ยมเมืองเจนเนใน ค.ศ.1828 และเขียนว่า "ที่เจนเนมีมัสยิดที่สร้างด้วยดิน โดยมันมีหอที่ไม่ค่อยสูงอยู่สองอัน มันถูกปล่อยร้างจนมีนกนางแอ่นมาทำรังกว่าพันตัว ทำให้มีโอกาสเกิดกลิ่นที่ไม่พรึงประสงค์ได้ จึงทำให้ผู้คนต้องละหมาดข้างนอก"[4]

มัสยิดของเซกู อามาดู

[แก้]
มัสยิดของเซกู อามาดู ใน ค.ศ. 1895 ภาพจาก Tombouctou la Mystérieuse ของเฟลิกซ์ ดูว์บัว

สิบปีก่อนที่เรอเนจะมาเยี่ยมที่นี่ เซกู อามาดู (Seku Amadu) ผู้นำชาวฟูลา ได้ทำการญิฮาดและครอบครองเมืองนี้ พระองค์ไม่พอพระทัยกับมัสยิดหลังเก่าและปล่อยให้มันผุพัง และพระองค์ทรงสั่งให้ปิดมัสยิดเล็กที่อยู่โดยรอบให้หมด[5] ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1834 ถึง ค.ศ. 1836 พระองค์ได้สั่งสร้างมัสยิดใหม่อยู่ทางตะวันออกของพระราชวังเก่า[6]

กองทัพฝรั่งเศสที่นำทัพโดยหลุยส์ อาร์ชีนาร์ (Louis Archinard) ได้ยึดเมืองเจนเนในเดือนเมษายน ค.ศ. 1893 จากนั้น เฟลิกซ์ ดูว์บัว (Félix Dubois) ได้มาที่เมืองนี้แล้วอธิบายถึงมัสยิดหลังเก่า[7] ในช่วงที่เขามา ด้านในของมัสยิดที่พังแล้วถูกใช้เป็นสุสาน[8] และในหนังสือ Tombouctou la Mystérieuse (ทิมบักตูที่ลึกลับ) ของเขาใน ค.ศ.1897 เขาได้วาดภาพจำลองว่ามัสยิดเป็นอย่างไรก่อนที่มันจะถูกทิ้งร้าง[9]

มัสยิดหลังปัจจุบัน

[แก้]
มัสยิดในปัจจุบัน ถ่ายที่หลังตลาดของเมืองนี้เมื่อ ค.ศ. 2003

ดูว์บัวได้มาที่เจนเนอีกรอบใน ค.ศ. 1910 และรู้สึกตะลึงกับอาคารใหม่ เขาเชื่อว่าพวกฝรั่งเศสได้ออกแบบและทำให้มัสยิดดูเหมือนกับการผสมกันระหว่างเม่นกับออร์แกนในโบลถ์ เขาคิดว่าตรงกรวยทำให้สิ่งก่อสร้างดูเหมือนกับวิหารบาโรก[10] แต่ฌ็อง-หลุยส์ บูร์ฌัว (Jean-Louis Bourgeois) ได้โต้แย้งว่าพวกฝรั่งเศสไม่ค่อยรู้ถึงรายละเอียด ยกเว้นตรงบริเวณโค้งที่ยังคง "เป็นแบบแอฟริกา"[11]

มีแชล แลริส (Michel Leiris) นักชาติพันธุ์วิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เดินทางมาที่มาลีใน ค.ศ. 1931 ได้กล่าวว่ามัสยิดใหม่นี้เป็นผลงานของชาวยุโรป และกล่าวด้วยว่าชาวบ้านรู้สึกไม่มีความสุุขกับมัสยิดใหม่ และไม่ยอมทำความสะอาด เว้นเสียว่าพวกเขาจะใช้นักโทษทำความสะอาดเท่านั้น[12]

ที่ระเบียงด้านหน้าทางฝั่งกำแพงตะวันออกมีสุสานสองที่ สุสานอันใหญ่คือที่ฝังของอัลมานี อิสไมลา (Almany Ismaïla) อิหม่าม คนสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 18[13] ในช่วงต้นของสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส บ่อน้ำที่ตั้งทางฝั่งตะวันออกของมัสยิดถูกถมเพื่อสร้างพื้นที่ว่าง และในปัจจุบันมันได้กลายเป็นตลาดที่ขายทุกสัปดาห์[14]

ใน ค.ศ. 1996 ทางนิตยสาร โว้ก ได้จัดงานแฟชันโชว์ในมัสยิด ซึ่งทำให้ชาวบ้านในท้องถิ่นโมโห และทำให้คนที่ไม่ใช่มุสลิมถูกสั่งห้ามเข้ามัสยิดนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป[15] ตัวมัสยิดได้ปรากฏในภาพยนตร์ พิชิตขุมทรัพย์หมื่นฟาเรนไฮต์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bourgeois 1987
  2. "When the sultan became a Muslim. he had his palace pulled down and the site turned into a mosque dedicated to God Most High. This is the present congregational mosque. He built another palace for himself and his household near the mosque on the east side." Hunwick 1999, p. 18
  3. "When Sultan Kunburu died – may God Most High have mercy on him – he was succeeded by the sultan who built the towers (abraj) of the congregational mosque. He in turn was succeeded by the sultan who built the wall which surrounds that mosque." Hunwick 1999, p. 20
  4. Caillié 1830, p. 460, Vol. 1
  5. Bourgeois 1987, p. 55.
  6. Engraving from photo in (Dubois 1896, p. 164)
  7. Dubois 1896, p. 154.
  8. Dubois 1896, p. 162.
  9. Dubois 1896, p. 155.
  10. Dubois 1911, p. 189; Dubois's French text is quoted in Bedaux, Diaby & Maas 2003, p. 16
  11. Bourgeois 1987, p. 58
  12. Leiris, Michel (2007). A África Fantasma. São Paulo: Cosac naify. pp. 154, 155. ISBN 9788575036563.
  13. Maas & Mommersteeg 1992, p. 112
  14. Maas & Mommersteeg 1992, p. 159
  15. 25 Simply Amazing Mosques – International Listings Blog

สารานุกรม

[แก้]
  • Bedaux, R.; Diaby, B.; Maas, P., บ.ก. (2003), L'architecture de Djenné (Mali): la pérennité d'un Patrimonie Mondial (ภาษาฝรั่งเศส), Leiden: Rijksmuseum, ISBN 90-5349-420-0
  • Bourgeois, Jean-Louis (1987), "The history of the great mosques of Djenné", African Arts, UCLA James S. Coleman African Studies Center, 20 (3): 54–92, doi:10.2307/3336477, JSTOR 3336477.
  • Caillié, René (1830), Travels through Central Africa to Timbuctoo; and across the Great Desert, to Morocco, performed in the years 1824–1828 (2 Volumes), London: Colburn & Bentley. Google Books: Volume 1, Volume 2.
  • Dubois, Félix (1896), Timbuctoo: the mysterious, White, Diana (trans.), New York: Longmans.
  • Dubois, Félix (1911), Notre beau Niger (ภาษาฝรั่งเศส), Paris: Flammarion.
  • Gardi, Bernard; Maas, Pierre; Mommersteeg, Geert (1995), Djenné, il y a cent ans (ภาษาฝรั่งเศส), Amsterdam: Institute Royal des Tropiques, ISBN 90-6832-250-8. Reproduces postcards and photographs dating from the early years of the 20th century.
  • Hunwick, John O. (1999), Timbuktu and the Songhay Empire: Al-Sadi's Tarikh al-Sudan down to 1613 and other contemporary documents, Leiden: Brill, ISBN 90-04-11207-3.
  • Maas, Pierre; Mommersteeg, Geert, บ.ก. (1992), Djenné: chef-d'oeuvre architectural (ภาษาฝรั่งเศส), Amsterdam: Institut Royal des Tropiques, ISBN 90-6832-228-1.
  • Sanogo, Klessigué; Fané, Yamoussa, บ.ก. (2008), Plan de Conservation et de Gestion des " Villes anciennes de Djenné " – Mali, 2008–2012 (ภาษาฝรั่งเศส), République du Mali: Ministère de la Culture du Mali/UNESCO.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Marchand, Trevor H. J. (2015). "The Djenné Mosque: World Heritage and Social Renewal in a West African Town". APT Bulletin. 46 (2/3): 4–15. JSTOR 43556448.
  • Prussin, Labelle (1968). "The Architecture of Islam in West Africa". African Arts. UCLA James S. Coleman African Studies Center. 1 (2): 32–74. doi:10.2307/3334324. JSTOR 3334324.
  • Schutyser, S.; Dethier, J.; Gruner, D. (2003). Banco, Adobe Mosques of the Inner Niger Delta. Milan: 5 Continents Editions. ISBN 88-7439-051-3.
  • Snelder, Raoul (1984). Hasan-Uddin, Khan (บ.ก.). "The Great Mosque at Djenné: Its impact as a model". MIMAR: Architecture in Development. Singapore: Concept Media. 12: 66–74.

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]