มัสยิดใหญ่แห่งบัยตุรเราะฮ์มาน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
มัสยิดใหญ่แห่งบัยตุรเราะฮ์มาน | |
---|---|
Masjid Raya Baiturrahman مسجد رايا بيتر الرحمن Meuseujid Raya Baiturrahman | |
Baiturrahman Grand Mosque | |
ศาสนา | |
ศาสนา | อิสลาม |
นิกาย | ซุนนี (ชาฟิอี) |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | บันดาอาเจะฮ์, อินโดนีเซีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 5°33′13″N 95°19′1.9″E / 5.55361°N 95.317194°E |
สถาปัตยกรรม | |
สถาปนิก | G. Bruins |
ประเภท | มัสยิด |
รูปแบบ | โมกุลแบบฟื้นฟู |
ลงเสาเข็ม | 1879 |
เสร็จสมบูรณ์ | 1881 |
ลักษณะจำเพาะ | |
ความจุ | 30,000 |
พื้นที่ภายใน | 1,500 m2 (16,000 sq ft) |
โดม | 7 โดม |
หอคอย | 8 มินาเรต |
มัสยิดใหญ่แห่งบัยตุรเราะฮ์มาน (อินโดนีเซีย: Masjid Raya Baiturrahman) เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ในภาคกลางของเมืองบันดาอาเจะฮ์ จังหวัดอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย มันเป็นแลนด์มาร์กของเมืองและรอดพ้นจากการทำลายล้างในเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547
ประวัติ
[แก้]ตัวมัสยิดหลังแรกถูกสร้างใน ค.ศ. 1612 ในสมัยของสุลต่านอิซกันดาร์ มูดา บางรายงานกล่าวว่าตัวมัสยิดถูกสร้างใน ค.ศ. 1292 โดยสุลต่านอาไลดิน มะฮ์มุดชะฮ์ ตัวมัสยิดเดิมมีหลังคาหลายชั้นตามแบบสถาปัตยกรรมอาเจะฮ์[1]
เมื่อเนเธอร์แลนด์โจมตีอาเจะฮ์ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1873 ได้ทำให้ไฟไหม้มัสยิด ทางนายพล van Swieten ได้สัญญากับผู้นำท้องถิ่นว่าจะสร้างมัสยิดใหม่ จนกระทั่งปีค.ศ.1879 พวกดัตช์ได้สร้างมัสยิดใหม่ให้เป็นทั้งของขวัญและลดความแค้นของชาวอาเจะฮ์ การก่อสร้างเริ่มขึ้นใน ค.ศ.1879 และแล้วเสร็จในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1881 ในสมัยของมุฮัมมัด เดาด์ ชาฮ์ สุลต่านพระองค์สุดท้ายของอาเจะฮ์ ชาวอาเจะฮ์หลายคนไม่ไปละหมาดที่มัสยิดนี้ เพราะมันถูกสร้างโดยชาวดัตช์ ซึ่งชาวอาเจะฮ์กำลังทำสงครามกับพวกนั้น ปัจจุบัน มันเป็นแหล่งความภาคภูมิใจของบันดาอาเจะฮ์[2]
ในตอนแรก ตัวมัสยิดมีโดมและหออะษานเพียงหอเดียว แล้วค่อยเพิ่มขึ้นใน ค.ศ.1935, 1958 และ 1982 ปัจจุบัน มัสยิดมีโดมถึง 7 โดม และหออะษานถึง 8 หอ[3]
ตัวมัสยิดรอดพ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 โดยทำความเสียหายแค่กำแพงมัสยิด และทำหออะษานที่สูง 35 เมตรเอียง ในช่วงภัยพิบัติ ตัวมัสยิดถูกทำเป็นที่หลบภัยชั่วคราวสำหรับผู้ไร้ที่อยู่อาศัย และเปิดให้คนมาละหมาดภายในสองสัปดาห์[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gunawan Tjahjono (1998). Indonesian Heritage-Architecture. Singapore: Archipelago Press. pp. 81–82. ISBN 981-3018-30-5.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-02-07.
- ↑ 3.0 3.1 http://lestariheritage.net/aceh/webpages/sites01.html เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Aceh Heritage
- Oey, Eric M. Sumatra. Periplus Editions (HK) Ltd., 1996.
- Mesjid Besar Baiturrahman เก็บถาวร 2012-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน