ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดตะโละมาเนาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดตะโละมาเนาะ
Masjid Telok Manok
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทมัสยิด
สถาปัตยกรรมมลายู, ไทยและจีน[1][2][6][7]
เมืองหมู่ 1 บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2161[1] หรือ พ.ศ. 2167[2][3]
ผู้สร้างวันฮุซเซน อัซซานาวี[4][5]
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหะยีซายฮู[8]
วิศวกรแซมะ[8]

มัสยิดตะโละมาเนาะ (มลายู: Masjid Telok Manok)[9] หรือ มัสยิดวาดีลฮูเซ็น (มลายู: Masjid Wadi Hussein)[10] เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่หมู่ 1 บ้านตะโละมาเนาะ ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส บริเวณเชิงเขาบูโด[11] มัสยิดแห่งนี้สร้างด้วยเครื่องไม้ดั้งเดิมที่มีความงดงามและเก่าแก่แห่งหนึ่งของโลกมลายู (Nusantara)[4][5] ภายในเป็นที่เก็บรักษาพระคัมภีร์อัลกุรอานซึ่งเขียนด้วยลายมือของวันฮุซเซน อัซซานาวี อิหม่ามคนแรกของมัสยิด[8][12] และยังเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างมลายู ไทย และจีน[1][2][6][7]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่อมัสยิดตะโละมาเนาะ มาจากคำมลายูว่า "ตะโละ" (teluk) แปลว่าอ่าว กับคำว่า "มาเนาะ" (manok) ซึ่งเป็นชื่อพรรณไม้ท้องถิ่นชนิดหนึ่ง มีมากริมลำธารใกล้มัสยิด จึงมีความหมายว่า "บริเวณที่มีต้นมาเนาะ" แต่บางแห่งก็ว่า "มาเนาะ" เป็นคำมลายูเก่า แปลว่านกหรือไก่ก็มี[4][5]

ส่วนชื่อมัสยิดวาดีลฮูเซ็น ตั้งตามนามของวันฮุซเซน อัซซานาวี[4][5]

ประวัติ

[แก้]

ที่ตั้งของหมู่บ้านตะโละมาเนาะในอดีตเป็นป่าสมบูรณ์ ต่อมาวันฮุซเซน อัซซานาวี (Wan Hussein As-Sanawi) นักการศาสนาอิสลามจากหมู่บ้านสะนอ (ปัจจุบันคืออำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี) และภรรยาคืออุมมีกัลซุม (Ummi Kalsom)[4][5] หญิงชาวบ้านม่วงหวาน (ปัจจุบันคืออำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี)[8] พร้อมผู้ติดตามจำนวนหนึ่งหนีภัยสงครามระหว่างสยามและปัตตานี[4][5] บางแห่งก็ว่าโยกย้ายถิ่นฐานจากคำสั่งของเจ้าเมืองสลินดงบายู (เมืองสายบุรี) ไปตั้งถิ่นฐาน ณ บริเวณเชิงเขาบูโด[8]

กล่าวกันว่าวันฮุซเซนเป็นนักการศาสนาที่ยอดเยี่ยม สามารถท่องจำพระคัมภีร์อัลกุรอานได้อย่างลึกซึ้งทั้งเล่ม รวมทั้งผลิตนักปราชญ์ทางศาสนาได้จำนวนมาก[8] มีดำริให้สร้างมัสยิดสำหรับปฏิบัติศาสนกิจ จึงสร้างมัสยิดจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นคือไม้ตะเคียน ซึ่งมีมากในป่าบูโด และใช้เครื่องมือท้องถิ่น โดยมีหะยีซายฮู ครูสอนศาสนาเป็นผู้ก่อสร้าง และแซมะเป็นนายช่าง[8]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

มัสยิดตะโละมาเนาะสร้างด้วยไม้ตะเคียนที่มีอยู่มากในป่าบูโด อาคารแบ่งเป็นสองหลังติดกัน มีเสาไม้ 26 ต้น เสามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาด 10x10 นิ้ว พื้นหนา 2 นิ้ว[3] สร้างด้วยศิลปะมลายู ไทย และจีน[1][2] มีหลังคาทรงจั่ว ปลายปั้นลมเป็นแบบมลายูตรังกานู มีผนังฝาลูกฟัก และยกใต้ถุนสูง[6][7] ใช้การสลักไม้แทนตะปู ใช้บือจือตา (เครื่องมือคล้ายขวาน บ้างเรียกขวานเล็ก) สำหรับตัดไม้ ใช้บันลีโยง (ลิ่ม) เพื่อผ่าไม้ และใช้บายิ (เครื่องมือคล้ายจอบ) ถากไม้ตะเคียนให้เรียบ[3][8] แต่เดิมหลังคามุงด้วยจาก แต่ต่อมาได้เปลี่ยนไปมุงหลังคาด้วยกระเบื้องซึ่งทำจากอิฐสงขลา[2][4][5]

  • อาคารมัสยิดหลังแรก มีหลังคาทั้งหมดสามชั้น เสาแกะสลักลายดอกพิกุล หลังคาชั้นที่สามเป็นโดมรูปเก๋งจีนแท้อยู่บนหลังคา[2] มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เดิมเก๋งจีนจะถูกใช้เป็นหออาซาน[3]
  • อาคารมัสยิดหลังที่สอง มีหลังคาสองชั้น หลังคาชั้นที่สองมีจั่วบนหลังคา ชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "จุฬาราชมนตรี ร่วมเฉลิมฉลองศาสนสัมพันธ์ มัสยิดตะโละมาเนาะ 390 ปี". ไทยรัฐออนไลน์. 27 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์ (31 มีนาคม 2560). "มัสยิดตะโละมาเนาะ". สยามรัฐออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-14. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "มัสยิด 300 ปี นราธิวาส สถานที่ศักดิสิทธิ์ไทยมุสลิม ชมหลังคาศิลปะ 3 ชนชาติ". Thailand Top Vote. 23 พฤศจิกายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน (27 กรกฎาคม 2560). "บ้านตะโละมาเนาะ : จากนักการศาสนายุคก่อนสู่นักการศาสนายุคใหม่". ศูนย์นูซันตาราศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Nik Abdul Rakib Bin Nik Hassan (5 กันยายน 2550). "มัสยิดวาดิลฮุซเซน บ้านตะโละมาเนาะ". ศูนย์นูซันตาราศึกษา. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 Najib Bin Ahmad (4 กุมภาพันธ์ 2559). "สรุปบรรยายสาธารณะ "สถาปัตยกรรมมลายูในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนใต้"". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 7.2 Najib Bin Ahmad (19 กุมภาพันธ์ 2559). "สถาปัตยกรรมมลายูในท้องถิ่นสามจังหวัดภาคใต้". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-20. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 8.8 อับดุลรอนิง ลาเด๊ะ (29 มกราคม 2560). "มัสยิด 300 ปี (มัสยิดวาดีอัลฮูเซ็น หรือ มัสยิดตะโละมาเนาะ)". ปัตตานีบ้านฉัน... สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Wan Husein As-Sanawi Al-Fathani Hafiz pendiri Masjid Teluk Manok". Utusan Online. 25 ธันวาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  10. "Kontribusi Masjid Wadi Hussein bagi Tegaknya Islam di Thailand". Republika. 15 พฤศจิกายน 2558. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ชมรมอิหม่ามฯ บาเจาะ ประกาศยุติโครงการปรับปรุงแหล่งเรียนรู้มัสยิด 300 ปี ตะโละมาเนาะ จ.นราธิวาส". ฟาตอนีออนไลน์. 2 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "7 อุปสรรคบูรณะมัสยิดโบราณ "ตาโละมาเนาะ" แหล่งศรัทธาของคนทุกสารทิศ". ผู้จัดการออนไลน์. 6 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)