ข้ามไปเนื้อหา

มัสยิดชญานวาปี

พิกัด: 25°18′40″N 83°00′38″E / 25.311229°N 83.010461°E / 25.311229; 83.010461
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดชญานวาปี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งพาราณสี
รัฐรัฐอุตตรประเทศ
มัสยิดชญานวาปีตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
มัสยิดชญานวาปี
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
มัสยิดชญานวาปีตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
มัสยิดชญานวาปี
มัสยิดชญานวาปี (รัฐอุตตรประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์25°18′40″N 83°00′38″E / 25.311229°N 83.010461°E / 25.311229; 83.010461
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมโมกุล
ลักษณะจำเพาะ
โดม3
หอคอย2

มัสยิดชญานวาปี (อังกฤษ: Gyanvapi Mosque) เป็นมัสยิดในพาราณสี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิออรังเซพในปี 1669 บนซากของเทวาลัยพระศิวะที่ถูกทุบทำลายลงก่อนหน้า[1]

ก่อนการเป็นมัสยิด

[แก้]

เดิมทีจุดนี้เป็นอาคารโบสถ์พราหมณ์ชื่อวิศเวศวรมนเทียร (Vishweshwar temple) ที่สร้างขึ้นบูชาพระศิวะ[2] สร้างขึ้นโดยโตดาร์ มาล ข้าราชสำนักและขุนนางระดับสูงในราชสำนักของจักรพรรดิอักบัร สร้างร่วมกับนารายณะ ภัตต์ (Narayana Bhatta) นักเทววิทยาพราหมณ์คนสำคัญของพาราณสี ในสมัยปลายศตวรรษที่ 16[3][4][a] มนเทียรมีส่วนต่อการเติบโตของเมืองพาราณสีในฐานะศูนย์กลางหนึ่งสำหรับการประชุมและพูดคุยถกเถียงของพราหมณ์ในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับข้อบังคับในศาสนาฮินดู[5]

นักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม มธุรี เดซาอี (Madhuri Desai) ตั้งข้อสันนิษฐานว่าโบสถ์หลังเดิมมีลักษณะการใช้ระบบเอย์วอน ซึ่งพบได้ในสถาปัตยกรรมโมกุล ส่วนผนังภายนอกเป็นหินแกะสลัก[6]

สู่มัสยิด

[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1669 จักรพรรดิออรังเซพมีดำริให้ทุบทำลายโบสถ์ทิ้ง[7] และสร้างมัสยิดขึ้นแทนที่ในภายหลัง ซึ่งคำสั่งสร้างมัสยิดขึ้นแทนน่าจะเป็นดำริของออรังเซพเองเช่นกัน[8][9][b] ฟาซาดของมัสยิดถอดแบบมาจากทางเข้าทัชมาฮาล ส่วนฐานย่อมุมของโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมยังคงเหลือไว้เพื่อใช้เป็นลานและผนังทิศใต้ของมัสยิด ส่วนซุ้มโค้งแหลม งานประติมากรรมสลักภายนอก และซุ้มโตรณะ ถูกเปลี่ยนเป็นผนังกิบลัต[1][12][13][14] ในขณะที่สิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในบริเวณ ไม่ได้ถูกทำลายไปด้วย[12]

ข้อมูลมุขปาฐะเสนอว่านักบวชพราหมณ์ยังคงได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ภายในพื้นที่ของมัสยิดหลังใหม่ และยังคงมีสิทธิในการจัดการจาริกแสวงบุญของศาสนิกชนฮินดูได้[12] ซากที่เหลือของโบสถ์พราหมณ์ โดยเฉพาะฐานย่อมุม ยังคงได้รับอนุญาตให้ศาสนิกชนฮินดูเข้ามาสักการะ[15] มัสยิดหลังใหม่นี้มีชื่อว่ามัสยิดอาลัมคีรี (Alamgiri Mosque) ซึ่งตั้งตามชื่อของจักรพรรดิออรังเซพ[16] ต่อมาชื่อนี้ลดความนิยมลง กลายเป็นชื่อ ชญานวาปี (แปลว่า "บ่อน้ำความรู้") ซึ่งเป็นชื่อของแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ตั้งอยู่ติดกันแทน[3] แหล่งน้ำนี้มีความเก่าแก่กว่าโบสถ์พราหมณ์ และเชื่อว่ามีพระศิวะเป็นผู้ทรงขุดแหล่งน้ำนี้ขึ้นมาเอง[17][c]

แรงจูงใจที่นำไปสู่การทำลายโบสถ์พราหมณ์ของออรังเซพนั้นเป็นประเด็นที่ถกเถียงอยู่ คัทเธอรีน อัชเชอร์ (Catherine Asher) นักประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมอินโดอิสลาม ชี้ให้เห็นว่าในเวลานั้น ทั้งบรรดาซามินดาร์ในพาราณสีมักก่อกบฏต่อจักรพรรดิออรังเซพ และบรรดาพราหมณ์ในพาราณสีก็ถูกกล่าวโทษว่าไปแก้ไขและยุ่งเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลามในพื้นที่[1] การสั่งทำลายโบสถ์พราหมณ์นี้จึงเป็นเหมือน "การเชือดไก่ให้ลิงดู" ของออรังเซพเพื่อเตือนทั้งบรรดาซามินดาร์และพราหมณ์ในพาราณสีที่มีอิทธิพลมากในเมือง[1] ข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุนโดยซินเธีย ทาลโบท (Cynthia Talbot), ริเชิร์ด เอ็ม อีเทิน,[18] สาติษ จันทระ และ ออเดรย์ ทรูสชกี[19] โอแฮนลอน (O' Hanlon) ยังเน้นย้ำว่าการทำลายโบสถ์พราหมณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงที่ความขัดแย้งระหว่างโมกุลกับชาวมราฐาอยู่ที่จุดสูงสุด[20] ในขณะที่ อังเดร วิงก์ เชื่อว่ามีแรงจูงใจทางศาสนาเกี่ยวข้องด้วย[21]

ยุคหลังได้รับเอกราชถึงปัจจุบัน

[แก้]

ในเดือนมีนาคม 1959 ฮินดูมหาสภาได้จัดพิธีรุทราภิเษก (Rudrabhishek) ที่ศาลาในมัสยิดเนื่องในโอกาสเทศกาลมหาศิวราตรี ผู้จัดงานสองคนถูกตัดสินจำคุกหกเดือนในโทษฐานละเมิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย การตัดสินนี้ทำให้บรรดาผู้สนับสนุนมหาสภาจัดพิธีกรรมฮินดูและประท้วงขึ้นในศาลาหลังเดียวกันนั้นเป็นเวลาหลายเดือน และเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมขึ้น[22]

ปัจจุบัน มัสยิดมีคำสั่งห้ามคนที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าโดยเด็ดขาด รวมถึงมีกฎห้ามการถ่ายภาพมัสยิดโดยเด็ดขาด ซอยที่มัสยิดตั้งอยู่มีตำรวจและหน่วย RAF ประจำอยู่ กำแพงภายนอกของมัสยิดล้อมด้วยลวดหนาม และมีหอคอยสังเกตการณ์อีกหนึ่งหอ[14][23] ในช่วงวันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปี 2004 มีรายงานของบีบีซีระบุว่ารัฐได้ส่งกำลังตำรวจกว่าพันคนควบคุมพื้นที่รอบมัสยิด[24]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. A verse in the Tristhahsetu goes, "Although at limes there may be no lingam there [at Visvesvara] due to mlechhas or other evil kings, still the rites appropriate to that place such as circumambulation and salutation do take place". Richard G. Salomon notes this to prove that the desecrated condition of the lingam did prevail in his life-time.
    Additionally, Bhattadinakara, a roughly contemporaneous commentary by his grandson attributed the construction of the temple to Narayana Bhatta.
  2. Maasir-i-Alamgiri —a hagiographic account of Aurangzeb, penned after his death, by Saqi Mustaid Khan— records the destruction of the temple:[10]

    It was reported that, according to the Emperor’s [Aurangzeb] command, his officers had demolished the temple of Viswanath at Kashi.

    Among Khan's sources were the state archives; however, he did not provide citations. Khafi Khan, another contemporary biographer of Aurangzeb had noted a lack of written sources for post-1667 events and hence, a need to depend on memory.[11]
  3. ตำนานกล่าวว่าพระศิวะทรงขุดด้วยตนเองเพื่อให้ลึงค์เย็นลง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Asher 1992, p. 278-279.
  2. Desai 2017, p. 6.
  3. 3.0 3.1 3.2 Shin 2015, p. 36.
  4. Asher 2020, p. 16.
  5. O'Hanlon 2011, p. 264-265.
  6. Desai 2017, p. 60, 62.
  7. Desai 2017, Palimpsests.
  8. Lazzaretti 2021a, p. 138.
  9. Shin 2015, p. 4.
  10. Truschke 2017.
  11. Brown 2007.
  12. 12.0 12.1 12.2 Desai 2017, p. 69.
  13. Asher 2020, p. 17.
  14. 14.0 14.1 Dumper 2020.
  15. Dumper 2020, p. 132.
  16. Salaria 2022.
  17. Lazzaretti 2021a, p. 140.
  18. Eaton 2000, p. 306–307.
  19. Truschke 2017, p. 85-86.
  20. O'Hanlon 2011, p. 267.
  21. Wink 2020, p. 194–195; 274 (note 98).
  22. "Explained: Kashi Vishwanath in Sangh focus — first in 1959, but rarely thereafter". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-06-23.
  23. Desai 2003.
  24. Majumder 2004.

บรรณานุกรม

[แก้]