มันเผาญี่ปุ่น
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/70/Ishi_yaki_imo_by_Kanko.jpg/220px-Ishi_yaki_imo_by_Kanko.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Ishi_yakiimo_vendor_by_MShades_in_Nara.jpg/220px-Ishi_yakiimo_vendor_by_MShades_in_Nara.jpg)
มันเผาญี่ปุ่น หรือ ยากิอิโมะ (ญี่ปุ่น: 焼き芋; โรมาจิ: yakiimo) เป็นอาหารชนิดหนึ่ง ในประเทศญี่ปุ่นนิยมรับประทานในฤดูใบไม้ร่วง หลายปีก่อนการเผามันนิยมใช้ใบไม้กองสุมรวมกันแล้วเผา แต่กฎหมายใหม่ญี่ปุ่นห้ามเผาสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการทำมันเผาจึงเปลี่ยนแปลงไป ส่วนในฤดูหนาวการถือมันเผาร้อน ๆ ไว้ที่มือยังช่วยคลายความหนาวให้กับมือด้วย[1]
นอกจากในญี่ปุ่นแล้ว มันเผาญี่ปุ่นยังแพร่หลายจนเป็นอาหารทานเล่นของจีนและเกาหลีใต้เรียกว่า เข่าหงสู่ (จีน: 烤红薯; พินอิน: kǎo hóngshǔ) และ คุนโกกูมา (เกาหลี: 군고구마; อาร์อาร์: gungoguma) ตามลำดับ
มันเผาทั่วไป
[แก้]มันเผาทั่วไป ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า ยากิอิโมะ มีมาแต่ก่อนยุคโชวะ ที่นิยมทำกินในฤดูใบไม้ร่วงอันเนื่องมาจากใบไม้มีเป็นจำนวนมาก มีความยุ่งยากในการกำจัดให้หมดไปโดยเร็วการเผาจึงเป็นวิธีที่เร็วที่สุด เมื่อทำการเผาระหว่างรอจะนำเอาหัวมันใส่เข้าไปในกองไฟ รอให้สุกได้ที่จึงรับประทาน
ธันวาคม พ.ศ. 2543 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายควบคุมการเผาสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการเผาใบไม้ ด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้ไม่สามารถเผาใบไม้ได้อีกต่อไป ชาวญี่ปุ่นที่อยากทำมันเผากินเองจึงเปลี่ยนวิธีการทำไปจากเดิม เช่น ห่อด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์แล้วจึงนำเข้าไปอบด้วยเตาอบไมโครเวฟ หรือวางไว้บนเครื่องทำความอุ่นแบบใช้น้ำมันก๊าด (สโต๊บ)[2][3]
มันเผาใช้หิน
[แก้]อิชิยากิอิโมะ (ญี่ปุ่น: 石焼き芋; โรมาจิ: Ishiyakiimo) เป็นมันเผาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทาน ซึ่งวิธีการทำแตกต่างจากมันเผาที่เรียกยากิอิโมะ โดยจะใช้หินจากแม่น้ำที่มีลักษณะกลม เล็กพอเหมาะมาใส่ลงในภาชนะขนาดใหญ่จากนั้นให้ความร้อนและใช้หินเป็นตัวกระจายความร้อนให้หัวมันสุก ในขั้นต้นจะทำให้หินร้อนทั่วกันด้วยการคนจนร้อนได้ที่ก่อน จากนั้นจึงนำหัวมันใส่ลงไปและเริ่มทำการคนอีกครั้ง (คล้ายการคั่วเกาลัดของไทย) ผู้ทำมันเผาชนิดนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษ[a]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ハワイの歌手シモーン・ホワイトは、日本で耳にした石焼き芋売りの節回しに感銘を受け、Yakiimoという歌を作った。曲中では石焼き芋売りの節回しが日本語でほぼそのまま引用されている。[ซิโมน ไวท์ นักร้องชาวฮาวาย ประทับใจในน้ำเสียงของพ่อค้ามันเผาที่ได้ยินที่ญี่ปุ่นมาก เธอจึงแต่งเพลงชื่อ Yakiimo ซึ่งในเพลงดังกล่าวมีการอ้างอิงน้ำเสียงของพ่อค้ามันเผาในภาษาญี่ปุ่นแทบจะคำต่อคำ]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เมนูอาหารเกาหลีและของทานเล่นรับหิมะตก ฤดูหนาวยิ่งกินยิ่งฟิน!". KKday. 28 พฤศจิกายน 2017.
- ↑ 野焼きは法律で禁止されています [Open burning is prohibited by law]. 蒲郡市 (ภาษาญี่ปุ่น). 7 สิงหาคม 2023.
- ↑ "Satsumaimo". Japanese Food 101 (ภาษาอังกฤษ). 8 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2011.