มะเร็งผิวหนังในสุนัขและแมว
เนื้องอกผิวหนัง ทั้งเนื้องอกไม่เป็นอันตราย (ที่ไม่เป็นมะเร็ง) และก้อนเนื้อร้าย (ที่เป็นมะเร็ง) ที่มีอยู่ ประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ของเนื้องอกผิวหนังหลักเป็นก้อนเนื้อร้ายในสุนัข และ 50-65 เปอร์เซ็นต์เป็นก้อนเนื้อร้ายในแมว ซึ่งไม่ได้เป็นทุกรูปแบบของโรคมะเร็งผิวหนังในสุนัขและแมวที่เกิดจากแสงแดด แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้ในบางครั้ง โดยในสุนัข จมูกและเท้าจะมีลักษณะผิวที่แพ้ง่ายซึ่งไม่มีขนที่ป้องกันจากดวงอาทิตย์ เช่นเดียวกับแมวและสุนัขที่มีความบอบบางและขนสีอ่อน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นของการได้รับอันตรายจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านสู่ร่างกายทุกส่วนของพวกมัน[1]
การวินิจฉัย
[แก้]โดยปกติ ทั้งเซลล์วิทยาหรือการวิเคราะห์ทางจุลพยาธิวิทยาของก้อนที่น่าสงสัยจะได้รับการพบก่อนที่จะเริ่มทำการรักษา การตรวจวินิจฉัยที่ใช้กันทั่วไปสำหรับเนื้องอกผิวหนังจะใช้วิธีการตรวจเซลล์ผิดปกติจากเนื้อเยื่อและการตัดเนื้อออกตรวจ[2]
วิทยาเซลล์เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้สัตวแพทย์แยกเนื้องอกจากรอยโรค เทคนิคการตัดเนื้อออกตรวจที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและตำแหน่ง โดยก้อนขนาดเล็กมักได้รับการตัดออกอย่างสมบูรณ์ และส่งต่อไปยังแผนกพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันสุขภาพเนื้อเยื่อโดยรอบว่าเนื้องอกที่ตัดออกมาไม่ได้มีเซลล์มะเร็งใด ๆ แต่ถ้าเนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า จะมีการนำกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กออกมาสำหรับการวิเคราะห์ และการรักษาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ตรวจพบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอกและระดับของความรุนแรง การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมจะรวมถึงการตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยง, เอ็กซ์เรย์หน้าอกเพื่อตรวจสอบการแพร่กระจายในช่องปอด และการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องท้องสำหรับการตรวจสอบการแพร่กระจายไปยังอวัยวะภายในอื่น ๆ[3]
การรักษา
[แก้]การรักษาที่เฉพาะเจาะจงจะขึ้นอยู่กับชนิด, ตำแหน่งที่ตั้ง และขนาดของเนื้องอก รวมถึงการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นของมะเร็ง การผ่าตัดเนื้องอกจะเป็นไปตามมาตรฐานของทางเลือก แต่รูปแบบของการรักษาเพิ่มเติม เช่น รังสีรักษา, เคมีบำบัด หรือการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด จะคงอยู่
เมื่อตรวจพบได้เร็ว โรคมะเร็งผิวหนังในแมวและสุนัขมักจะได้รับการรักษาที่ประสบความสำเร็จ ในหลายกรณี การตัดเนื้อออกตรวจสามารถนำเนื้องอกออกได้ทั้งหมด ตราบใดที่นำเนื้อเยื่อที่ดีออกนอกพื้นที่เนื้องอกที่ไม่ได้มีเซลล์มะเร็งใด ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Dogs and Skin Cancer". WebMD. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
- ↑ Withrow SJ, MacEwen EG (2001). Small Animal Clinical Oncology (3rd ed.). W.B. Saunders Company.
- ↑ "Mast Cell Tumors in Cats". PetCareCenter.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-15. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.