มะฮอกกานีใบใหญ่
มะฮอกกานีใบใหญ่ | |
---|---|
ใบของมะฮอกกานีใบใหญ่ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Meliaceae |
สกุล: | Swietenia |
สปีชีส์: | S. macrophylla |
ชื่อทวินาม | |
Swietenia macrophylla King |
มะฮอกกานีใบใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Swietenia macrophylla King), อังกฤษ: big leaf, Brazillian, Hondurus(English), caoba/aguono/mara(Spanish), mogno/aguano(Portuguese), mahogani grands feuillis(French), Echtes mahagoni(German), mogano(Italian), cheria mahogany(Malay)
การตั้งชื่อ
[แก้]ชื่อสกุล Swietenia ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ Gerard von Swieten (1700-1772) นักพฤกษศาสตร์และนักฟิสิกส์ และ จักรพรรดินีออสเตรีย Maria Theresa ชื่อระบุสปีชีส์ macrophylla มาจากคำว่าใบใหญ่จากภาษากรีก 'makros' แปลว่าใหญ่ และ 'phyllon' แปลว่าใบ
การกระจายพันธุ์
[แก้]อเมริกากลาง ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก จนถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มะฮอกกานีในธรรมชาติเคยมีราว 278 ล้านเฮกตาร์ 57% พบในบราซิล และ 21% ถูกโค่นไปในปี 2000 อุณหภูมิระหว่าง 20-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ปริมาณฝน 1600-2500 มิลลิเมตรต่อปี ความสูง 0-1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถพบได้ในป่าทุกประเภทตั้งแต่ป่าสน ทุ่งหญ้าเขตร้อนจนถึงป่าดงดิบ การค้นพบครั้งแรกของทวีปอเมริกาใต้พบริมแม่น้ำแอมะซอนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ทราบได้ว่า มะฮอกกานีสามารถโตได้ในอากาศร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้น มีการกระจายตัวเป็นกลุ่มเล็ก หาได้ยากที่มีความหนาแน่นมากกว่า 4-8 ต้นต่อเฮกตาร์ ในเขตร้อนชื้นของทวีปอเมริกาพบเป็นพืชกลุ่มเริ่มต้นหลังจากการฟื้นฟูจากการแผ้วถางที่ดินเพื่อการเพาะปลูก มีการปลูกร่วมกับต้นสัก [[1]] ในฟิลิปปินส์มีรายงานว่าทนทานต่อลมและพายุไซโคลน[1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]- ต้น สูง 30-40 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 3-4 เมตร ในสภาวะที่เหมาะสม สูงได้ถึง 60 เมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เมตร ต้องการแสง สามารถอยู่ในที่ได้รับแสงบางเวลาได้เช่นกัน เช่น ในป่า
การขยายพันธุ์ เป็นพืชที่มีสองเพศในต้นเดียว ต้นตรง ทรงกระบอก มีรากพูพอนที่โคน เปลือกไม้ขรุขระ และหลุดล่อนเป็นชิ้นเล็ก
- ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 60 เซนติเมตร ใบย่อย 6-16 ใบ รูปไข่ รูปหอก ปลายใบค่อนข้างเรียวแหลม สีเขียวอ่อนหรือออกแดงเมื่อยังอ่อน เขียวเข้มและเป็นมันเมื่อโตเต็มที่
- ดอก ดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ช่อดอกแยกแขนงปลายแคบ ยาว 8-13 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม กลีบดอกขาวอมเหลือง รูปวงรี ยาว 4 มิลลิเมตร มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียส่วนใหญ่อยู่กลางช่อ ออกดอกกลางถึงปลายฤดูแล้ง ต้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20-30 ก็ออกดอกได้ ขึ้นกับสภาพพื้นที่ ขยายพันธุ์ได้เต็มที่เมื่อต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 70-80 เซนติเมตร ถึง 130 เซนติเมตร
- ผล ตรง ผลแตก แข็งเหมือนไม้ ยาว 10-20 เซนติเมตร ผลิตผลได้ 800 ผลต่อต้น
- เมล็ด ภายในมีราว 50 เมล็ด เมล็ดปลิวไปตามลมช่วงกลางฤดูแล้ง ปกติไปได้ห่างจากต้น 32-36 เมตรแต่อาจไปได้ถึง150 เมตร เมล็ดเริ่มงอกในฤดูฝน อัตราการงอกของเมล็ดในสภาวะที่ถูกควบคุมอยู่ที่ประมาณ 80-90% การงอกในป่ามีอัตราการงอกราว10-58% ขึ้นกับปี ปริมาณฝนและประเภทของป่า
- ศัตรูพืช Hypsipyla grandella ตัวอ่อนของผีเสื้อเจาะยอด กินเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ทำลายยอดของต้นอ่อน
Steniscadia poliophaea ตัวอ่อนของผีเสื้อทำลายใบและต้นอ่อน
บทบาทต่อระบบนิเวศ
[แก้]ในสภาพแวดล้อมปกติ มีจำนวนเรือนยอดไม่มากนักแต่มีความสำคัญทางโครงสร้างและบทบาททางชีวภาพ มะฮอกกานีมีอายุได้มากกว่า 200ปี เป็นที่อยู่ของสัตว์และแมลง มีโพรงเป็นที่อยู่อาศัยของนกเช่น นกทูแคน และนกมาคอว์ การออกดอกแต่ละมีมีเรณูและหวานสำหรับผีเสื้อ ผีเสื้อกลางคืน ผึ้ง นกมาคอว์และนกแก้ว กินผลแก่ได้หลายเดือนในฤดูฝน สัตว์ฟันแทะที่อาศัยอยู่ตามพื้นหลายชนิดรวมถึงปาคาสและคูเทียกินเมล็ดที่ตกบนพื้นในปลายฤดูแล้ง แมลงนักล่ามีหลายชนิด ผีเสื้อกลางคืน Steniscadia poliophaea มีวงจรชีวิตอยู่กับมะฮอกกานี การเจริญที่รวดเร็วแต่มีอายุขัยยาวนานทำให้ไม้เลื้อยมาอาศัยที่ให้ดอกและผลเป็นอาหารของให้สัตว์และแมลงต่างๆ
การใช้ประโยชน์(ดั้งเดิม) และประโยชน์ทางการค้า
[แก้]เนื้อไม้มะฮอกกานีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกเพราะความแข็งแรง ทนทาน ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายและมีความสวยงาม ใช้ในการผลิตเครื่องเรือน และของประดับตกแต่ง เปลือกและเมล็ดของมะฮอกกานีใช้บรรเทาอาการท้องร่วง และแก้ปวดฟันของชาวพื้นเมือง น้ำมันที่สกัดจากเปลือกใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
การใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ
[แก้]- เนื้อไม้[2] มีมูลค่าสูง แก่นไม้ออกแดงหรือชมพู สีเข้มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นตั้งแต่ชมพูเข้มไปจนถึงน้ำตาล กระพี้ไม้ สีออกเหลือง สามารถใช้กับเครื่องมือที่ใช้มือได้ง่าย คุณภาพและรูปร่างคงทน ขัดแล้วไม่แตกหักหรืองอ น้ำหนัก 485-840 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่ความชื้น 15% เสี้ยนเชื่อมหรือบางครั้งตรง เสี้ยนละเอียดหรือค่อนข้างหยาบ ผิวลื่น ใช้ในการทำแผงควบคุม กรอบประตู หน้าต่าง โค้ง เครื่องเรือน โครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง ใช้ในเรือ ปูพื้น อัดเป็นไม้วีเนียร์มักใช้ทำกีตาร์ คุณภาพของไม้สามารถแบ่งแยกได้จากสี ลาย ของเนื้อไม้ การเจาะด้วยเครื่องและเข็มเพื่อการทดสอบ
ความหนาแน่นจากของเนื้อไม้ต้นปลูกน้อยกว่าในป่าธรรมชาติ
- ยางหรือเรซิน ยางผลิตมาจากการกรีดเปลือกพบในตลาดบอมเบย์ที่อินเดีย อยู่ในรูปบริสุทธิ์หรือผสมยางอื่น
- แทนนินและสีย้อม ใช้ย้อมและฟอกหนัง
- ลิพิด มีมูลค่าทางการค้าจากการสกัดเมล็ด
- ยา ยาพื้นบ้านในแถบอเมริกากลาง
- อื่นๆ เป็นพืชให้ร่มเงา ใช้ในการปลูกป่าทดแทน เปลือกผลบดใช้เป็นวัสดุปลูก เป็นไม้ประดับเช่นที่มาเลเซียตะวันตก[3]
การค้า
[แก้]ต้นทศวรรษ 1970 ถึงปลายทศวรรษ 1990 ประเทศที่มีความสำคัญทางการค้าคือ บราซิล แต่เนื่องด้วยข้อโต้แย้งของสากล ว่าเป็นแหล่งผลิตที่ผิดกฎหมาย รัฐบาลห้ามการตัด การขนส่ง หรือทำการค้าขายในปี 2001 ทำให้การค้าขายไม้มะฮอกกานีของบราซิลลดลง โบลิเวียเริ่มเข้ามาแทนที่ในปี 1990 แต่ก็ตกลงเพราะ จำนวนมีน้อยลง และการตัดต้นมะฮอกกานีถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ความต้องการเพิ่มขึ้น ราคาจึงพุ่งสูงขึ้น จนเกิดเหตุการณ์ red gold[4] จนมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ เกิดข้อโต้แย้งในการใช้ประโยชน์ทางการค้าและการอนุรักษ์ และท้ายสุดได้ถูกบรรจุในอนุสัญญาไซเตส (CITES Appendix II) มีผลวันที่ 15 พฤศจิกายน 2003
มะฮอกกานี(mahogany)ที่นำมาใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้(timber)มี 3 สปีชีส์
ได้แก่
West Indian mahogany ชื่อวิทยาศาสตร์ Swietenia mahagoni (Linnaeus) Jacquin, Enum. Syst.[[2]]
Hondurus mahogany ชื่อวิทยาศาสตร์ Swietenia macrophylla King
และSwietenia humulis
มะฮอกกานีที่พบในประเทศไทย มี 2 สปีชีส์ คือ มะฮอกกานีใบใหญ่ และมะฮอกกานีใบเล็ก แต่ส่วนมากเป็นมะฮอกกานีใบใหญ่ [5]
สัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- 108 สมุนไพรไทย
- BIG-LEAF MAHOGANY (SWIETENIA MACROPHYLLA) IN PERU, BOLIVIA AND BRAZIL AUTHORS: Elena Mejía et al.2008
- Swietenia macrophylla King. United States Department of Agricuture (USDA)-Natural Resources Conservation Service.
- Swietenia macrophylla. The IUCN Red List of Threatened Species
- Swietenia macrophylla. Agroforestry Database 4.0. Orwa et al.2009. page 2-3
- Krisnawati, H., Kallio, M. and Kanninen, M. 2011 Swietenia macrophylla King: ecology, silviculture and productivity. CIFOR, Bogor, Indonesia.
- ↑ Swietenia macrophylla. Agroforestry Database 4.0. Orwa et al.2009. page 2-3
- ↑ Krisnawati, H., Kallio, M. and Kanninen, M. 2011 Swietenia macrophylla King: ecology, silviculture and productivity. CIFOR, Bogor, Indonesia.
- ↑ Swietenia macrophylla. Agroforestry Database 4.0. Orwa et al.2009. page 2-3
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/336593
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-15. สืบค้นเมื่อ 2016-05-19.