ข้ามไปเนื้อหา

มะดาอินศอเลียะห์

พิกัด: 26°47′30″N 37°57′10″E / 26.79167°N 37.95278°E / 26.79167; 37.95278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮกรา (มะดาอินศอเลียะห์)
مَدَائِن صَالِح
มะดาอินศอเลียะห์
แสดงที่ตั้งภายในซาอุดีอาระเบีย
ชื่ออื่นอัลฮิจญร์
ٱلْحِجْر
มะดาอินศอเลียะห์
ที่ตั้งอัลมะดินะฮ์, ฮิญาซ, ซาอุดิอาระเบีย
พิกัด26°47′30″N 37°57′10″E / 26.79167°N 37.95278°E / 26.79167; 37.95278
ประเภทนิคม
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนAl-Hijr Archaeological Site (Madâ’in Sâlih)
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์ii, iii
ขึ้นเมื่อ2008 (32nd session)
เลขอ้างอิง1293
ภูมิภาครัฐอาหรับ

มะดาอินศอเลียะห์ (อาหรับ: مَدَائِن صَالِح, อักษรโรมัน: madāʼin Ṣāliḥ, แปลตรงตัว'เมืองของศอเลียะห์') หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัลฮิจญร์ (อาหรับ: ٱلْحِجْر) เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในบริเวณอัลอูลาของแคว้นมะดีนะฮ์ ฮิญาซ ซาอุดีอาระเบีย ซากส่วนใหญ่มาจากสมัยราชอาณาจักรแนบาเทีย (คริสต์ศตวรรษที่ 1)[1] และมีบางส่วนมาจากยุคของลิฮยานและจักรวรรดิโรมัน อีกด้วย

ในอัลกุรอาน[2][3][4][5][6][7][8] ได้กล่าวว่าบริเวณนี้เคยเป็นของเผ่าษะมูดในสมัยของนบีศอเลียะห์ โดยเผ่านี้ถูกอัลลอฮ์ (พระเจ้า) ลงโทษโดยให้เกิดแผ่นดินไหวและฟ้าผ่าในบริเวณนี้ เพราะเผ่านี้หลงไปสักการะรูปปั้น (ซึ่งผิดหลักศาสนาอิสลาม) จึงทำให้บริเวณนี้เป็นพื้นที่ต้องคำสาป

ใน ค.ศ. 2008 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมะดาอินศอเลียะห์เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งแรกของซาอุดีอาระเบีย[9]

ชื่อ

[แก้]

ชื่อของสถานที่นี้มีอยู่หลายชื่อ โดยที่สตราโบและนักเขียนแถบเมดิเตอเรเนียนได้ใช้ชื่อว่าเฮกรา[10] ส่วนชื่อปัจจุบันตั้งตามชื่อของนบี (ศาสดา) ศอเลียะห์ และชื่อ อัลฮิจญร์ ("แดนหิน" หรือ "บริเวณที่มีหิน")[4] ถูกใช้สำหรับภูมิประเทศของที่นี่[11]

ประวัติ

[แก้]

ในอัลกุรอาน

[แก้]

ในช่วงประมาณสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของชาวษะมูด[12] โดยเป็นเผ่าที่สลักหินเป็นที่อยู่อาศัย[2][3][4][5][6][7][8] และเผ่านี้เป็นเผ่าที่ชอบสักการะรูปปั้น และชอบกดขี่[13] นบีศอเลียะห์[2][3][5][6][7][8] (ซึ่งกลายเป็นชื่อของสถานที่นี้ในปัจจุบัน[14]) ได้เรียกให้เผ่าษะมูดขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์[13] แต่พวกเขาปฏิเสธ แล้วท้าให้ศอเลียะห์นำอูฐเพศเมียที่ตั้งท้องออกมาจากภูเขาลูกหนึ่ง และแล้ว อูฐตัวนั้นก็ออกมาตามพระบัญชาของอัลลอฮ์ เพื่อเป็นข้อพิสูจน์ของศอเลียะห์[13][15] แต่อย่างไรก็ตาม มีคนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่เชื่อ ส่วนคนที่ไม่เชื่อได้ลงมือฆ่าอูฐศักดิ์สิทธิ์ (ซึ่งผิดสัญญาตามที่พวกเขาบอกว่าจะรักษาอูฐอย่างดี) และลูกของมันก็วิ่งกลับไปที่ช่องเขาเดิมที่มันมา ชาวษะมูดถูกเตือนให้เตรียมการลงโทษในเวลา 3 วัน และเนื่องจากว่าพวกเขาไม่เชื่อเรื่องการลงโทษ ศอเลียะห์กับผู้ศรัทธาก็ออกจากเมืองนี้ไป ส่วนพวกที่ไม่ออกก็ถูกลงโทษโดยอัลลอฮ์—วิญญาณของพวกเขาออกจากร่างในช่วงที่มีแผ่นดินไหวและฟ้าร้องกัมปนาท[16][13]

สมัยโรมัน

[แก้]

ในปี ค.ศ.106 อาณาจักรนาบาเทียนถูกครอบครองโดยจักรวรรดิโรมัน[17][18] และทำให้แคว้นฮิญาซกลายเป็นจังหวัดอาระเบีย[11]

ประวัติของบริเวณนี้ตั้งแต่จักรวรรดิโรมันล่มสลายจนถึงการมาของศาสนาอิสลาม ยังไม่ทราบแน่ชัด[18] โดยมีบันทึกจากนักเดินทางและผู้แสวงบุญที่เดินทางไปมักกะฮ์เท่านั้น[14] อัลฮิจญร์กลายเป็นสถานีที่ให้สิ่งของและน้ำแก่ผู้ทำฮัจญ์[18] และมีรายงานจากอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ในศตวรรษที่ 14 ว่า บริเวณนี้มีแต่บ้านที่ถูกสลักเป็นที่อยู่อาศัย และไม่มีกิจกรรมของมนุษย์อยู่ตรงนี้[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Marjory Woodfield (21 April 2017). "Saudi Arabia's silent desert city". BBC News.
  2. 2.0 2.1 2.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D73 7 :73–79
  3. 3.0 3.1 3.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D61 11 :61–69
  4. 4.0 4.1 4.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D80 15 :80–84
  5. 5.0 5.1 5.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D141 26 :141–158
  6. 6.0 6.1 6.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D23 54 :23–31
  7. 7.0 7.1 7.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D6 89 :6–13
  8. 8.0 8.1 8.2 อัลกุรอาน %3Averse%3D11 91 :11–15
  9. Centre, UNESCO World Heritage. "Al-Hijr Archaeological Site (Madâin Sâlih)". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-23.
  10. Harrison, Timothy P.. "Ḥijr." Encyclopaedia of the Qurʾān. General Editor: Jane Dammen McAuliffe, Georgetown University, Washington DC. Brill Online, 2016.
  11. 11.0 11.1 11.2 "ICOMOS Evaluation of Al-Hijr Archaeological Site (Madâin Sâlih) World Heritage Nomination" (PDF). World Heritage Center. สืบค้นเมื่อ 2009-09-16.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ creation
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 "HISTORY: Explanation of the Verses". Historical Madain Saleh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.
  14. 14.0 14.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ madain
  15. "Madain Saleh – Cities inhabited by the People of Thamud". สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  16. Hizon, Danny. "Madain Saleh: Arabia's Hidden Treasure – Saudi Arabia". สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
  17. The New Encyclopædia Britannica: Micropædia Volume 8. USA: Encyclopædia Britannica, Inc. 1995. p. 473. ISBN 0-85229-605-3.
  18. 18.0 18.1 18.2 "HISTORY: Fall of Al-Hijr". Historical Madain Saleh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2014-04-07.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "digging" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "britannica-5-809" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "britannica-13-818" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "britannica-13-820" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "britannica-13-840" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "unesco" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "info" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "romans2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "baker" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "arabnews" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

สารานุกรม

[แก้]
  • Abdul Rahman Ansary; Ḥusayn Abu Al-Ḥassān (2001). The civilization of two cities: Al-ʻUlā & Madāʼin Sāliḥ. Riyadh: Dar Al-Qawafil. ISBN 9960-9301-0-6. ISBN 978-9960-9301-0-7
  • Mohammed Babelli (2003). Mada’in Saleh. Riyadh: Desert Publisher. ISBN 978-603-00-2777-4. (I./2003, II./2005, III./2006, IV./2009.)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิดีโอ

[แก้]