ข้ามไปเนื้อหา

มะญูส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะญูส (อาหรับ: مجوس) หรือ แมกูส (เปอร์เซีย: مگوس) เป็นศัพท์ที่เดิมมีความหมายว่าผู้นับถืิอศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยเฉพาะนักบวช[1]

คำนี้เป็นศัพท์ทางเทคนิคสำหรับเมไจ[2][3] และเหมือนกับคำพ้อง แกบร์ (ไม่ทราบที่มาของคำ) ที่ตอนแรกไม่ได้มีควาหมายโดยนัยเชิงดูหมิ่น[4] คำนี้ยังแปลได้ว่า "ผู้บูชาไฟ"[5]

คำนี้ยืมผ่าน อราเมอิกแบบจักรวรรดิ: 𐡌𐡂𐡅𐡔𐡀⁩, อักษรโรมัน: mḡušā จาก เปอร์เซียเก่า: 𐎶𐎦𐎢𐏁, อักษรโรมัน: maguš และยังยืมจากภาษาเปอร์เซียเก่าเข้าสู่ภาษากรีกโบราณ (พหุพจน์ μάγοι mágoi) ซึ่งปรากฏในมัทธิว 2[6] คำนี้ปรากฏในอัลกุรอาน 22:17 ว่า: "แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาชาวยิว และพวกศอบิอีน และพวกนะศอรอ และพวกบูชาไฟ และบรรดาผู้ตั้งภาคี แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงตัดสินใจในระหว่างพวกเขาในวันกิยามะฮ์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง"[7][8]

ชื่อนี้ยังปรากฏในผลงานที่มีชื่อเสียงของอิบน์ อัลเญาซีชื่อ Talbis Iblis ("The Devil's Deceptions")[9] และยังใช้เรียกชาวไวกิงในตอนแรกที่อัลอันดะลุส[10]

ในคริสต์ทศวรรษ 1980 มะญูสเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอิหร่านในสงครามอิรัก–อิหร่านเพื่อใช้เรียกชาวอิหร่าน

เมื่อมีการอ้างถึงชาวอิหร่านในเอกสารเหล่านี้ว่า "มะญูส" หน่วยงานความมั่นคง [สื่อเป็นนัย] ว่าชาวอิหร่าน [ไม่ใช่] มุสลิมที่จริงใจ แต่เป็นผู้ปฏิบัติตามความเชื่อก่อนอิสลามอย่างลับ ๆ ดังนั้น ในมุมมองของพวกเขา สงครามอิรักจึงไม่ใช่เพียงแค่การต่อสู้เพื่อชาตินิยมอาหรับเท่านั้น แต่ยังเป็นการรบในนามของอิสลามอีกด้วย[11]

ปัจจุบันคำว่า มะญูส ในภาษอาหรับมีความแตกต่างจากคำว่ากาฟิร ("ผู้ปฏิเสธศรัทธา") คำว่าแกบร์ในภาษาเปอร์เซียไม่ได้มีความหมายพ้องกับมะญูสอีกต่อไป[4] การใช้คำดังกล่าวโดยชาวมุสลิมนิกายซุนนีต่อนิกายชีอะฮ์ในเวลาต่อมา ทำให้บางคนมองว่าคำดังกล่าวเป็นการต่อต้านนิกายชีอะฮ์[12]

กล่าวกันว่า ศาสนาอิสลามถือว่าชาวอาหรับญาฮิลีมีความใกล้ชิดกับศาสนาฮะนีฟ (ศาสนาอิสลาม) มากกว่าชาวเมไจ (หรือโซโรอัสเตอร์)[13][14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. de Jong, Albert (2010). Curtis, Vesta Sarkhosh; Stewart, Sarah (บ.ก.). Birth of the Persian Empire (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. p. 92. ISBN 978-0-85773-307-8. Most of our evidence for that later history comes from the Sasanian period (224–642 CE). In post-Sasanian Zoroastrian sources, the Pahlavi books, the word mogh (mgw), the Middle Persian descendant of Old Persian magu-, is hardly ever attested. Instead of this generic word, more specific titles are always given; where a generic word is necessary, the word mard, “man”, is used.55 Since many reconstructions of Sasanian history are based on sources from later periods, the existence of the word in Sasanian Iran has sometimes been obscured. It is, however, not only frequently found in non-Iranian Sasanian sources (in Aramaic, Syriac and Greek), but it is also very well attested in the most reliable Iranian sources from the period itself, namely personal seals.56 In fact, the word mogh is a very common word on Sasanian seals and bullae. The word had a long and distinguished career in Islamic Persian poetry (pīr-e moghān etc),57 which shows that it had not disappeared from the common speech of the Persians. The question therefore arises why the Zoroastrians, who formulated their tradition in the 9th century, wanted to get rid of it, but so far no reasonable hypothesis has been suggested for this problem. The only suggestion one can think of that makes sense is the fact that the Aramaic word magūšā and the Arabic majūs were used not just to refer to Persian priests, but to Zoroastrians in general, and that the term came to be felt to be misleading for those who wanted to distinguish themselves as members of the priestly class.
  2. Steingass, Francis Joseph, บ.ก. (1892). "Majūs". A Comprehensive Persian-English dictionary, including the Arabic words and phrases to be met with in Persian literature. London: Routledge & K. Paul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2012. p. 1179.
  3. See also: references to Majus/Magi in academic publications
  4. 4.0 4.1 "Gabr". Encyclopedia Iranica. Vol. 10. Costa Mesa: Mazda. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-08.
  5. Ashton, Nigel John; Gibson, Bryan R. (2013). The Iran-Iraq War: New International Perspectives. Routledge. p. 19. ISBN 978-0-415-68524-5. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
  6. Matthew 2 - biblehub
  7. "Magians - Ontology of Quranic Concepts from the Quranic Arabic Corpus".
  8. Muslim Perceptions of Other Religions: A Historical Survey. Oxford University Press file p. 22 and 218. Jacques Waardenburg (1999). ISBN 0-19-510472-2
  9. Talbis Iblis (The Devil's Deceptions) by Ibn al-Jawzi
  10. Vikings In The South: Voyages To Iberia And The Mediterranean
  11. Al-Marashi, Ibrahim (2000). "The Mindset of Iraq's Security Apparatus". Intelligence and National Security. 18 (3): 5. doi:10.1080/02684520412331306900. S2CID 153691094.
  12. Rumi, Raza (May 2015). "The Prospects for Reform in Islam". Current Trends in Islamist Ideology. 18: 85–103. สืบค้นเมื่อ 3 April 2018.
  13. https://www.sibtayn.com/fa/index.php?option=com_content&view=article&id=80742:majoos-zartosht&catid=2577&Itemid=2324
  14. https://wikiporsesh.ir/%D9%85%D8%AC%D9%88%D8%B3