มอลโทส
α-Maltose
| |
β-Maltose
| |
ชื่อ | |
---|---|
IUPAC name
(3R,4R,5S,6R)-6-(hydroxymethyl)-5-{[(2R,3R,4S,5S,6R)-3,4,5-trihydroxy-6-(hydroxymethyl)oxan-2-yl]oxy}oxane-2,3,4-triol
| |
ชื่ออื่น
4-O-α-D-Glucopyranosyl-D-glucose
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.000.651 |
EC Number |
|
ผับเคม CID
|
|
UNII | |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ[1] | |
C12H22O11 | |
มวลโมเลกุล | 342.297 g·mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | ผงหรือผลึกสีขาว |
ความหนาแน่น | 1.54 g/cm3 |
จุดหลอมเหลว | 160 ถึง 165 องศาเซลเซียส (320 ถึง 329 องศาฟาเรนไฮต์; 433 ถึง 438 เคลวิน) (anhydrous) 102–103 °C (monohydrate) |
1.080 g/mL (20 °C) | |
Chiral rotation [α]D | +140.7° (H2O, c = 10) |
ความอันตราย | |
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | External MSDS |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
ที่เกี่ยวข้อง
|
ซูโครส แลกโตส ทรีฮาโลส เซลโลไบโอส |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
มอลโทส (อังกฤษ: maltose) หรือ มอลโทไบโอส (maltobiose) หรือ น้ำตาลมอลต์ (malt sugar) เป็นน้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมกันของกลูโคสซึ่งเป็นมอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล ลักษณะเป็นของแข็งหรือผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ มีความหวานประมาณ 30% ของซูโครส[2] มอลโทสถูกค้นพบครั้งแรกโดยโอกุสแต็ง-ปีแยร์ ดูบรันโฟ นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1847[3] แต่ไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1872 โดยคอร์นีเลียส โอซุลลิแวน นักเคมีชาวไอริช[4] ชื่อมอลโทสมาจากมอลต์ รวมกับคำปัจจัย -ose ที่บ่งชี้ว่าเป็นน้ำตาล
มอลโทสเป็นไดแซ็กคาไรด์ที่มีสูตรเคมีคือ C12H22O11 เช่นเดียวกับซูโครสและแล็กโทส โดยเกิดจากกลูโคส 2 โมเลกุลจับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกที่ตำแหน่ง α(1→4) หรือคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของกลูโคสโมเลกุลที่หนึ่งกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของกลูโคสโมเลกุลที่สอง[5] มอลโทสยังสามารถแบ่งเป็น α-Maltose และ β-Maltose ตามตำแหน่งหมู่ไฮดรอกซิลที่จับกับกลูโคสโมเลกุลที่สอง[6] มอลโทสมีไอโซเมอร์คือไอโซมอลโทสที่ต่างกันตรงตำแหน่งการจับพันธะ โดยไอโซมอลโทสจับที่ตำแหน่ง α(1→6) นอกจากนี้มอลโทสยังเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ หรือคาร์โบไฮเดรตที่สามารถให้อิเล็กตรอนแก่ตัวออกซิไดซ์เนื่องจากมีหมู่อัลดีไฮด์อิสระในโครงสร้างที่เป็นวงแหวนเปิด[7]
มอลโทสพบในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพดและข้าวบาร์เลย์ นอกจากนี้ยังพบในท้อ แพร์และมันเทศ[8] เมื่อมนุษย์ทานแป้งเข้าไปจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลสได้น้ำตาลหลายชนิดรวมถึงมอลโทส ซึ่งต่อมามอลโทสจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์มอลเทสกลายเป็นกลูโคสและถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Weast, Robert C., บ.ก. (1981). CRC Handbook of Chemistry and Physics (62nd ed.). Boca Raton, FL: CRC Press. p. C-367. ISBN 0-8493-0462-8..
- ↑ Bhagavan, N. V. (2002). Medical Biochemistry. Cambridge, Massachusetts, United States: Academic Press. p. 146. ISBN 9780120954407.
- ↑ Benninga, H. (1990). A History of Lactic Acid Making: A Chapter in the History of Biotechnology. Berlin/Heidelberg, Germany: Springer Science & Business Media. p. 40. ISBN 9780792306252.
- ↑ Fruton, Joseph S (1999). Proteins, Enzymes, Genes: The Interplay of Chemistry and Biology (ภาษาอังกฤษ). Chelsea, Michigan: Yale University Press. p. 144. ISBN 0300153597. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
- ↑ Clugston, Michael; Flemming, Rosalind (2000). Advanced Chemistry. Oxford, England, United Kingdom: Oxford University Press. p. 524. ISBN 9780199146338.
- ↑ "Disaccharides". Chemistry LibreTexts. August 18, 2019. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
- ↑ "Reducing Sugar". Chemistry LibreTexts. June 5, 2019. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
- ↑ Thorpe, Matthew (September 16, 2017). "Maltose: Good or Bad?". Healthline. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
- ↑ Gropper, Sareen S.; Smith, Jack L. (2008). Advanced Nutrition and Human Metabolism. Boston, Massachusetts, United States: Cengage Learning. p. 70. ISBN 9780495116578.