ข้ามไปเนื้อหา

มอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน
มอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน
ภาพปกเวอร์ชันเพลย์สเตชัน 2 ของทวีปอเมริกาเหนือที่นำเสนอโอนากะ
ผู้พัฒนามิดเวย์เกมส์[a]
ผู้จัดจำหน่ายมิดเวย์
กำกับเอ็ด บูน
อำนวยการผลิตจอห์น พอดลาเสก
ออกแบบเอ็ด บูน
เปาโล การ์เซีย
ไบรอัน เลอแบรอน
ศิลปินสตีฟ เบเรน
มาร์ติน สตอลต์ซ
แพฟ โคแวชิช
เขียนบทจอห์น โวเกิล
จอน กรีนเบิร์ก
อเล็กแซนเดอร์ แบร์เรนไทน์
ไบรอัน ชาร์ด
แต่งเพลงแดน ฟอร์เดน
เชส แอชเบเคอร์
ริช คาร์ล
ไบรอัน ชาร์ด
ชุดมอร์ทัลคอมแบต
เอนจินเรนเดอร์แวร์
เครื่องเล่น
วางจำหน่ายเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์
เกมคิวบ์
อันเชนด์
เพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล
แนวต่อสู้
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น

มอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน (อังกฤษ: Mortal Kombat: Deception) เป็นเกมต่อสู้ ค.ศ. 2004 ที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทมิดเวย์ โดยเป็นภาคหลักลำดับที่หกของแฟรนไชส์มอร์ทัลคอมแบต และเป็นภาคต่อของมอร์ทัลคอมแบต: เดดลีอัลไลแอนซ์ ที่เปิดตัวใน ค.ศ. 2002 เกมดังกล่าววางจำหน่ายสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 และเอกซ์บอกซ์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004, สำหรับเกมคิวบ์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2005 รวมถึงต่อมาได้มีการพอร์ตไปยังเครื่องเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ภายใต้ชื่อมอร์ทัลคอมแบต: อันเชนด์ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ซึ่งมอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน เป็นเรื่องราวต่อจากภาคห้าที่ชื่อเดดลีอัลไลแอนซ์ เรื่องราวของเกมนี้มุ่งเน้นไปที่การฟื้นคืนชีพของราชามังกรที่ชื่อโอนากะผู้พยายามที่จะยึดครองอาณาจักรต่าง ๆ ตามเนื้อเรื่องในซีรีส์ หลังจากเอากำจัดหมอผีอย่างฉวนชือและช่างจง ที่เป็นศัตรูหลักในภาคก่อน รวมถึงเทพเจ้าสายฟ้าอย่างไรเดน ผู้ปกป้องเอิร์ธเรล์มได้ โดยเหล่านักรบที่รอดชีวิตจากภาคก่อนร่วมมือกันเพื่อเผชิญหน้ากับโอนากะ

เกมนี้มีตัวละครทั้งหมดยี่สิบหกตัวที่สามารถเล่นได้ โดยมีเก้าตัวที่ปรากฏตัวครั้งแรกในภาคนี้ ภาคดีเซปชันนำเสนอคุณสมบัติใหม่หลายอย่างในซีรีส์ เช่น เกมหมากรุกและเกมปริศนาที่มีตัวละครมอร์ทัลคอมแบต ตลอดจนโหมดออนไลน์ ส่วนโหมดคอนเควสต์กลับมาจากภาคเดดลีอัลไลแอนซ์ แต่ติดตามชีวิตของชูจิงโก ซึ่งเป็นนักรบที่ถูกโอนากะหลอกให้ค้นหาวัตถุที่จะมอบพลังให้แก่โอนากะมากขึ้น โหมดคอนเควสต์ของภาคดีเซปชันแตกต่างอย่างมากจากโหมดคอนเควสต์ของภาคเดดลีอัลไลแอนซ์ โดยการที่มีองค์ประกอบของการสำรวจโอเพนเวิลด์ในระหว่างการดำเนินเรื่อง แทนที่จะเป็นคอมแบตทาวเวอร์ของภาคเดดลีอัลไลแอนซ์

เอ็ด บูน ผู้ร่วมสร้างซีรีส์ได้ออกแบบภาคดีเซปชันให้เป็นเกมต่อสู้ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น มินิเกมเป็นเซอร์ไพรส์เช่นกัน ส่วนต่าง ๆ หลายส่วนจากภาคเดดลีอัลไลแอนซ์ เช่น คอมโบและสนามประลองได้รับการออกแบบใหม่ให้สมจริงมากขึ้นและยังโต้ตอบได้มากขึ้น ภาคดีเซปชันได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักวิจารณ์วิดีโอเกม ซึ่งชื่นชมการต่อสู้และคุณสมบัติใหม่ อย่างไรก็ตาม โหมดคอนเควสต์ได้รับการติเตียนถึงการพากย์เสียงที่แย่ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับระบุว่ามอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน เป็นเกมต่อสู้ที่ดีที่สุดแห่ง ค.ศ. 2004

รูปแบบการเล่น

[แก้]
ภาพจับหน้าจอการต่อสู้ระหว่างเค็นชิและมิลีนา

สมรภูมิของเกมนี้จะคล้ายกับสมรภูมิของมอร์ทัลคอมแบต: เดดลีอัลไลแอนซ์ แต่มีคุณสมบัติใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา โดยบางตัวละครมีอาวุธที่สามารถหยิบมาใช้ได้ นอกจากนี้มีการแตกแขนงฉากออกไป ซึ่งหมายความว่าผู้เล่นสามารถกระแทกคู่ต่อสู้ออกจากพื้นที่การต่อสู้ในสถานที่บางแห่ง แล้วดำเนินการต่อสู้ต่อในพื้นที่ใหม่ได้ โดยช่วงดังกล่าวในเกือบทุกด่านจะมีกับดักมรณะ ซึ่งจะสังหารผู้เล่นที่โดนกับดักนั้นทันที เกมภาคนี้ยังเปิดตัว "คอมโบเบรกเคอร์" (Combo Breaker) ซึ่งเป็นระบบที่ผู้เล่นสามารถหยุดคอมโบได้สูงสุดสามครั้งต่อแมตช์[1] และตรงกันข้ามกับภาคเดดลีอัลไลแอนซ์ ที่บรรดาตัวละครมีฟาแทลลิตีเพียงครั้งเดียว ส่วนบรรดาตัวละครภาคดีเซปชันมีฟาแทลลิตีสองครั้งและมีท่าฆ่าตัวตายแบบฮารากิริ โดยอย่างหลังนี้ใช้เมื่อมีวลี "ฟินิชฮีม/เฮอร์" ปรากฏบนหน้าจอและผู้เล่นกำลังจะแพ้[2]

ภาคดีเซปชันนำเสนอมินิเกมสองเกมที่ใช้ตัวละครมอร์ทัลคอมแบตได้แก่ "เชสคอมแบต" (Chess Kombat) และ "พัซเซิลคอมแบต" (Puzzle Kombat) ส่วนโหมดคอนเควสต์ได้กลับมาอีกครั้ง แต่ได้รับการขยายให้กลายเป็นเกมผจญภัยแบบเร่ร่อนที่มีเนื้อเรื่องเป็นของตัวเอง

"คริปต์" (Krypt) ได้กลับมาจากมอร์ทัลคอมแบต: เดดลีอัลไลแอนซ์ และทำหน้าที่เป็นส่วนต่อประสานสำหรับเข้าถึงคอนเทนต์พิเศษที่ซ่อนอยู่ใน "คอฟฟินส์" (ในเกมได้จงใจสะกดผิดเป็น koffins โดยเป็นเครื่องหมายการค้าของซีรีส์นี้ ที่ตามความเป็นจริงต้องสะกดว่า coffins ซึ่งหมายถึงโลงศพ) โดยภาคดีเซปชัน ขอบเขตของคริปต์ลดลงจาก 676 คอฟฟินส์ (โลงศพ) เหลือ 400 คอฟฟินส์ และคอฟฟินส์บางโลงมีแม่กุญแจที่ต้องใช้ซึ่งหาได้ในโหมดคอนเควสต์เท่านั้น ทั้งนี้ คริปต์ในเกมมอร์ทัลคอมแบต: ดีเซปชัน ประกอบด้วยตัวละครโบนัสจำนวนสิบสองตัว (ซึ่งในเวอร์ชันเกมคิวบ์ถูกตัดเหลือเพียงหกตัว)[3]

โหมดคอนเควสต์

[แก้]
ชูจิงโกในวัยหนุ่มได้พบกับคาโบลในโหมดคอนเควสต์ซึ่งเป็นเกมแอ็กชันผจญภัย

โหมดฝึกฝนรูปแบบเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาทของภาคเดดลีอัลไลแอนซ์ที่เรียกว่า "คอนเควสต์" (Konquest) ได้กลับมาอีกครั้งในภาคดีเซปชัน และได้รับการขยายอย่างมากจากเวอร์ชันก่อนหน้า โหมดคอนเควสต์ของภาคดีเซปชันเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ในเกมหลัก โดยจะสำรวจประวัติของชูจิงโก ซึ่งเริ่มก่อนที่เขาจะฝึกกับโบ ไร โช และจบลงที่จุดเริ่มต้นของเนื้อเรื่องหลักภาคดีเซปชัน ที่แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเกมผจญภัย แต่องค์ประกอบการต่อสู้จะเกิดขึ้นในโหมดต่อสู้ภาคดีเซปชันปกติ ส่วนการฝึกการเคลื่อนไหวของตัวละครแต่ละตัวให้เชี่ยวชาญนั้นเป็นเพียงภารกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น และไม่จำเป็นต้องชนะตัวละครทั้งหมดเพื่อชนะโหมดเกมนี้อีกต่อไป ในคอนเควสต์นี้ ชูจิงโกวัยหนุ่มได้พบกับดามาชิ สิ่งมีชีวิตที่ขอความช่วยเหลือในการรวบรวมไอเทมทรงพลังหกชิ้นซึ่งเรียกว่าคามิโดกุ เพื่อส่งให้แก่พวกเอลเดอร์ก็อด ครั้นเมื่อเขาเก็บรวบรวมคามิโดกุทั้งหกชิ้นเสร็จ ชูจิงโกก็เป็นชายชราแล้ว ซึ่งใช้เวลาสี่สิบหกปีในการปฏิบัติภารกิจของเขา อย่างไรก็ตาม ดามาชิกลับถูกเปิดเผยว่าเป็นราชามังกรแห่งความชั่วร้ายที่ชื่อโอนากะ ผู้ซึ่งหลอกชูจิงโกเพื่อให้ได้คามิโดกุทั้งหกมา ทั้งนี้ ผู้เล่นที่ต้องการปลดล็อกเนื้อหาโบนัสส่วนใหญ่ในภาคดีเซปชันจะต้องเล่นผ่านโหมดคอนเควสต์ และแม้ว่าจะจบโหมดดังกล่าวแล้ว แต่ผู้เล่นยังสามารถสำรวจโลกต่อไปเพื่อปลดล็อกไอเทมเพิ่มเติมได้[4]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. บริษัทจัสต์เกมอินเตอร์แอกทีฟได้พอร์ตเกมนี้ไปยังเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kombat tips". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2009. สืบค้นเมื่อ February 16, 2009.
  2. "Mortal Kombat: Deception Video Tour". GameSpot. July 22, 2004. สืบค้นเมื่อ February 17, 2009.[ลิงก์เสีย]
  3. "Krypt guide". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2009. สืบค้นเมื่อ February 16, 2009.
  4. "Konquest guide". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2009. สืบค้นเมื่อ February 16, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]