มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (วัลเลตตา)
มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล | |
---|---|
Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu | |
โดมของมหาวิหารท่ามกลางทิวนครวัลเลตตา | |
35°54′0.7″N 14°30′44.2″E / 35.900194°N 14.512278°E | |
ที่ตั้ง | วัลเลตตา ประเทศมอลตา |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
นักบวชประจำ | คณะคาร์แมล |
ประวัติ | |
สถานะ | มหาวิหารน้อย |
ก่อตั้ง | 1570 |
อุทิศแก่ | แม่พระแห่งเขาคาร์แมล |
เสกเมื่อ | 6 เมษายน 1886 |
สถาปัตยกรรม | |
สถานะการใช้งาน | เปิด |
สถาปนิก | Girolamo Cassar (หลังเดิม) Giuseppe Bonavia (ฟาซาด) Ġużè Damato (หลังปัจจุบัน) |
รูปแบบสถาปัตย์ | นีโอคลาสสิก |
ปีสร้าง | ป. 1570–1591/1608 (หลังเดิม) 1852 (ฟาซาด) 1958–1981 (หลังปัจจุบัน) |
โครงสร้าง | |
จำนวนโดม | 1 |
จำนวนหอคอย | 1 |
วัสดุ | หินปูน |
การปกครอง | |
แพริช | นักบุญดอมินิก วัลเลตตา |
อัครมุขมณฑล | มอลตา |
นักบวช | |
Rector | Alex Scerri |
มหาวิหารแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล (มอลตา: Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu; อังกฤษ: Basilica of Our Lady of Mount Carmel) เป็นมหาวิหารน้อยในนิกายโรมันคาทอลิกคณะคาร์แมล อุทิศแด่แม่พระแห่งเขาคาร์แมล มหาวิหารตั้งอยู่ในเมืองวัลเลตตา ประเทศมอลตา เป็นหนึ่งในโบสถ์คริสต์ที่สำคัญของเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งมรดกโลกยูเนสโก โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1958 และเสร็จในปี 1981 ตรงจุดที่โบสถ์หลังเดิมที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 ถูกระเบิดเสียหายระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
ประวัติศาสตร์
[แก้]คณะคาร์แมลมีอยู่ในมอลตามาตั้งแต่อย่างน้อยปี 1418[1] และคณะได้ตั้งโบสถ์และคอนเวนต์ขึ้นไม่นานหลังตั้งนครวัลเตตาในปี 1566 แกรนด์มาสเตอร์แห่งคณะบริบาล Pierre de Monte เป็นผู้มอบที่ดินให้แก่คณะคาร์แมลในวันที่ 27 กรกฎาคม 1570[2]
โบสถ์หลังเดิมสร้างขึ้นหัลงพระราชาคณะคาร์แมล (Carmelite vicar) Ġwann Vella ว่าจ้างให้สถาปนิก Girolamo Cassar ออกแบบโบสถ์ ระหว่างก่อสร้าง ได้ให้พิธีมิสซาจัดในโบสถ์น้อยที่เป็นโบสถ์ประจำเชตแรกของวัลเลตตาแทน[1] ที่ซึ่งต่อมารวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งในเขตสังฆมณฑลซากเรือนักบุญเปาโล[3] โบสถ์หลังที่ Cassar ออกแบบสร้างแล้วเสร็จในปี 1591[4] หรือ 1608[1]
ในปี 1852 ได้มีการสร้างผาซาดขึ้นใหม่ตามงานออกแบบโดย Giuseppe Bonavia[5] และมีการแก้ไขบางจุดของโบสถ์ในเวลาเดียวกันนี้ องค์ประธาน (altarpiece) ของโบสถ์ได้รับการประดับมงกุฏโดย Carmelo Scicluna ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1881[4] และในวันที่ 6 เมษายน 1886 ได้ประกอบพิธีเสก (consecrated) โดย Apostolic Administrator Antonio Maria Buhagiar ต่อในวันที่ 13 พฤษภาคม 1895 พระสันตะปาปาลีโอที่สิบสามได้ประทานสถานะของโบสถ์เป็นมหาวิหารน้อย[1] โบสถ์หลังนี้ถูกทำลายเสียหายในวันที่ 4 มีนาคม 1942 หลังถูกระเบิดท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สอง คณะสงฆ์คาร์แมลได้ตัดสินใจทำลายซากที่เหลือทั้งหมดและสร้างหลังใหม่ขึ้นแทน[1] โบราณวัตถุและศิลปกรรมจำนวนหนึ่งสูญหายหรือถูกทำลายไปในเวลาเดียวกัน[6] กระนั้นก็ยังมีองค์ประกอบบางส่วนจากโบสถ์หลังเดิมที่นำมาประกอบในโบสถ์หลังใหม่[7]
โบสถ์หลังปัจจุบันสร้างขึ้นตามงานออกแบบของสถาปนิก Ġużè Damato เริ่มก่อสร้างในวันที่ 30 เมษายน 1958 ที่ซึ่งประกอบพิธีเสกศิลาฤกษ์โดย Prior General อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 15 มิถุนายน 1981 และประกอบพิธีเสกโดย Prior Provincial Manwel Gatt[1] โดมของโบสถ์สูงกว่าหอระฆังของอาสนวิหารนักบุญเปาโล ของนิกายอังกลิคันที่อยู่ติดกัน อยู่เล็กน้อย[8] ว่ากันว่าเป็นการจงใจออกแบบเช่นนี้เพื่อแข่งกัน[7] ภายในของโบสถ์เป้นผลงานประติมากรรมโดย Joseph Damato ที่รังสรรค์ขึ้นในเวลา 19 ปี[8]
ศิลปกรรม
[แก้]องค์ประธาน (altarpiece) ของโบสถ์เป็นภาพเขียนแสดงพระนางมารีย์พรหมจารีย์ ทรงอุ้มพระบุตร พระเยซู ห้อมล้อมด้วยนักบุญซีโมน สต็อก และ อากาธาแห่งซิซิลี[a] ไม่ทราบแน่ขัดว่าศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานคือใคร แต่เขื่อส่ามีอายุราวปลายศตวรรษที่ 16 เป็นอย่างน้อย บ้างเชื่อว่าเป็นผลงานของ Filippo Paladini ข้อมูลบางแหล่งอ้างว่าคณะคาร์แมลได้งานขิ้นนี้มาจากซิซิลีตั้งแต่สมัยก่อสร้างโสถ์หลังเดิม ภาพวาดได้รับการบูรณะโดย Paul Cuschieri ในปี 1856, โดย Samwel Bugeja ในปี 1978 และโดย Godwin Cutajar ในศตวรรษที่ 21[4]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แหล่งข้อมูลจากศตวรรษที่ 18 และ 19 ระบุว่าในภาพเขียนยังแสดงภาพของนักบุญลูซี กระนั้นไม่ปรากฏให้เห็นนักบุญลูซีในภาพปัจจุบัน เข้าใจกันว่าเลือนไปขณะการบูรณะภาพเขียนในปี 1856[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Duncan, Hermann (19 September 2016). "The Church of Our Lady of Mount Carmel in Valletta". The Malta Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ Galea, Michael (15 July 2022). "The Knights of St John and the Carmelite church in Valletta". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022.
- ↑ "Santwarju Bażilika tal-Madonna tal-Karmnu (Patrijiet Karmelitani)". Archdiocese of Malta (ภาษามอลตา). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Duncan, Hermann (21 August 2016). "The painting of Our Lady of Mount Carmel in Valletta". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ Thake, Conrad (2016). "Giuseppe Bonavia (1821–1885): a Maltese architect with the Royal Engineers". At Home in Art: Essays in Honour of Mario Buhagiar (PDF). pp. 432–443, 487–490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 May 2022.
- ↑ Bonello, Giovanni (23 August 2015). "Caterina Scappi and her revolutionary hospital for women who were incurable". Times of Malta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 7.0 7.1 Hoe, Susanna (2015). "17 – Valletta". Malta: Women, History, Books and Places (PDF). Oxford: HOLO Books. p. 365. ISBN 9780957215351. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 April 2022.
- ↑ 8.0 8.1 "Building one of Malta's most iconic landmarks". Malta Audio Visual Memories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022.