ข้ามไปเนื้อหา

มหาวิทยาลัยมุมไบ

พิกัด: 18°58′30″N 72°49′33″E / 18.97500°N 72.82583°E / 18.97500; 72.82583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยมุมไบ
University of Mumbai
Mumbaī Vidyapīṭha
หอนาฬิการาชาภาอี
หอนาฬิการาชา ภาอี (Rajabhai Clock Tower) สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยบอมเบย์ (University of Bombay)
ประเภทรัฐบาล
สถาปนา18 กรกฎาคม 1857; 167 ปีก่อน (1857-07-18)
ผู้สถาปนาจอห์น วิลเซิน
อธิการบดีราชปาลรัฐมหาราษฏระ
รองอธิการบดีSuhas Pednekar[1]
ผู้ศึกษา7,579[2]
ปริญญาตรี1,459[2]
บัณฑิตศึกษา5,638[2]
ที่ตั้ง, ,
18°58′30″N 72°49′33″E / 18.97500°N 72.82583°E / 18.97500; 72.82583
วิทยาเขตเมือง
สี  สีน้ำเงิน
เครือข่ายUGC, NAAC, AIU
เว็บไซต์mu.ac.in

มหาวิทยาลัยมุมไบ (อังกฤษ: University of Mumbai, ชื่อไม่ทางกางการ: Mumbai University) อักษรย่อ MU หรือชื่อเดิมมหาวิทยลัยบอมเบย์ (อังกฤษ: University of Bombay) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลประจำรัฐชนิดเชิงวิทยาลัย (collegiate) ที่ตั้งอยู่ในมุมไบ รัฐมหาราษฏระ เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอก เช่นเดียวกับอนุปริญญาและการสอนรับรองวิทยฐานะ โดยมีการเรียนการสอนในหลายสาขา เช่น ศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์ การเรียนการสอนในหลักสูตรส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ

มหาวิทยาลัยมุมไบก่อตั้งขึ้นในปี 1857 และมีสองวิทยาเขตอยู่ในมุมไบ (วิทยาเขตกาลีนา-Kalina และวิทยาเขตฟอร์ต-Fort) อีกสองวิทยาเขตอยู่นอกมุมไบ หนึ่งในนั้นคืออนุวิทยาเขตฐาเน (Thane Sub Campus) โดยวิทยาเขตฟอร์ต (Fort) นั้นมีไว้สำหรับงานบริหารจัดการและธุรการเท่านั้น ในปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งในมุมไบที่เคยขึ้นต่อหรือเกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยได้แยกออกไปเป็นสถาบันหรือหน่วยงานของตนเอง มหาวิทยาลัยมุมไบเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3] และมีวิทยาลัยร่วมรวมแล้ว (affiliated college) จำนวน 711 สถาบัน (ปี 2013)[4]

ประวัติ

[แก้]

ใน "วู้ดส์ เดสพาทช์" (Wood's despatch) ซึ่งร่างโดยเซอร์ชารลส์ วู้ด (Sir Charles Wood) ในปี 1854 ได้ระบุว่ามหาวิทยาลัยบอมเบย์ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1857 หลังการฎีกาโดยสมาคมบอมเบย์ (Bombay Association) ไปยังรัฐบาลบริเตนในขณะนั้น[5] โดยถอดแบบมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยลอนดอน[5]: 188 

สาขาวิชาแรกที่เปิดสอนคือคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Arts) ที่วิทยาลัยเอลเฟ็นสเทิน (Elphinstone College) ในปี 1835 และตามด้วยคณะแพทยศาสตร์ที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรานท์ (Grant Medical College) ในปี 1845[5] ทั้งสองวิทยาลัยนี้ตั้งมาก่อนที่มหาวิทยาลัยบอมเบย์จะเกิดขึ้น แต่ท้ายที่สุดก็ได้เข้าร่วมกับมหาวิทยาลัย และส่งมอบสิทธิ์ในการออกปริญญาให้เป็นของมหาวิทยาลัยบอมเบย์หลังการก่อตั้ง ปริญญาแรกของมหาวิทยาลัยได้มอบให้ในปี 1862 สำหรับปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Arts) และปริญญาใบประกอบวิชาชีพทางแพทยศาสตร์ (Licentiate in Medicine)[5] ในตอนแรกนั้นสำนักงานของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่ศาลากลางมุมไบ

บัณฑิตหญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยบอมเบย์คือ Cornelia Sorabji ในปี 1888 ก่อนที่เธอจะไปศึกษาต่อด้านนิติศาสตร์ที่ วิทยาลัยซัมเมอร์วิลล์ (Somerville College) ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ที่ซึ่งเธอเป็นนักศึกษานิติศาสตร์หญิงคนแรกของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด หลังจบการศึกษาเธอประกอบอาชีพทนาย และเป็นทนายผู้หญิงคนแรกของประเทศอินเดีย[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Hon'ble Vice Chancellor". mu.ac.in. Mumbai University. 22 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
  2. 2.0 2.1 2.2 "University Student Enrollment Details". www.ugc.ac.in. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
  3. "Mumbai University records 60% rise in students" : DNA – Daily News and Analysis newspaper article, Monday, 21 March 2011.
  4. With 811 colleges, Pune varsity 2nd largest in country The Times of India newspaper article : 4 November 2013
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Aroon Tikekar (2006). The Cloister's Pale: A Biography of the University of Mumbai (2nd ed.). Mumbai: Popular Prakashan. ISBN 978-81-7991-293-5.
  6. First lady – Moneylife เก็บถาวร 22 กุมภาพันธ์ 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. "University strengthens ties with India". Cherwell. 13 December 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2014.