ข้ามไปเนื้อหา

มหาประติมากรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาฮูทองการิคีบนเกาะอีสเตอร์ ซึ่งเป็นรูปสลักหินโมอาย 15 รูปที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในคริสต์ทศวรรษ 1990

มหาประติมากรรม (อังกฤษ: Monumental sculpture) เป็นคำที่มักจะใช้ในประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและการวิพากษ์งานศิลปะ แต่ยังเป็นความหมายที่ยังไม่ลงตัว มหาประติมากรรมรวมแนวคิดสองอย่างๆ หนึ่งคือการใช้สอย และ อีกอย่างหนึ่งคือขนาด และอาจจะรวมแนวคิดที่สามที่เป็นแนวคิดเชิงอัตวิสัย มหาประติมากรรมจะใช้กับประติมากรรมทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ รูปคนที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของคนจริงขึ้นไปก็ถือกันว่าเป็นมหาประติมากรรมตามทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ศิลป์[1] และศิลปะร่วมสมัยก็ใช้สำหรับขนาดทั้งหมดของงานประติมากรรม ฉะนั้นมหาประติมากรรมจึงต่างจากจุลประติมากรรม, งานโลหะขนาดเล็ก, งานแกะสลักงาช้าง, บานพับภาพสองหรืองานในทำนองเดียวกัน

นอกจากนั้นมหาประติมากรรมเป็นคำที่ใช้สำหรับการสร้างหรือส่วนประกอบของอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รวมทั้งหัวเสา, งานแกะนูนที่ติดกับผนังของสิ่งก่อสร้างจึงรวมอยู่ในบริบทนี้ด้วย แม้ว่าอาจจะเป็นงานชิ้นที่ไม่ใหญ่นัก ประโยชน์การใช้สอยของอนุสาวรีย์ก็เพื่อเป็นการระบุที่หมายของที่ฝังศพ หรือสำหรับเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือเป็นสิ่งที่ใช้ในการแสดงอำนาจของประมุขของประชาคม ทั้งนี้ก็รวมทั้งอนุสรณ์สถานของศาสนสถาน

แนวคิดที่สามอาจจะเจาะจงเฉพาะงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง คำอธิบายของคำว่า “Monumental” ใน “A Dictionary of Art and Artists” โดย ปีเตอร์ และ ลินดา เมอร์เรย์ให้คำจำกัดความไว้ว่า[2]:

เป็นคำที่ใช้กันจนเกินควรในประวัติศาสตร์ศิลป์ปัจจุบัน และ การวิพากษ์ จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะสื่อทัศนคติเกี่ยวกับงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง หรือ องค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่, สง่า และ ยกระดับความคิด, ง่ายต่อการออกแบบและการสร้าง, โดยไม่เป็นการแสดงความโอ่อ่า แต่เป็นการพยายามสร้างงานที่มีความเป็นถาวรภาพ และ เป็นงานสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ ...ซึ่งมิใช้คำพ้องกับคำว่า 'ใหญ่'

อ้างอิง

[แก้]
  1. For example, none of the figures in sculptures at the Santo Domingo de Silos Abbey are larger than this, and they are described by Meyer Schapiro as "one of the largest groups of monumental carving in Spanish Romanesque art". Schapiro, 29
  2. Revised edition, Penguin, 1968