มวลสารพอก
หน้าตา
มวลสารพอก คือมวลวัตถุ หรือแร่ที่จับตัวกันแน่นและแข็ง เป็นรูปทรงกลม แต่ที่พบทั่วไปมักเป็นรูปกลมรี รูปกลมแบน หรือรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากการจับตัวกันของสารเหลว หรือการตกผลึกของสารละลายรอบๆจุด หรืออนุภาค เช่น ใบไม้ กระดูก เปลือกหอย หรือซากดึกดำบรรพ์ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ภายในรูหรือโพรงของชั้นหิน หรือภายในเศษชิ้นส่วนภูเขาไฟ
โดยทั่วไปส่วนประกอบของซิลิกา (เชิร์ต) แคลไซต์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ไพไรต์ ยิปซัม มีขนาดตั้งแต่ เม็ดกรวดเล็กๆ ไปจนถึงรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ส่วนมากเกิดในช่วงที่หินมีการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) แต่ที่เกิดทันทีหลังจากตกตะกอน (โดยเฉพาะในหินปูน และหินดินดาน) ก็มีมากเช่นกัน
อ้างอิง
[แก้]- พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา พ.ศ. 2530
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มวลสารพอก