มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 2254
ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติที่ 2254 | ||
---|---|---|
วันที่ | 18 ธันวาคม 2015 | |
การประชุม ครั้งที่ | 7588 | |
รหัส | S/RES/2254 ((2015) เอกสาร) | |
เรื่อง | แผนที่เส้นทางสู่สันติภาพในซีเรีย | |
สรุปการลงคะแนนเสียง |
| |
ผล | ได้รับการรับรองเป็นเอกฉันท์ | |
องค์ประกอบคณะมนตรีความมั่นคง | ||
สมาชิกถาวร | ||
สมาชิกไม่ถาวร | ||
|
มติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 2254 ได้รับการรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2015 โดยเรียกร้องให้มีการหยุดยิงและการแก้ปัญหาทางการเมืองในซีเรีย[2] เอกสารฉบับนี้ได้กำหนดแผนงานสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของซีเรีย[3] อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเมื่อ 2024[update] ยังไม่มีความคืบหน้าที่แท้จริงในการดำเนินการตามมตินี้[4] การเจรจาได้หยุดชะงักเนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ในสถานที่จัดการเจรจา หลังจากที่การเจรจาก่อนหน้าเกิดขึ้นในเจนีวา โดยมีปัญหาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับประเทศเจ้าภาพ ในเดือนธันวาคม 2024 รัฐบาลของงอัลอะซัดถูกโค่นล้ม ท่ามกลางการรุกคืบของฝ่ายต่อต้าน
มติ
[แก้]มติดังกล่าว "เรียกร้อง" ให้ทุกฝ่ายยุติการโจมตีเป้าหมายพลเรือนในทันที, "กระตุ้น" ให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดสนับสนุนความพยายามในการบรรลุการหยุดยิง, และ "ขอ" ให้สหประชาชาติจัดการประชุมระหว่างคู่ขัดแย้งเพื่อเริ่มการเจรจาอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนมกราคม 2016
กลุ่มที่ถูกมองว่าเป็น "กลุ่มก่อการร้าย" โดย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวมถึง รัฐอิสลามในอิรักและลิแวนต์ และ แนวร่วมอัลนุสรา จะถูกยกเว้นจากกระบวนการดังกล่าว การดำเนินการเชิงรุกและป้องกันต่อกลุ่มเหล่านี้จะดำเนินต่อไป และจะมีการจัดตั้งกลไกเพื่อติดตามการหยุดยิง[2]
ภายในระยะเวลา 18 เดือน จะมีการจัดการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ โดยกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจะต้องนำโดยชาวซีเรียเอง[2]
ผลกระทบ
[แก้]มติที่ 2254 ของสหประชาชาติถูกอ้างถึงโดย อิหร่าน, รัสเซีย และ ตุรกี ในฐานะพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับกระบวนการทางการเมืองที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้งในซีเรีย ระหว่างการเจรจา อัสตานา รอบแรก ในเดือนมกราคม 2017[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Security Council Unanimously Adopts Resolution 2254 (2015), Endorsing Road Map for Peace Process in Syria, Setting Timetable for Talk s" (Press release). U.N . 18 December 2015.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Syria war: UN Security Council unanimously backs peace plan". BBC News. 18 December 2015.
- ↑ sra Kaymak Avci (2 August 2016). "US blames Russia backed-Assad for failed Geneva talks". Anadolu Agency.
- ↑ "United Nations Special Envoy for Syria Geir O. Pedersen, Briefing to the Security Council on Syria, 29 August 2022" (Press release).
- "Syrian constitutional reform body seeking breakthrough, Security Council hears". UN News. 24 March 2022.
- "After 12 years of blood, Assad's Syria rejoins the Arab League". The Economist. 9 May 2023. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 9 May 2023. - ↑ "Astana joint statement by Iran, Russia, Turkey: in full". Al Jazeera. 24 January 2017.