มงกุฎนกเรเวน
มงกุฎนกเรเวน (ซองคา: དབུ་ཞྭ་བྱ་རོག་ཅན་; ไวลี: dbu-zhva bya-rog-can)[1] เป็นมงกุฎที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ภูฏาน เป็นพระมาลาที่มีส่วนบนเป็นนกเรเวน
ประวัติศาสตร์
[แก้]ระบอบราชาธิปไตยแบบสืบราชสันตติวงศ์ของราชวงศ์วังชุก ในรัฐภูฏานซึ่งตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1907 พระมหากษัตริย์พระองค์แรกคือ กงซาร์ อุกเยน วังชุก (ต.ศ. 1862 - 1926) เป็นบุคคลผู้โดดเด่นซึ่งก้าวเข้ามามีอำนาจหลังสภาพความขัดแย้งที่ไม่หยุดหย่อนและความซับซ้อนในรัฐนักรบที่วุ่นวายนี้
พระองค์ทรงรับเอาสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์ เป็นมงกุฎผ้าซาตินและไหมประดับด้วยหัวนกเรเวนเบื้องบนเป็นการแสดงถึงอำนาจ[2] นกเป็นสัญลักษณ์ของเทพมหากาฬ ซึ่งเป็นเทพผู้อุปถัมภ์ภูฏาน ต้นแบบของมงกุฎนกเรเวนได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในฐานะหมวดสวมเพื่อสู้รบของพระราชบิดาของพระองค์ คือ จิกมี นัมเกล (ค.ศ. 1825 - 1881) จิกมี นัมเกลได้รับสมญานามว่า "ผู้สำเร็จราชการดำ" เขาได้สวมหมวกนี้ในการสู้รบที่นองเลือดกับศัตรูของเขาภายในประเทศ และต่อต้านกองทัพอังกฤษ ซึ่งอังกฤษปราบปรามเขาไม่สำเร็จ
เรื่องราวความรุ่งเรืองและชัยชนะของราชวงศ์วังชุกโดดเด่นออกจากภาพความโกลาหลและความวุ่นวายนำมาสู่สันติภาพและความมั่นคง
มงกุฎนกเรเวนในทุกวันนี้เป็นมงกุฎที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ภูฏานอย่างเป็นทางการ นกเรเวนเป็นนกประจำชาติภูฏาน และผู้คนท้องถิ่นเรียกนกเรเวนว่า จาร็อค (Jaroq) ครั้งหนึ่งเคยมีกฎหมายว่าการฆ่านกเรเวนถือเป็นอาชญากรรมในภูฏาน
รายพระนามพระมหากษัตริย์ภูฏาน
[แก้]- สมเด็จพระราชาธิบดีอุกเยน วังชุก
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี วังชุก
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ดอร์จี วังชุก
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก
- สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Olschak, Blanche Christine (1979). "Ancient Bhutan: a study on early Buddhism in the Himâlayas". Swiss Foundation for Alpine Research. p. 37. สืบค้นเมื่อ 2011-02-12.
- ↑ Bhutan celebrates coronation of new king
ดูเพิ่ม
[แก้]- Aris, Michael (2005). Raven Crown: The Origins of Buddhist Monarchy in Bhutan. Chicago: Serindia Publications. ISBN 978-1-932476-21-7.