ภูเขาไฟเอร์ทาเล
เอร์ทาเล | |
---|---|
ภูเขาไฟเอร์ทาเล (พฤษภาคม 2551) | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 613 เมตร (2,011 ฟุต) [1] |
รายชื่อ | รายชื่อภูเขาไฟในประเทศเอธิโอเปีย |
พิกัด | 13°36′N 40°40′E / 13.600°N 40.667°E [2] |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
เทือกเขา | เทือกเขาอาฟาร์ |
ข้อมูลทางธรณีวิทยา | |
ประเภทภูเขา | ภูเขาไฟรูปโล่ |
การปะทุครั้งล่าสุด | พ.ศ. 2548 – 2563[3] |
ภูเขาไฟเอร์ทาเล (อามารา: ኤርታሌ) หรือ (อังกฤษ: Erta Ale, เออร์ตาเอล, อิร์ตาเอล) เป็นภูเขาไฟรูปโล่ชนิดบะซอลต์ ตั้งในแอ่งอาฟาร์ (afar depression) ซึ่งเป็นทะเลทรายแห้งแล้ง เป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นมากที่สุดในประเทศเอธิโอเปีย
ภูมิศาสตร์
[แก้]มีความสูง 613 เมตร ประกอบด้วยทะเลสาบลาวาจำนวน 2 แอ่งหรือ 1 แอ่งแล้วแต่ช่วงเวลา นับแต่เริ่มมีการบันทึก (พ.ศ. 2449) มีการปะทุอยู่ตลอดเวลา จนได้ชื่อว่า ประตูสู่นรก[4] คล้ายกับชื่อของหลุมแก๊สดาร์วาซาในประเทศเติร์กเมนิสถาน การปะทุครั้งใหญ่ล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2548 ทำให้สัตว์ล้มตาย 250 ตัว และราษฎรนับพันคนต้องหลบภัย[5] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550[6] ก็มีการปะทุอย่างเดียวกันทำให้มีผู้สูญหายสองคนและต้องอพยพนับร้อยคน ภูเขาไฟเอร์ทาเลก็มีการปะทุตลอดเวลานับแต่นั้นมา โดยมีการปะทุใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560[7]
เอร์ทาเลเป็นชื่อในภาษาอาฟาร์: Ertá’alé, ’Irtá’alé แปลว่า "ภูเขาควัน" เมื่อปี พ.ศ. 2552 ทีมจากบีบีซี ได้ทำการสำรวจพื้นที่ระยะไกลโดยวิธีโทรมาตรเลเซอร์ 3 มิติ เพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน[8]
การท่องเที่ยวภูเขาไฟเอร์ทาเล
[แก้]การเดินทางมายังภูเขาไฟเอร์ทาเลนั้นยากลำบากมาก เนื่องจากเป็นท้องที่กันดาร มีภัยธรรมชาติและภัยจากมนุษย์มาก บ้างครั้งก็มีเหตุต่อสู้กันในหมู่ชาวอาฟาร์ เช่นเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555 ชาวยุโรปจำนวนหนึ่งถูกยิง เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตห้าคน ส่วนที่เหลือเจ็ดคนบาดเจ็บ[9] โดยต่อมาแนวร่วมสามัคคีประชาธิปไตยปฏิวัติอาฟาร์ (Afar Revolutionary Democratic Unity Front) ได้แสดงความรับผิด[10]และยังได้ปล่อยนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวประกันสองคนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555[11] ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 นักท่องเที่ยวชาวเยอรมันถูกยิงเสียชีวิตขณะเดินทางกลับจากภูเขาไฟ[12] มัคคุเทศก์รายหนึ่งแนะนำว่านักท่องเที่ยวพึงจัดให้มีทหาร ตำรวจ หรือกองกำลังติดอาวุธอย่างน้อยสองนายอารักขาขณะเดินทางไปยังภูเขาไฟ หรือควรจะเดินทางไปกับบริษัททัวร์ที่มีทหารคุ้มกันไปด้วย[13]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Erta Ale, Ethiopia". Volcano World. Oregon State University. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2007.
- ↑ "Erta Ale". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2009-02-22.
- ↑ "Erta Ale volcano". VolcanoDiscovery. 12 มิถุนายน 2019.
- ↑ "Episode 1: The Horn of Africa". On the Volcanoes of the World. The Science Channel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 24 December 2010. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2017-12-21.
- ↑ "Focus on Ethiopia, September 2005", UN-OCHA . สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009.
- ↑ "Fears after volcano in Ethiopia". BBC News. 15 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2007.
- ↑ "New flank eruption at Erta Ale volcano, Ethiopia". The Watchers – Daily news service. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017.
- ↑ Hottest Place On Earth, Episode 2. bbc.co.uk.
- ↑ "Deadly attack on tourists at Erta Ale - further details: 5 dead, 4 abducted and 7 wounded". VolcanoDiscovery. 18 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Erta Ale January (sic) 17 kidnapping – ARDUF claims responsability (sic), hostages said to be well". VolcanoDiscovery. 20 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Kidnapped German tourists released (Erta Ale, Danakil, Ethiopia incident 17 Jan 2012)". VolcanoDiscovery. 6 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2013.
- ↑ Berhane, Daniel (5 ธันวาคม 2017). "An armed group from Eritrea kills a German in Erta Ale, Ethiopia". Horn Affairs. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2017.
- ↑ Briggs, Philip; Blatt, Brian (2009). Ethiopia: the Bradt Travel Guide (Fifth ed.). Chalfont St Peter: Bradt Travel Guides. p. 313. ISBN 978-1-84162-284-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ภาพถ่าย จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2552 (ในภาษาอังกฤษ)
- ภาพถ่าย จากการเดินทางไปยังภูเขาไฟเอร์ทาเลและแอ่งดานาคิล ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
- ภาพถ่าย จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 (ในภาษาฝรั่งเศส)
- บทความ เกี่ยวกับภูเขาไฟเอร์ทาเลจากบีบีซี
- ภาพถ่ายของ ภูเขาไฟเอร์ทาเล ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558