ข้ามไปเนื้อหา

ภูเขาโจไก

พิกัด: 39°05′57″N 140°02′56″E / 39.09917°N 140.04889°E / 39.09917; 140.04889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขาโจไก
鳥海山
ภูเขาโจไกมองจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
2,236 เมตร (7,336 ฟุต) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
1,891 เมตร (6,204 ฟุต) [1]
พิกัด39°05′57″N 140°02′56″E / 39.09917°N 140.04889°E / 39.09917; 140.04889[1]
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาโจไกตั้งอยู่ในโทโฮกุ
ภูเขาโจไก
ภูเขาโจไก
แผนที่ภูมิภาคโทโฮกุ
ที่ตั้งจังหวัดยามางาตะ จังหวัดอากิตะ โทโฮกุ ประเทศญี่ปุ่น
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขากรวยภูเขาไฟสลับชั้น
การปะทุครั้งล่าสุดมีนาคม - เมษายน ค.ศ. 1974

ภูเขาโจไก (ญี่ปุ่น: 鳥海山โรมาจิChōkai-san or Chōkai-zan) เป็นภูเขาไฟมีพลัง ตั้งอยู่บริเวณเขตตอนใต้ของจังหวัดอากิตะและจังหวัดยามางาตะในภูมิภาคโทโฮกุของญี่ปุ่น มีความสูง 2,236 เมตร (7,336 ฟุต) เนื่องจากรูปร่างของภูเขาไฟมีลักษณะที่สมมาตร (โดยประมาณ) และมีขนาดใหญ่จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม เดวะ ฟูจิ (出羽富士) อากิตะ ฟูจิ (秋田富士) หรือ โชไน ฟูจิ (庄内富士)[2] ลักษณะสมมาตรของภูเขานี้ขึ้นอยู่กับตําแหน่งของผู้ชม นอกจากจะเป็นหนึ่งใน 100 ภูมิทัศน์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นแล้ว ยังเป็นหนึ่งใน 100 ภูเขาที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น และ 100 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นอีกด้วย บริเวณภูเขาไฟล้อมรอบด้วยอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังเป็นโบราณสถานแห่งชาติของญี่ปุ่น[3] และได้รับการยกย่องว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์โดยชูเกนโดของชินโต ภูเขาไฟแห่งนี้ยังเป็นที่นิยมในหมู่นักปีนเขา

สรุปความ

[แก้]

ภูเขาโจไกเป็นภูเขาไฟประเภทกรวยภูเขาไฟสลับชั้นที่ซับซ้อน กำเนิดมาจากภูเขาไฟเก่าและใหม่สองลูกซึ่งประกอบด้วยหินบะซอลต์หรือแอนดีไซต์เป็นหลัก ภูเขาโจไกในจังหวัดอากิตะมีเขตเทศบาลสองแห่ง ส่วนในจังหวัดยามางาตะมีเขตเทศบาลสี่แห่ง ซึ่งยอดภูเขาตั้งอยู่ในเมืองยูซะในเขตจังหวัดยามางาตะ ดังนั้นจึงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดยามางาตะและสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคโทโฮกุรองจากภูเขาฮิอูจิงาตาเกะที่มีระดับความสูงกว่า 2,356 เมตร ส่วนจุดสูงสุดของภูเขาโจไกในจังหวัดอากิตะมีความสูง 1,775 เมตร ดังนั้นภูเขาแห่งนี้จึงสูงที่สุดในจังหวัดอากิตะอีกด้วย หากมองจากยอดเขาสามารถมองเห็นเทือกเขาชิรากามิ ภูเขาอิวากิจากทิศเหนือ เกาะซาโดะจากทิศใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกจากทิศตะวันออก

ทางด้านทิศใต้ของภูเขาเรียกว่า "โคโคโระ ยูกิเคอิ" ที่ซึ่งหิมะที่ปกคลุมอยู่เป็นรูปหัวใจแม้ในฤดูร้อน บางส่วนของยอดเขามีหิมะตกตลอดเวลา และมีหลักฐานทางธรณีวิทยาของน้ําแข็งในอดีตที่ผ่านมา

สัตว์สายพันธุ์พื้นเมืองของภูเขาโจไกมีผีเสื้อหนามและปลาผีเสื้อ

การปะทุ

[แก้]

ภูเขาโจไกเป็นภูเขาไฟที่ยังมีพลัง การปะทุครั้งใหญ่ที่สามารถพบบันทึกได้มีดังนี้

  • 466 ปีก่อนคริสตกาล ทําให้เกิดการถล่มถลายของยอดเขาขนาดใหญ่ ประเมินจากกาลานุกรมต้นไม้
  • ค.ศ. 810 ถึง ค.ศ. 824
  • ค.ศ. 840
  • ค.ศ. 871 การไหลของลาวาด้วยดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ: VEI 2
  • ค.ศ. 939
  • ค.ศ. 1560
  • ค.ศ. 1659-1663
  • ค.ศ. 1740-1741
  • ค.ศ. 1800-1801 เสียชีวิต 821 ราย
  • ค.ศ. 1834
  • ค.ศ. 1971
  • ค.ศ. 1974 มีการไหลของโคลนขนาดเล็ก ดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ: VEI 1

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภูเขาโจไกสถานที่บูชาภูเขามาตั้งแต่สมัยโบราณ[4] จากยุคเฮอัง จากนั้นเริ่มกลายเป็นสถานที่ฝึกชูเกนโดในสถานะเป็นที่อวตารของพระไภษัชยคุรุ ทางใต้เป็นเส้นทางแสวงบุญไปยังยอดเขา ในช่วงกลางของยุคเอโดะภูเขาเป็นที่นิยมสำหรับผู้แสวงบุญจํานวนมากมีโบสถ์ 33 แห่งบริเวณตีนเขา โดยมีเส้นทางเพิ่มเติมไปยังยอดเขาจากทางตอนเหนือ นอกจากนี้ยังมีประเพณีที่เกาะโทบิชิมะในทะเลญี่ปุ่นแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาโจไก

มีเรือสามลําได้รับการตั้งชื่อตามภูเขาโจไกได้แก่ เรือปืนญี่ปุ่นโจไกซึ่งเป็นเรือปืนไอน้ํายุคแรก เรือลาดตระเวนญี่ปุ่นโจไก (จมลงในปี 1944) ซึ่งทั้งคู่อยู่ในกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น และเจเอสโจไก เรือพิฆาตขีปนาวุธนําวิถีชั้นคองโกซึ่งปัจจุบันประจําการอยู่ในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Japan Ultra-Prominences". Peaklist.org. สืบค้นเมื่อ 2015-01-01.
  2. "鳥海山登山ガイド". Mt. Chokai WEB. สืบค้นเมื่อ 13 January 2014.
  3. Mount Chōkai&Tobishima Geopark
  4. "山岳信仰と民俗文化 | あきたの森づくり活動サポートセンター". www.forest-akita.jp. สืบค้นเมื่อ 26 November 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]