ข้ามไปเนื้อหา

ภูมรมนเทียร

พิกัด: 24°25′42.1″N 80°38′29.6″E / 24.428361°N 80.641556°E / 24.428361; 80.641556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูมรมนเทียร
เอกมุขลึงค์, ศตวรรษที่ 5-6
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตสัตนะ[2]
เทพพระศิวะ, ฯลฯ[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งภูมระ
รัฐมัธยประเทศ
ประเทศอินเดีย
ภูมรมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ภูมรมนเทียร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ภูมรมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
ภูมรมนเทียร
ภูมรมนเทียร (รัฐมัธยประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์24°25′42.1″N 80°38′29.6″E / 24.428361°N 80.641556°E / 24.428361; 80.641556
สถาปัตยกรรม
รูปแบบฮินดูแบบนคร
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 5-6[3][4]

ภูมรมนเทียร (อังกฤษ: Bhumara Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5-6 ในสมัยคุปตะ สร้างขึ้นบูชาพระศิวะ ตั้งอยู่ใกล้กับสัตนะในรัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย[4][3][5] สภาพโบสถ์พราหมณ์ในปัจจุบันอยู่ในสภาพเป็นซากปรักหักพัง กระนั้นบางส่วนยังหลงเหลือประติมากรรมเพียงพอต่อการศึกษาโดยนักวิชาการ มนเทียรนี้ถือเป็นตัวอย่างยุคแรกเริ่มของสถาปัตยกรรมที่มีการสร้างทางเดินประทักษิณปัถ (pradakshina-patha; ทางเดินรอบครรภคฤห์) ในลักษณะมีศูนย์กลางร่วมแบบปิด (enclosed concentric) ทางเข้าไปยังครรภคฤห์ยังประดับด้วยประติมากรรมรูปพระคงคาและพระยมุนา เช่นเดียวกับมนเทียรยุคคุปตะอื่น ๆ[2][6]

เอกมุขลิงค์ (คือ มุขลึงค์ หรือลึงค์ที่มีใบหน้าหน้าเดียว เป็นใบหน้าพระศิวะ) ของมนเทียร เป็นประติมากรรมที่ได้รับการศึกษาอย่างมากในฐานะศิลปะคุปตะ นอกจากนี้ ประติมากรรมนูนต่ำภายในมนเทียร เช่น รูปพระมหิษาสุรมรรทินี (Mahishasura-mardini; พระทุรคา), พระคเณศ, พระพรหม, พระวิษณุ, พระยม, พระกุเวร, พระกรรติเกยะ, พระสูรยะ, พระกามะ ฯลฯ[1][7][8]

ประติมากรรมนูนต่ำรูปพระคเณศที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 5 ของมนเทียรยังมีคสามสำคัญมากในฐานะหนึ่งในรูปเคารพที่เก่าแก่ที่สุดของพระคเณศ[9][10]

ประติมากรรมและชิ้นส่วนส่วนใหญ่ของมนเทียรได้รับการเคลื่อนย้ายไปเก็บรักษาตามพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์อินเดียที่โกลกาตา และพิพิธภัณฑ์อัลลาหาบาด[11][12][13] ส่วนประติมากรรมรูปพระคเณศประทับเคียงศากติได้นำไปเก็บรักษาเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตันในสหรัฐนับตั้งแต่ทศวรรษ 1920s[14][15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Radhakumud Mookerji (1959). The Gupta Empire. Motilal Banarsidass. p. 146. ISBN 978-81-208-0440-1.
  2. 2.0 2.1 "Bhumra temple". Archaeological Survey of India, Bhopal Circle.
  3. 3.0 3.1 Heather Elgood (2000). Hinduism and the Religious Arts. Bloomsbury Publishing. p. 144. ISBN 978-0-8264-9865-6., Quote: "Other examples are the fifth-century Siva temple at Bhumara which has a fine ekamukha (single faced) linga, a sixth century Dasavatara temple at Deogarh (...)".
  4. 4.0 4.1 George Michell 1988, p. 39, 95.
  5. Bhumra (Bhumara) Shiva temple, viewed from south, Gupta Dynasty, India, ca. 5th-6th century A.D. C. Krishna Gairola (1975), University of Washington
  6. Ulrich Wiesner (1978). Nepalese Temple Architecture: Its Characteristics and Its Relations to Indian Development. BRILL Academic. pp. 46–48, 74. ISBN 90-04-05666-1.
  7. Ulrich Wiesner (1978). Nepalese Temple Architecture: Its Characteristics and Its Relations to Indian Development. BRILL Academic. pp. 46–48. ISBN 90-04-05666-1.
  8. Banerji 1998, pp. 9–10, with Plates XII-XV.
  9. Robert L. Brown (1991). Ganesh: Studies of an Asian God. State University of New York Press. pp. 50–55, 120. ISBN 978-0-7914-0656-4.
  10. Raman Sukumar (2003). The Living Elephants: Evolutionary Ecology, Behaviour, and Conservation. Oxford University Press. pp. 67–68. ISBN 978-0-19-802673-0.
  11. Kapila Vatsyayan (2006). The Cultural Heritage of India: The arts. RMIC. pp. 428–432. ISBN 978-81-87332-48-0.
  12. Satish Chandra Kala (1980). Terracottas in the Allahabad Museum. Abhinav Publications. p. viii. ISBN 978-0-391-02234-8.
  13. Pramod Chandra; Krishna Deva; Shiva Dayal Trivedi (1970). Stone Sculpture in the Allahabad Museum: A Descriptive Catalogue. American Institute of Indian Studies. pp. 73–78, 194.
  14. Gudrun Bühnemann (2008). Tantric forms of Gaṇeśa according to the Vidyārṇavatantra. DK. pp. 19 with note 49. ISBN 978-81-246-0453-3.
  15. Museum of Fine Arts, Boston (1971). Museum of Fine Arts, Boston Bulletin: Vols. XXV-XXVIII, 1927-1930. Arno Press. p. 30.