ข้ามไปเนื้อหา

ภาอู ดาจี ลาฑ สังครหาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ ดร.ภาอู ดาจี ลาฑ
ฟาซาดหน้าของอาคารพิพิธภัณฑ์
ภาอู ดาจี ลาฑ สังครหาลัยตั้งอยู่ในมุมไบ
ภาอู ดาจี ลาฑ สังครหาลัย
ที่ตั้งในมุมไบ
ก่อตั้ง2 May 1872; 152 ปีก่อน (2 May 1872)
ที่ตั้งวีรมาตา ชิชาบาอี โภนสเล อุทยาน, ถนน ดร.บาบา สาเหพ อามเพฑกร มรรค, ไบกุลลาอีสต์, มุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
พิกัดภูมิศาสตร์18°58′46″N 72°50′05″E / 18.979472°N 72.834806°E / 18.979472; 72.834806
ผู้ก่อตั้งดร. จอร์จ เบิร์ดวูด, เซอร์ ชามเสตจี จีจีโภย, ดร. ภาอู ทาชี ลาฑ, คุณชคันนาถ สังกรเศฐ, ดร. จอร์จ บุยสต์
เว็บไซต์www.bdlmuseum.org

พิพิธภัณฑ์ ดร. ภาอู ดาจี ลาฑ (อังกฤษ: Dr. Bhau Daji Lad Museum) หรือ ภาอู ดาจี ลาฑ สังครหาลัย (มราฐี: भाऊ दाजी लाड संग्रहालय) เป็นพิพิธภัณฑ์ในมุมไบ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ที่วีรมาตา จีจาบาอี โภนสเล อุทยาน ใกล้กับสวนสัตว์ไบกุลลา ในย่านไบกุลลาอีสต์ พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1855 เพื่อเก็บสะสมสมบัติและชิ้นงานศิลปกรรม[1] ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เกียรติแด่ ดร. ภาอู ดาจี ลาฑ

ลอร์ดเอลฟินสะโตนสถาปนาพิพิธภัณฑ์กลางประวัติศาสตร์ธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์ ธรณีวิทยา อุตสาหการ และศิลปกรรม (Central Museum of Natural History, Economy, Geology, Industry and Arts) ขึ้นในปี 1855 เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในบอมเบย์ ต่อมาในปี 1857 พิพิธภัณฑ์ได้ปิดตัวลงและของสะสมถูกโอนย้ายไปยังศาลาว่าการนครมุมไบแทน กระทั่งปี 1858 จอร์จ เบิร์ดวูด ได้รับการแต่งตั้งเป็นภัณฑารักษ์พิพิธภัณฑ์ ต่อมาเขาได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น อันประกอบด้วยตัวเขาเอง, ภาอู ดาจี ลาฑ และ ชคันนาถ ศังกรเศฐ เพื่อเรี่ยไรเงินในการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ซึ่งมีการวางศิลาฤกษ์ในปี 1862 และก่อสร้างขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของเศรษฐีใจบุญมากมาย เช่น เดวิด ซาสซูน, ชามเสตจี จีจีโภย และ ชคันนาถ ศังกรเศฐ

การก่อสร้างดำเนินไปในพื้นที่ของจีจีมาตาอุทยานในไบกุลลาตั้งแต่ปี 1862 แล้วเสร็จในปี 1871[2] ก่อนจะเปิดในปี 1872 ภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑ์วิกตอเรียและอัลเบิร์ต บอมเบย์ (The Victoria and Albert Museum, Bombay) ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อในปี 1975 เป็นพิพิธภัณฑ์ ดร. ภาอู ดาจี ลาฑ ผู้ว่าการนครมุมไบคนแรกที่เป็นชาวอินเดีย นักประวัติศาสตร์ ผู้ใจบุญ และศัลยแพทย์[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hoskote, Ranjit (7 September 2005). "Honour for a treasure trove of art". The Hindu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2008. สืบค้นเมื่อ 27 June 2009.{{cite news}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  2. "PLACES". Maharashtra State Gazetteers-Greater Bombay District. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2011.
  3. "DR. Bhau Daji Lad Mumbai City Museum - About". bdlmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 23 April 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]