ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในประเทศอินโดนีเซียมีภาษาที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 700 ภาษา[1] ซึ่งมีจำนวนประมาณ 10% ของภาษาบนโลกทั้งหมด[2] ทำให้เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษามากเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงปาปัวนิวกินี[3] ภาษาส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ส่วนในอินโดนีเซียตะวันออกมีผู้พูดภาษากลุ่มปาปัวมากกว่า 270 ภาษา[4]

ภาษาในประเทศอินโดนีเซียแบ่งออกเป็น 9 หมวดหมู่: ภาษาประจำชาติ, ภาษาพื้นเมือง, ภาษากลางของภูมิภาค, ภาษาต่างชาติและเพิ่มเติม, ภาษามรดก, ภาษาในขอบเขตทางศาสนา, ภาษาอังกฤษในฐานะภาษากลาง และภาษามือ[5][6]

ภาษาประจำชาติ

[แก้]

ภาษาทางการของอินโดนีเซียคือภาษาอินโดนีเซีย[7] ซึ่งเป็นภาษามลายูรูปแบบมาตรฐาน[8] ทำหน้าที่เป็นภาษากลางในหมู่เกาะ คำศัพท์ในภาษาอินโดนีเซียมีคำยืมจากภาษาประจำภูมิภาคของอินโดนีเซียจำนวนมาก เช่น ภาษาชวา, ซุนดา และมีนังกาเบา เช่นเดียวกันกับภาษาดัตช์, สันสกฤต, โปรตุเกส, อาหรับ และล่าสุดคือภาษาอังกฤษ[9][10][11] โดยหลักภาษาอินโดนีเซียใช้กันเป็นพื้นฐานในวงการพาณิชย์ การบริหาร การศึกษา และสื่อ ทำให้ชาวอินโดนีเซียเกือบทั้งหมดสามารถใช้ภาษาอินโดนีเซียในระดับความชำนาญที่ต่างกัน[12] ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาชวาเป็นภาษาแม่[1] สิ่งนี้ทำให้ภาวะหลายภาษา (multilingualism) เป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในประเทศนี้[12]

ภาษาใกล้สูญ

[แก้]

มีภาษาที่มีผู้พูดทั่วกลุ่มเกาะอินโดนีเซียถึง 726 ภาษาใน ค.ศ. 2009 (ลดลงจาก 742 ถาษาใน ค.ศ. 2007) โดยจังหวัดปาปัวที่ติดกับปาปัวนิวกินีมีภาษามากที่สุดในประเทศ[13] ตามข้อมูลจาก Ethnologue (อดีตมีชื่อว่า Summer Institute of Linguistics) มี 63 ภาษาที่กำลังสูญหาย (อยู่ในแผนภูมิแท่งสีแดง)[14]

ภาษามือ

[แก้]

มีผู้ใช้งานภาษามือทั่วประเทศอย่างน้อย 2.5 ล้านคน แม้ว่ารายงานทางการระบุไว้ที่น้อยกว่า 50,000 คนก็ตาม[15] ผู้ใช้ภาษามือมักถูกเยาะเย้ยและประณาม[16]

ระบบการเขียน

[แก้]

โดยทั่วไป ภาษาในประเทศอินโดนีเซียไม่มีระบบอักษรของตนเอง แต่ใช้อักษรที่ดัดแปลงจากภาษาอื่น เช่น ทมิฬ, อาหรับ และละติน ภาษามลายูมีประวัติในภาษาเขียนมายาวนาน และมีการเขียนเป็นอักษรพราหมี, อาหรับ และละติน ภาษาชวาเขียนด้วยอักษรปัลลวะจากอินเดียใต้ และอักษรแบบอื่น ๆ (มัชื่อว่าอักษรกาวีและอักษรชวา) ในอักษรอาหรับมีชื่อว่า เปโกน ซึ่งไว้ระบุเสียงภาษาชวา และในอักษรละติน

อักษรจีนเป็นอักษรที่ไม่เคยใช้งานในภาษาในประเทศอินโดนีเซีย ถึงแม้ว่าจะมีการระบุชื่อสถานที่ ชื่อบุคคล และชื่อสินค้าอินโดนีเซียในรายงานและประวัติศาสตร์ของราชสำนักจีนก็ตาม[17]

หมายเหตุ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Lewis, M. Paul (2009), Ethnologue: Languages of the World (16th ed.), SIL International, สืบค้นเมื่อ 17 November 2009
  2. Florey 2010, pp. 121–140.
  3. "What Countries Have the Most Languages?". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). 22 May 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2020. สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.
  4. Simons & Fennig 2018.
  5. Zein 2020, pp. 27–63.
  6. "Indonesia". The World Factbook (ภาษาอังกฤษ). CIA. 29 October 2018. สืบค้นเมื่อ 11 November 2018.
  7. Article 36 of The 1945 Constitution of The Republic of Indonesia  – โดยทาง Wikisource.
  8. Sneddon, James (2003). The Indonesian Language: Its History and Role in Modern Society. Sydney: University of South Wales Press.
  9. Yee, Danny (2013). "Review of The Indonesian Language: Its History and Role in Modern Society". Danny Yee's Book Reviews (Book review). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
  10. Khaidir Anwar (1976). "Minangkabau, Background of the main pioneers of modern standard Malay in Indonesia". Archipel. 12: 77–93. doi:10.3406/arch.1976.1296 – โดยทาง Persée.
  11. Ivana Amerl (May 2006). "Halo Bos! English Borrowings in Indonesian". MED Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 20 January 2018.
  12. 12.0 12.1 Zein 2020, p. 18.
  13. "Berapa Jumlah Bahasa Daerah di Indonesia?" [How many regional languages in Indonesia?]. portalsatu.com (ภาษาอินโดนีเซีย). 30 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-20. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
  14. "Indonesia - Status". Ethnologue.
  15. Zein 2020, p. 43.
  16. Palfreyman, Nick (2015). Sign language varieties of Indonesia: A linguistic and sociolinguistic investigation (PhD thesis). Lancashire, the UK: University of Central Lancashire.
  17. Taylor 2003, p. 29.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]