ภาษาอาหรับเยเมน
หน้าตา
ภาษาอาหรับเยเมน | |
---|---|
لهجة يمنية | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศเยเมนและซาอุดีอาระเบียตอนใต้ |
จำนวนผู้พูด | 15.1 ล้านคน (2011)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรอาหรับ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:ayh – ภาษาอาหรับฮัฎเราะมีayn – ภาษาอาหรับศ็อนอานีacq – ภาษาอาหรับตะอิซซี-อะดะนี |
ภาษาอาหรับเยเมน (Yemeni Arabic) เป็นกลุ่มของสำเนียงภาษาอาหรับที่มีผู้พูดในเยเมน ซาอุดีอาระเบียตะวันตกเฉียงใต้ และจะงอยแอฟริกา[2][3][4] โดยแบ่งเป็นสำเนียงหลักๆได้หลากหลายโดยใช้คำศัพท์และหลักทางสัทวิทยาเป็นตัวแบ่งแยก กลุ่มหลักๆได้แก่ สำเนียงซันอานี สำเนียงตาอิซารี สำเนียงเอเดน สำเนียงติอามี และสำเนียงฮาดรามี โดยในบริเวณนี้มีภาษาเอกเทศคือภาษาเมห์รีและภาษาโซโกวตรีซึ่งไม่ใช่สำเนียงของภาษาอาหรับแต่พัฒนามาจากกลุ่มภาษาอาระเบียนใต้โบราณ เช่น ภาษาซาเบียน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาษาเอธิโอปิก
ภาษาอาหรับเยเมนได้รับอิทธิพลจากภาษาฮิมยัร, ภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่ และกลุ่มภาษาอาระเบียใต้โบราณ และมีรากฐานสำคัญจากภาษาเหล่านี้ด้วย[5]
สำเนียงต่างๆ
[แก้]- สำเนียงยาฟีอีล่างยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง สำเนียงนี้ออกเสียง [jīm] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น [gīm] และ[qāf] เป็น [ġāf] การสลับเสียงแบบนี้พบในสำเนียงซูดานด้วย
- สำเนียงซันอานี ความแตกต่างของสำเนียงนี้จากสำเนียงอื่นๆคือออกเสียง [g] หนักแทนเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิก ในขณะที่ยังรักษาเสียงของ ج ในภาษาอาหรับคลาสสิกไว้ได้ นอกจากนั้นยังใช้คำว่า mā ในภาษาอาหรับคลาสสิกในความหมายว่า “อะไร” และยังรักษาความหมายของคำศัพท์ไว้ได้หลายคำ เช่น "sāra, yasīr" หมายถึง ไป
- สำเนียงตาอิซซี วัฒนธรรมของชาวตาอิซจัดเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมเยเมนและเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในเอเดน และเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในกลุ่มผู้มีการศึกษาในเยเมน
- สำเนียงเอเดน เป็นสำเนียงที่พบในเอเดนซึ่งต่างจากสำเนียงอื่นๆ โดยออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q
- สำเนียงติอามี มีลักษณะใกล้เคียงกับสำเนียงอื่นๆในเยเมน คือออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q และ ج ออกเสียงเป็นเสียง [g] หนัก และแทนที่คำนำหน้า –al ด้วย am-
- สำเนียงฮาดรามี สำเนียงนี้มีคำศัพท์ร่วมกับภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่ ทำให้แตกต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงใกล้เคียงไปบ้าง การอพยพมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้พูดสำเนียงนี้ ทำให้สำเนียงนี้มีอิทธิพลต่อภาษาอาหรับสิงคโปร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาอาหรับฮัฎเราะมี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ภาษาอาหรับศ็อนอานี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
ภาษาอาหรับตะอิซซี-อะดะนี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก) - ↑ Dalby, Andrew (1999). Dictionary of Languages: The Definitive Reference to More Than 400 Languages. Bloomsbury Pub Ltd. p. 25. ISBN 978-0231115681.
- ↑ "Somalia". ethnologue.com. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
- ↑ "Djibouti". ethnologue.com. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-16. สืบค้นเมื่อ 2017-05-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Shaghi, Abdullah and Imtiaz Hasanain (2009). Arabic Pausal Forms and Tihami Yemeni Arabic pausal /u/: History and Structure. In Hasnain S. Imtiaz (edt.) Aligarh Journal of linguistics. Department of Linguistics, Aligarh Muslim University, Aligarh, India. Vol. 1, January- December 2009, pp. 122-139
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Recording of Yemeni Arabic เก็บถาวร 2015-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน