ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาผูเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาหมิ่นผูเซียน)
ภาษาผูเซียน
莆仙語/莆仙話/興化話
Pó-sing-gṳ̂/Pó-sing-uā/Hing-hua̍-uā
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ไต้หวัน (Wuqiu)
ภูมิภาคมณฑลฝูเจี้ยน (ผูเถียน ส่วนหนึ่งของฝูโจวและเฉวียนโจว)
ชาติพันธุ์ชาวผูเถียน (จีนฮั่น)
จำนวนผู้พูด3.15 ล้านคน  (2022)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรจีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
Hinghwa Romanized (Hing-hua̍ Báⁿ-uā-ci̍)
รหัสภาษา
ISO 639-3cpx
Linguasphere79-AAA-id
  ภาษาผูเซียน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ไบเบิลภาคภาษาผูเซียน เขียนด้วยอักษรโรมัน

ภาษาผูเซียน (จีนตัวเต็ม: 莆仙話; จีนตัวย่อ: 莆仙话; พินอิน: Púxiānhuà) เป็นสาขาหนึ่งของภาษาจีนหมิ่น คำว่าผูเซียนเป็นการรวมกันของชื่อเมืองสองเมืองคือเมืองผูเถียน (莆田市) และเมืองเซียนโหยว (仙游县) ส่วนใหญ่ใช้พูดในมณฑลฝูเจี้ยน และมีประชาชนมากกว่า 2000 คนพูดภาษานี้ในชาเฉิง เมืองฝูติ่ง (福鼎) ทางเหนือของมณฑลฝูเจี้ยน มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยระหว่างภาษาในเมืองผูเถียนและเซียนโหยว มีชาวจีนโพ้นทะเลที่พูดภาษาจีนหมิ่นสำเนียงนี้ในมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเรียกว่าซิงฮว่า (อักษรจีนตัวย่อ: 兴化; อักษรจีนตัวเต็ม: 興化; พินอิน: Xīnghuà)

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ก่อน พ.ศ. 1532 บริเวณผูเซียนเป็นบริเวณหนึ่งของเขตกวานโจวและประชากรพูดภาษาหมิ่นใต้ ใน พ.ศ. 1532 ในสมัยราชวงศ์ซ่ง บริเวณนี้ถูกบริหารแยกจากกวานโจว และเกิดการพัฒนาสำเนียงใหม่ของภาษาหมิ่นใต้ โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาหมิ่นตะวันออก

ลักษณะของภาษา

[แก้]

ภาษาผูเซียนมีพยัญชนะ 15 เสียง เช่นเดียวกับภาษาจีนหมิ่นอื่น ๆ มีวรรณยุกต์ 6 เสียง ความแตกต่างระหว่างภาษาผูเซียนกับภาษาหมิ่นใต้ ได้แก่

  • สระ 'a' ถูกแทนที่ด้วย /ɒ/ (o̤)
  • สระ 'ư' /ɯ/ ถูกแทนที่ด้วย y/ ('ü')
  • ในภาษาผูเซียน 'ng' จะออกเสียงเป็น /uŋ/
  • สระ /e/ ถูกแทนที่ด้วย /ɒ/ o̤
  • สำเนียงกวานโจวมี 'ĩ' และสำเนียงจ้างโจวมี 'ẽ' สระที่เทียบเคียงได้ในภาษาผูเซียนคือ 'ã' ซึ่งเป็นการแสดงสระนาสิก
  • สระ 'io' ถูกแทนที่ด้วย 'iau'
  • เสียงนาสิก m n ng บางครั้งจะถูกแทนที่ด้วยเสียงโฆษะ b d g
  • ไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างเสียงกักที่ก้องและไม่ก้อง เช่น /b/ และ /p/ โดยจะออกเสียงเหมือนกัน

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
ตารางแสดงพยัญชนะภาษาผูเซียน
  ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ข้างลิ้น เพดานอ่อน เส้นเสียง
หยุด ไม่พ่นลม p 巴 (b) t 打 (d) k 家 (g) ʔ
พ่นลม 彭 (p) 他 (t) 卡 (k)
เสียงนาสิก m 麻 (m) n 拿 (n) ŋ 雅 (ng)
เสียดแทรก ไม่ก้อง ɬ 沙 (s) h 下 (h)
ก้อง β*
กักเสียดแทรก ไม่พ่นลม ts 渣 (c)
พ่นลม tsʰ 査 (ch)
เปิด l 拉 (l)
  • β (พบในการพยางค์ต่อเนื่อง กลายมาจาก [p])

หน่วยเสียงสระและตัวสะกด

[แก้]
แผนผัง
สระ สระประสม สระนาสิก สระกัก
สระเดี่ยว a 鴉 (a) au 拗 (au) 王 (ang) 壓 (ah)
ɒ 奥 (o̤) ɒŋ 用 (o̤ng) ɒʔ 屋 (o̤h)
o 科 (eo) ɔu 烏 (o) 温 (eong) 熨 (eoh)
e 裔 (a̤) ai 愛 (ai) ɛŋ 煙 (eng) ɛʔ 黑 (eh)
œ 改 (e̤) œŋ 換 (e̤ng) œʔ 郁 (e̤h)
ŋ 伓 (ng)
/-i-/ i 衣 (i) iu 油 (iu) 引 (ing) 益 (ih)
ia 夜 (ia) iau 要 (a̤u) iaŋ 鹽 (iang) iaʔ 葉 (iah)
/-u-/ u 夫 (u) ui 位 (ui) 黄 (ng)
ua 画 (ua) ue 歪 (oi) uaŋ 碗 (uang) uaʔ 活 (uah)
/-y-/ y 余 (ṳ) 恩 (ṳng) 役 (ṳh)
安 (io̤ⁿ) yɒŋ 羊 (io̤ng) yɒʔ 藥 (io̤h)
อักษรจีน 黃 (ńg) 方 (hng) 漲 (dn̂g) 幫 (bng) 光 (gng) 兩 (nn̄g) 毛 (mńg)
ผูเถียน ŋ̍ hŋ̍ tuŋ puŋ kuŋ nuŋ muŋ
เซียนโหยว ŋ̍ hŋ̍ tŋ̍ pŋ̍ kŋ̍ nŋ̍ mŋ̍
เสียงนาสิกสำเนียงเซียนโหยว
IPA ã ɛ̃ ĩ ɒ̃
อักษรละติน aⁿ a̤ⁿ e̤ⁿ o̤ⁿ iaⁿ io̤ⁿ uaⁿ oiⁿ a̤uⁿ
IPA ã ø̃ ɒ̃ yɒ̃ ɛũ
อักษรจีน 爭 (caⁿ) 還 (há̤ⁿ) 段 (dē̤ⁿ) 三 (so̤ⁿ) 鼎 (diáⁿ) 張 (da̤uⁿ) 看 (kua̍ⁿ) 飯 (bōiⁿ) 贏 (ió̤ⁿ)
เซียนโหยว tsã tỹ sɒ̃ tiã tiũ kʰuã puĩ yɒ̃
ผูเถียน tsa hi tia tiau kʰua puai

วรรณยุกต์

[แก้]
วรรณยุกต์ อินผิง
陰平
อินซ่าง
陰上
อินชวี่
陰去
อินรู่
陰入
หยางผิง
陽平
หยางชวี่
陽去
หยางรู่
陽入
ผูเถียน ˥˧˧ (533) ˦˥˧ (453) ˦˨ (42) ʔ˨˩ (ʔ2) ˩˧ (13) ˩ (11) ʔ˦ (ʔ4)
เซียนโหยว ˥˦˦ (544) ˧˧˨ (332) ˥˨ (52) ʔ˨ (ʔ2) ˨˦ (24) ˨˩ (21) ʔ˦ (ʔ4)

การเขียนด้วยอักษรละติน

[แก้]

ระบบการเขียน Hing-hua̍ báⁿ-uā-ci̍ (興化平話字) เป็นระบบที่ใช้อักษรละตินเขียนภาษาหมิ่นผูเซียน มีอักษร 23 ตัว: a a̤ b c ch d e e̤ g h i k l m n ng o o̤ p s t u ṳ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ 5 ตัวจากทั้งหมด 8 เสียง:

陰平 อินผิง (ไม่มีเครื่องหมาย)

陰上 อินซ่าง ˆ (â)

陰去 อินชวี่ ˈ (a̍)

陰入 อินรู่ (ไม่มีเครื่องหมาย)

陽平 หยางผิง ́ (á)

陽去 หยางชวี่ - (ā)

陽入 หยางรู่ ˈh (a̍h) 

IPA ภาษาผูเซียน ภาษาฮกจิว
p p
t t
k k
p b b
t d d
k g g
tsʰ ch ch
ts c c
วรรณยุกต์ 陰平 อินผิง 陰上 อินซ่าง 陰去 อินชวี่ 陰入 อินรู่ 陽平 หยางผิง 陽去 หยางชวี่ 陽入 หยางรู่
Báⁿ-uā-ci̍ a â ah á ā a̍h
เป่อ่วยยี a á à ah â ā a̍h

ตัวอย่างการเขียนด้วย báⁿ-uā-ci̍

[แก้]

Tai̍-che̤ ū Dō̤, Dō̤ gah Siō̤ng-Da̤̍ dó̤ng-cāi, Dō̤ cuh sī Siō̤ng-Da̤̍. Ca̤̍ Dō̤ ta̍i-che̤ gah Sio̤ng-Da̤̍ dó̤ng-cāi. Māng-beo̍h sī ciā da̤u̍h I cho̤̍ ē; hang pī cho̤̍, beo̍ seo̍h-ā̤uⁿ ng-sī ciā da̤u̍h I cho̤̍ ē.

太初有道,道佮上帝同在,道就是上帝。這道太初佮上帝同在。萬物是借著伊造兮,含被造兮,無一樣呣是借著伊造兮。

In the beginning was the Word, and the Word was with God, and the Word was God. The same was in the beginning with God. All things were made by him; and without him was not any thing made that was made. (John 1:1-3 KJV)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เชื่อกันว่าภาษาหมิ่นแยกจากภาษาจีนเก่า แทนที่จะมาจากภาษาจีนสมัยกลางเหมือนกับวิธภาษาจีนอื่น ๆ[2][3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาผูเซียน at Ethnologue (26th ed., 2023) Closed access
  2. Mei, Tsu-lin (1970), "Tones and prosody in Middle Chinese and the origin of the rising tone", Harvard Journal of Asiatic Studies, 30: 86–110, doi:10.2307/2718766, JSTOR 2718766
  3. Pulleyblank, Edwin G. (1984), Middle Chinese: A study in Historical Phonology, Vancouver: University of British Columbia Press, p. 3, ISBN 978-0-7748-0192-8
  4. Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian (2023-07-10). "Glottolog 4.8 - Min". Glottolog. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology. doi:10.5281/zenodo.7398962. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-13. สืบค้นเมื่อ 2023-10-13.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]