ข้ามไปเนื้อหา

ภาษามูเซอดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามูเซอดำ
ประเทศที่มีการพูดไทย
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษามูเซอดำอยู่ในตระกูลทิเบต-พม่า มีเสียงพยัญชนะต้นมากความสั้นยาวของเสียงสระไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์ เสียงสระส่วนใหญ่เป็นสระเดี่ยว มีเสียงสระประสมเพียงเสียง /ไอ/ และ /อาย/ เท่านั้น เสียงวรรณยุกต์มี 7 เสียง คำเป็นมี 5 เสียง คำตายมี 2 เสียง ดังนี้

  • เสียงสูง-ตก คล้ายเสียงโท
  • เสียงต่ำ-ตก คล้ายเสียงเอก
  • เสียงสูง-ระดับ คล้ายเสียงตรี
  • เสียงต่ำ-ระดับ คล้ายเสียงเอก
  • เสียงกลาง-ระดับ คล้ายเสียงสามัญ
  • เสียงสูง-ขึ้น และมีการกักของเส้นเสียงในตอนท้าย คล้ายเสียงตรีในคำตาย สระเสียงสั้น
  • เสียงต่ำ-ตก และมีการกักของเส้นเสียงในตอนท้าย คล้ายเสียงเอกในคำตาย สระเสียงสั้น

อ้างอิง

[แก้]
  • ศัพทานุกรมไทย-คำเมือง-ม้งขาว-กะเหรี่ยงสะกอ-มูเซอดำ สำหรับแพทย์ ทันตแพทย์และสัตวแพทย์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบท. กทม. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530