ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฟูยู-คีร์กีซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาฟูยู-คีร์กีซ
Fuyü Gïrgïs
ออกเสียง[qərʁəs]
ประเทศที่มีการพูดประเทศจีน
ภูมิภาคมณฑลเฮย์หลงเจียง
ชาติพันธุ์ฟูยู-คีร์กีซ
จำนวนผู้พูดไม่ทราบ (875,[1] อ้างถึง1982 census)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รหัสภาษา
ISO 639-3ไม่มี (mis)
นักภาษาศาสตร์kjh-fyk
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ชาวฟูยู-คีร์กีซ
Gïrgïs, Kyrgysdar
ประชากรทั้งหมด
1,400
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 จีน 1,400
ภาษา
ฟูยู-คีร์กีซ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
คาคัส

ฟูยู-คีร์กีซ (อักษรโรมัน: Fuyu Kyrgyz, Fuyü Gïrgïs, Fu-Yu Kirgiz) มีอีกชื่อว่า ภาษาคีร์กีซแมนจูเรีย เป็นภาษาเตอร์กิก ส่วน Gïrgïs ([gɨr.gɨs], Kyrgysdar) เป็นชื่อชาติพันธุ์เตอร์กิก ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับในประเทศจีน[4] ถึงแม้ว่าจะมีชื่อนี้ ภาษานี้ไม่ได้มีที่มาจากภาษาคีร์กีซ แต่มีความใกล้เคียงกับภาษาคาคัสในปัจจุบันและเยนีเซคีร์กีซในอดีต เดิมทีผู้คนเคยอยู่ในแคว้นเยนีเซของไซบีเรีย แต่กลุ่มชนซูงการ์สั่งให้อพยพไปที่ซูงกาเรีย[5][6]

ใน ค.ศ. 1761 หลังราชวงศ์ชิงเอาชนะชนซูงการ์ กลุ่มชนเยนีเซคีร์กีซจึงถูกเคลื่อนย้าย (ร่วมกับ Öelet บางส่วนหรือซูงการ์ที่พูดภาษา Oirat) ไปยังแอ่งแม่น้ำเน่นในแมนจูเรีย/จีนตะวันออกเฉียงเหนือ[7][8] ชาวคีร์กีซในแมนจูเรียกลายเป็นชาวฟูยู-คีร์กีซ แต่หลายคนถูกกลืนเป็นชาวมองโกลและจีน ในสมัยประเทศแมนจูภาษา Oirat และคีร์กีซถูกแทนที่ด้วยภาษาจีนและ Oirat[9]

ปัจจุบัน มีผู้พูดภาษาฟูยู-คีร์กีซในมณฑลเฮย์หลงเจียง, ส่วนบริเวณในและรอบ ๆ เทศมณฑลฟู่ยู่, ฉีฉีฮาร์ (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฮาร์บิน 300 กิโลเมตร) มีผู้พูดจำนวนน้อยที่ระบุตนเองว่ามีเชื้อชาติคีร์กีซ[10] เทศมณฑลฟู่ยู่มีชาวฟูยู-คีร์กีซ 1,400 คน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Khakas ที่ Ethnologue (16th ed., 2009) Closed access
  2. Brown & Ogilvie, p. 1109.
  3. Johanson & Johanson 1998, p. 83.
  4. Hu & Imart 1987.
  5. Tchoroev (Chorotegin) 2003, p. 110.
  6. Pozzi, Janhunen & Weiers 2006, pp. 112–113.
  7. Janhunen 1996, pp. 111–112.
  8. Wurm, Mühlhäusler & Tryon 2011, p. 831.
  9. Janhunen 1996, p. 59.
  10. Hu & Imart 1987, p. 1.
  11. Fuyu County Civil Affairs Bureau 2021.

ข้อมูล

[แก้]
  • Brown, Keith & Ogilvie, Sarah, บ.ก. (2010). Concise Encyclopedia of Languages of the World (rev. ed.). Elsevier. ISBN 978-0080877754.
  • Fuyu County Civil Affairs Bureau (2021-01-19). 民俗宗教 [Folklore and Religion] (ภาษาจีน). Fuyu County People's Government. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-17.
  • Hu, Zhen-hua & Imart, Guy (1987), Fu-Yü Gïrgïs: A tentative description of the easternmost Turkic language, Bloomington, Indiana: Indiana University Research Institute for Inner Asian Studies
  • Janhunen, Juha (1996). Manchuria: An Ethnic History. Finno-Ugrian Society. ISBN 978-951-9403-84-7.
  • Johanson, Éva Ágnes Csató & Johanson, Lars (2003) [1998]. The Turkic Languages. Routledge Language Family Series (Rev. ed.). Taylor & Francis. ISBN 9780203066102.
  • Li, Yongsŏng; Ölmez, Mehmet & Kim, Juwon (2007). "Some Newly Identified Words in Fuyu Kirghiz (Part 1)". Ural-Altaische Jahrbücher. Neue Folge. 21: 141–169. ISSN 0174-0652.
  • Pozzi, Alessandra; Janhunen, Juha Antero & Weiers, Michael, บ.ก. (2006). Tumen jalafun jecen akū: Manchu Stories in Honour of Giovanni Stary. Tunguso Sibirica. Vol. 20. Harrassowitz Verlag. ISBN 978-3-447-05378-5.
  • Tchoroev (Chorotegin), T. (2003). "The Kyrgyz". ใน Dani, Ahmad Hasan & Masson, Vadim Mikhaĭlovich (บ.ก.). History of civilizations of Central Asia. Vol. V: Development in contrast: from the sixteenth to the mid-nineteenth century. Paris: UNESCO. pp. 109–125.
  • Wurm, Stephen A.; Mühlhäusler, Peter & Tryon, Darrell T., บ.ก. (2011-02-11). Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas. de Gruyter. ISBN 9783110819724.