ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาฟรีเจีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จารึกภาษาฟริเจียในเมืองมิดัส

ภาษาฟริเจีย เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ใช้พูดโดยชาวฟริเจีย ซึ่งอาจจะอพยพจากเทรซเข้าสู่เอเชียน้อยในช่วง 657 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษาฟริเจียแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ ภาษายุคเก่า (257 ปีก่อนพุทธศักราช) และภาษายุคใหม่ เริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 543 ภาษานี้กลายเป็นภาษาตายเมื่อราว พ.ศ. 1143 .[1] การศึกษาจารึกภาษานี้ทำได้ไม่ยากนักเพราะใช้อักษรใกล้เคียงกับอักษรกรีก

การจัดจำแนก

[แก้]

ภาษาฟรีเจียมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษากรีกและภาษาทราเซีย[2][3] ในหลายแห่งพบว่าภาษาฟรีเจียใช้อักษรที่มีต้นกำเนิดมาจากอักษรฟินิเชียน

ไวยากรณ์

[แก้]

ลักษณะโดยทั่วไปเหมือนภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน คำศัพท์ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมที่สร้างขึ้นมา

คำศัพท์

[แก้]

คำศัพท์เกี่ยวกับร่างกายของภาษาฟรีเจียเป็นที่รู้จักในทางทฤษฎี แต่ความหมายและรูปแบบที่ถูกต้องของคำโดยเฉพาะจากจารึกยังเป็นที่โต้เถียง คำภาษาฟรีเจียที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ bekos หมายถึงขนมปัง จากบันทึกของเฮโรโดตัส ฟาโรห์เซมเมติอุสที่ 1 ต้องการรู้ว่าภาษาดั้งเดิมของมนุษย์คืออะไร จึงให้นำเด็กสองคนไปเลี้ยงไว้โดยไม่ให้ได้ยินเสียงใดๆ เมือผ่านไป 2 ปี เด็กพูดคำว่า bekos ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาฟรีเจียแปลว่าขนมปังสีขาว ชาวอียิปต์จึงเชื่อว่าชาวฟรีเจียเป็นชนชาติที่เก่าแก่กว่าตน คำว่า bekos นี้อาจจะมีที่มาเดียวกันกับคำว่า bukë "ขนมปัง"ในภาษาอัลเบเนีย และ bake "อบ" ในภาษาอังกฤษ[4] ภาษาที่มีอิทธิพลต่อคำศัพท์ภาษาฟรีเจีย ได้แก่ ภาษาฮิตไตต์ ภาษาลูเวีย ภาษากาลาเทีย และภาษากรีก

คำภาษาฟรีเจียอื่นๆได้แก่

  • anar, 'สามี', จาก PIE *ner- 'ผู้ชาย';
cf. ภาษากรีก:anḗr (ἀνήρ)"ผู้ชาย, สามี", ภาษาเคิร์ด: nēr (nêr) "ความเป็นผู้ชาย", ภาษาอาร์มีเนีย: aner "brides father", ภาษาอัลเบเนีย: njeri "ผู้ชาย คน", ภาษาเปอร์เซีย nær "สัตว์ตัวผู้"

อ้างอิง

[แก้]
  1. Swain, Simon; Adams, J. Maxwell; Janse, Mark (2002). Bilingualism in ancient society: language contact and the written word. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. pp. 246–266. ISBN 0-19-924506-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Brixhe, Cl. "Le Phrygien". In Fr. Bader (ed.), Langues indo-europeennes, pp. 165-178, Paris: CNRS Editions.
  3. Roger D. Woodard - 'The ancient languages of Asia Minor', Cambridge University Press, 2008, ISBN 052168496X, page 72, "Unquestionably, however, Phrygian is most closely linked with Greek"
  4. The etymology is defended in O. Panagl & B. Kowal, "Zur etymologischen Darstellung von Restsprachen", in: A. Bammesberger (ed.), Das etymologische Wörterbuch, Regensburg 1983, pp. 186-7. It is contested in Benjamin W. Fortson, Indo-European Language and Culture: An Introduction. Blackwell, 2004. ISBN 1405103167, p. 409.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]