ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาบราฮุอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาบราฮุอี
براہوئی
ออกเสียงแม่แบบ:IPA-to
ประเทศที่มีการพูดปากีสถาน, อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และเติร์กเมนิสถาน
ภูมิภาคแคว้นบาโลชิสถาน
ชาติพันธุ์ชาวบราฮุอีและชาวบาโลจ
จำนวนผู้พูด2,640,000 คนในปากีสถาน (รวมผู้พูดทุกประเทศ 2,864,400 คน)  (2017 Census)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ (แนสแทอ์ลีฆ), อักษรละติน
รหัสภาษา
ISO 639-3brh
บราฮุอี (บนซ้ายไกล) ตั้งอยู่ห่างจากภาษาตระกูลดราวิเดียนอื่น ๆ ทั้งหมด[2]
แผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษาบราฮุอีอยู่ในภาษาเสี่ยงต่อการสูญหาย

ภาษาบราฮุอี (บราฮุอี: براہوئی) เป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนที่พูดโดยชาวบราฮุอีบางส่วน โดยหลักมีผู้พุดในบริเวณตอนกลางของแคว้นบาโลชิสถาน ประเทศปากีสถาน และมีชุมชนขนาดเล็กกระจายทั่วพื้นที่อิหร่าน, อัฟกานิสถาน และเติร์กเมนิสถาน[3] และโดยชาวบราฮุอีที่อยู่ต่างประเทศในอิรัก, กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[4] ภาษานี้เป็นภาษาที่อยู่ห่างจากประชากรที่พูดภาษาตระกูลดราวิเดียนที่ใกล้ที่สุดในอินเดียใต้ด้วยระยะทางมากกว่า 1,500 กิโลเมตร (930 ไมล์)[2]

เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มอิหร่านมาก เช่นจากภาษาบาโลจ เชื่อว่าเป็นส่วนที่เหลืออยู่ของภาษากลุ่มดราวิเดียนที่เคยแพร่กระจายในบริเวณดังกล่าว ก่อนที่ชาวอารยันจะอพยพเข้ามา นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่า ชาวบราฮุอีเป็นลุกหลานของกลุ่มชนที่เจ้าของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ขณะที่สมมติฐานอื่นเชื่อว่าภาษานี้เกิดจากการกลมกลืนกันของภาษากลุ่มดราวิเดียนและอินโด-อารยันในยุคก่อนพระเวท

อักขรวิธี

[แก้]

อัหษรเปอร์เซีย-อาหรับ

[แก้]

ภาษาบราฮุอีเป็นภาษาตระกูลดราวิเดียนภาษาเดียวที่ไม่ได้เขียนด้วยอักษรฐานพราหมี แต่ใช้อักษรอาหรับตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20:[5]

อักษร เทียบอักษรละติน สัทอักษรสากล
ا á, a, i, u /aː/, /ə/, /ɪ/, /ʊ/
ب b /b/
پ p /p/
ت t /t/
ٹ ŧ /ʈ/
ث (s) /s/
ج j /d͡ʒ/
چ c /t͡ʃ/
ح (h) /h/
خ x /x/
د d /d/
ڈ đ /ɖ/
ذ (z) /z/
ر r /ɾ/
ڑ ŕ /ɽ/
ز z /z/
ژ ź /ʒ/
س s /s/
ش ş /ʃ/
ص (s) /s/
ض (z) /z/
ط (t) /t/
ظ (z) /z/
ع ', (a), (i), (u) /ʔ/, /ə/, /ɪ/, /ʊ/
غ ģ /ɣ/
ف f /f/
ق (k) /k/
ک k /k/
گ g /g/
ل l /l/
ڷ ļ /ɬ/
م m /m/
ن n /n/
ں ń /ɳ/
و v /w~ʋ/
ہ h /h/
ھ (h) /h/
ی y, í /j/, /iː/
ے e /eː/

อักษรละติน

[แก้]

เมื่อไม่นานมานี้ มีการประดิษฐ์อักษรวิธีฐานละตินชื่อว่า Brolikva (ชื่อย่อของ Brahui Roman Likvar) โดยคณะกรรมการภาษาบราฮุอีประจำมหาวิทยาลัยบาโลชิสถานที่เควตตาและใช้งานในหนังสือพิมพ์ Talár

ข้างล่างนี้คืออักขรวิธี Bráhuí Báşágal Brolikva แบบใหม่:[6]

b á p í s y ş v x e z ź ģ f ú m n l g c t ŧ r ŕ d o đ h j k a i u ń ļ

ตัวอย่าง

[แก้]

ไทย

[แก้]

มนุษย์ทั้งหลายเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในเกียรติศักดิ์และสิทธิ ต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยเจตนารมณ์แห่งภราดรภาพ

อักษรอาหรับ

[แก้]

مُچَّا اِنسَاںک آجو او اِزَّت نَا رِد اَٹ بَرےبَر وَدِى مَسُّنو. اوفتے پُهِى او دَلِىل رَسےںگَانے. اَندَادے وفتے اَسِ اےلو تون اِىلُمِى اے وَدِّفوئِى اے.

อักษรละติน

[แก้]

Muccá insáńk ájo o izzat ná rid aŧ barebar vadí massuno. Ofte puhí o dalíl raseńgáne. andáde ofte asi elo ton ílumí e vaddifoí e.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Brahui".
  2. 2.0 2.1 Parkin 1989, p. 37.
  3. "A slice of south India in Balochistan". 2017-02-18.
  4. "International Journal of Dravidian Linguistics, Volumes 36-37" department of linguistics, University of Kerala[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  5. "Бесписьменный язык Б." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-23. สืบค้นเมื่อ 2015-06-23.
  6. Bráhuí Báşágal, Quetta: Brahui Language Board, University of Balochistan, April 2009, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07, สืบค้นเมื่อ 2010-06-29

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]