ภาษาตูตง
ภาษาตูตง | |
---|---|
ภาษาตูตง 2 | |
ภูมิภาค | ประเทศบรูไน |
จำนวนผู้พูด | 17,000 (2549)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ttg |
![]() |
ภาษาตูตง มีอีกชื่อว่า ตูตง 2 เป็นภาษาที่มีผู้พูดประมาณ 17,000 คนในประเทศบรูไน โดยเป็นภาษาหลักของชาวตูตง กลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในเขตตูตงของประเทศบรูไน
การจำแนก
[แก้]ภาษาตูตงเป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนและอยู่ในกลุ่มภาษาเรอจัง–บารัมที่ใช้พูดกันในประเทศบรูไนเช่นเดียวกับในกาลีมันตัน ประเทศอินโดนีเซีย และรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย[2] ภาษาตูตงมีความใกล้ชิดกับภาษาเบอไลต์และมีศัพท์ที่มีรากเดียวกันเกือบร้อยละ 54[3]
การใช้งานภาษา
[แก้]ปัจจุบัน ผู้พูดภาษาตูตงหลายคนเริ่มไม่พูดภาษาแบบดั้งเดิม โดยหันไปพูดภาษาตูตงปนหรือสลับกับภาษามลายูบรูไน ภาษามลายูมาตรฐาน และภาษาอังกฤษ[4] ภาษานี้ได้รับคะแนนความมีชีวิตชีวาในระดับ 2.5 จากสเกลระดับ 0–6 ซึ่งใช้เกณฑ์การวัดจากอัตราการถ่ายทอดภาษาไปยังลูกหลาน ระดับการสนับสนุนของทางการ และการกระจุกตัวของผู้พูดในเขตภูมิศาสตร์[2][5] หมายความว่าภาษานี้อยู่ในภาวะใกล้สูญ
ถึงกระนั้น มีความสนใจที่จะฟื้นฟูภาษานี้ โดยมีหลักสูตรภาษาตูตงในมหาวิทยาลัยบรูไนดารุซซาลัมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555[6] ในขณะเดียวกัน เดวันบาฮาซาดันปุซตากา (หน่วยงานด้านภาษาของบรูไน) ได้พิมพ์เผยแพร่พจนานุกรมตูตง–มลายู มลายู–ตูตง เมื่อ พ.ศ. 2534 และรายการคำศัพท์ในภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ ในบรูไนเมื่อ พ.ศ. 2554[2][6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาตูตง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Martin, Peter W. (1995). "Whiter the Indigenous Languages of Brunei Darussalam?". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 34 (1): 27–43. doi:10.2307/3623110. JSTOR 3623110.
- ↑ Nothofer, Bernd (1991). "The Languages of Brunei Darussalam". ใน Steinhauer, H. (บ.ก.). Papers in Austronesian Linguistics No. 1. Pacific Linguistics Series A-81 (ภาษาอังกฤษ). Canberra: The Australian National University. pp. 151–176. doi:10.15144/PL-A81.151. ISBN 0-85883-402-2.
- ↑ Clynes, Adrian (2012). "Dominant Language Transfer in Minority Language Documentation Projects: Some Examples from Brunei". Language Documentation and Conservation (ภาษาอังกฤษ). 6: 253–267. hdl:10125/4539.
- ↑ Coluzzi, Paolo (2010). "Endangered Languages in Borneo: A Survey among the Iban and Murut (Lun Bawang) in Temburong, Brunei". Oceanic Linguistics (ภาษาอังกฤษ). 49 (1): 119–143. doi:10.1353/ol.0.0063. S2CID 144349072.
- ↑ 6.0 6.1 McLellan, James (2014). "Strategies for Revitalizing Endangered Borneo Languages: A Comparison Between Negara Brunei Darussalam and Sarawak, Malaysia" (PDF). Southeast Asia: A Multidisciplinary Journal (ภาษาอังกฤษ). 14: 14–22.
ข้อมูล
[แก้]- Haji Ramlee Tunggal (2005). Struktur Bahasa Tutong [Tutong Language Structure] (ภาษามาเลย์). Bandar Seri Begawan: Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei.
- Noor Azam Haji-Othman (2005). Linguistic Diversity in Negara Brunei Darussalam: An Ecological Perspective (วิทยานิพนธ์ PhD) (ภาษาอังกฤษ). University of Leicester. hdl:2381/30897.