ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาตุรกีออตโตมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาตุรกีออตโตมาน)
ภาษาตุรกีออตโตมัน
لسان عثمانى
lisân-ı Osmânî
ตุรกีออตโตมันในรูปอักษรแนสแทอ์ลีก
(لسان عثمانى)
ภูมิภาคจักรวรรดิออตโตมัน
ชาติพันธุ์ชาวเติร์กออตโตมัน
ยุคป. คริสต์ศตวรรษที่ 15; แทนที่ด้วยภาษาตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1928[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาตุรกีอานาโตเลียเก่า
  • ภาษาตุรกีออตโตมัน
ระบบการเขียนอาหรับแบบออตโตมัน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเบย์ลิกแห่งตูนิส
รัฐครีต
เอมิเรตญะบัลชัมมัร
รัฐเคดีฟอียิปต์
จักรวรรดิออตโตมัน
รัฐบาลชั่วคราวแห่งชาติประจำคอเคซัสตะวันตกเฉียงใต้
รัฐบาลชั่วคราวแห่งเธรสตะวันตก
รัฐบาลสมัชชาใหญ่แห่งชาติ
ประเทศตุรกี (จนถึง ค.ศ. 1928)[a]
รหัสภาษา
ISO 639-2ota
ISO 639-3ota
นักภาษาศาสตร์ota

ภาษาตุรกีออตโตมัน (ตุรกีออตโตมัน: لِسانِ عُثمانى, lisân-ı Osmânî, เสียงอ่านภาษาตุรกี: [li'saːnɯ os'maːniː]; ตุรกี: Osmanlı Türkçesi; อังกฤษ: Ottoman Turkish) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตุรกีที่เคยเป็นภาษาในการปกครองและภาษาเขียนในจักรวรรดิออตโตมัน เป็นภาษาที่มีคำยืมจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก เขียนด้วยอักษรอาหรับ ภาษานี้ไม่เป็นที่เข้าใจในหมู่ชาวตุรกีที่มีการศึกษาต่ำ[3] อย่างไรก็ตาม ภาษาตุรกีที่ใช้พูดในทุกวันนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาตุรกีออตโตมันเช่นกัน

ในช่วงจุดสูงสุดของอำนาจออตโตมันเมื่อ (ป. คริสต์ศตวรรษที่ 16) ศัพท์ต่างชาติในวรรณกรรมตุรกีในจักรวรรดิออตโตมันมีจำนวนมากกว่าศัพท์ตุรกีดั้งเดิม[4] โดยในบางข้อความมีศัพท์ภาษาอาหรับและเปอร์เซียมากถึงร้อยละ 88[5]

โครงสร้าง

[แก้]
กวีของรูมีในภาษาตุรกีออตโตมัน

เช่นเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่น ๆ ที่ใช้พูดในหมู่ชาวมุสลิม คำยืมภาษาอาหรับไม่ได้เกิดจากการติดต่อกันโดยตรงระหว่างภาษาตุรกีออตโตมันกับภาษาอาหรับ แต่มีหลักฐานว่ามาจากการเปลี่ยนเสียงตามแบบภาษาเปอร์เซียสำหรับคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ การที่ยังคงรักษาการลักษณะการออกเสียงของการยืมคำจากภาษาอาหรับแบบนี้ไว้ได้ แสดงว่ามีการแพร่หลายของผู้พูดภาษาเปอร์เซียที่มีคำจากภาษาอาหรับอยู่มากเข้ามาในบริเวณนี้ ก่อนการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมัน ชนกลุ่มนี้เคยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเปอร์เซียก่อนจะอพยพมาทางตะวันตกเข้ามายังบริเวณที่ชนเผ่าเตอร์กอาศัยอยู่ ภาษาตุรกีออตโตมันมีคำยืมภาษาอาหรับที่มีรูปแบบของภาษาเปอร์เซียในแบบเดียวกับภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆที่เคยมีการติดต่อค้าขายกับชาวอาหรับเช่น ภาษาตาตาร์และภาษาอุยกูร์ ภาษาตุรกีออตโตมันมี 3 ระดับคือ

  • Fasih Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครอง
  • Orta Türkçe: เป็นภาษาที่ใช้สำรับชนชั้นสูงและการค้าขาย
  • Kaba Türkçe: เป็นภาษาสำหรับคนชั้นต่ำ

คนที่ใช้ภาษาทั้งสามระดับจะมีจุดประสงค์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น อาลักษณ์จะใช้คำจากภาษาอาหรับ Arabic asel (عسل) เพื่อหมายถึงน้ำผึ้งเมื่อเขียนเอกสาร แต่จะใช้คำพื้นเมืองภาษาตุรกี bal เมื่อต้องการซื้อน้ำผึ้ง

ภาษาไทย/อังกฤษ ตุรกีออตโตมัน ตุรกีสมัยใหม่
obligatory واجب vâcib zorunlu
hardship مشکل müşkül güçlük, zorluk
เมือง شهر şehir kent/şehir
สงคราม جنگ cenk savaş

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ภาษาตุรกีออตโตมันแบ่งเป็นสามยุคคือ

  • Eski Osmanlı Türkçesi เป็นภาษาที่ใช้จนถึงพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับภาษาตุรกีที่ใช้โดยเซลจุกและถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษาตุรกีอนาโตเลียโบราณ
  • Orta Osmanlı Türkçesi เป็นภาษายุคกลางหรือภาษาตุรกีออตโตมันคลาสสิก เป็นภาษาที่ใช้ในกวีนิพนธ์และการปกครองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงยุคของตันซิมัต เป็นรูปแบบของภาษาตุรกีออตโตมันในความรู้สึกของคนทั่วไป
  • Yeni Osmanlı Türkçesi ภาษายุคใหม่ เป็นภาษาที่เปลี่ยนรูปไปในช่วง พ.ศ. 2393 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 25 โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโลกตะวันตก

การเปลี่ยนรูปของภาษา

[แก้]

ใน พ.ศ. 2471 หลังจากการสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมันหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และมีการจัดตั้งสาธารณรัฐตุรกี ได้มีการเปลี่ยนรูปของภาษาโดยมุสตาฟา เกมาล อตาเตอร์ก โดยการแทนที่คำยืมภาษาเปอร์เซียและภาษาอาหรับด้วยคำดั้งเดิมในภาษาตุรกีที่มีความหมายเหมือนกัน และใช้อักษรละตินแทนอักษรอาหรับ ถือเป็นการสร้างภาษาตุรกีรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาติในยุคหลังจักรวรรคิออตโตมัน

มรดก

[แก้]

ภาษาตุรกีออตโตมันไม่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของภาษาตุรกีสมัยใหม่ ความแตกต่างที่สำคัญของภาษาตุรกีทั้งสองแบบนี้คือการสร้างคำประกอบตามแบบไวยากรณ์ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียในภาษาแบบออตโตมัน ตัวอย่างเช่น คำว่า takdîr-i ilâhî เป็นการสร้างคำแบบภาษาเปอร์เซีย ภาษาตุรกีสมัยใหม่จะเป็น ilâhî takdîr

ระบบการเขียน

[แก้]
ปฏิทินในเทสซาโลนีกี ค.ศ. 1896 สามบรรทัดแรกเขียนด้วยอักษรออตโตมัน

ภาษาตุรกีออตโตมันส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรตุรกีออตโตมัน (elifbâ الفبا) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของชุดตัวอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ บางครั้งชาวอาร์มีเนีย ชาวกรีก และชาวยิวก็ใช้อักษรของตนเอง (ดูภาษาตุรกีคารามันลือ สำเนียงหนึ่งของออตโตมันที่เขียนด้วยอักษรกรีก)

ตัวเลข

[แก้]
1
١
بر
bir
2
٢
ایكی
iki
3
٣
اوچ
üç
4
٤
درت
dört
5
٥
بش
beş
6
٦
آلتی
altı
7
٧
یدی
yedi
8
٨
سكز
sekiz
9
٩
طقوز
dokuz
10
١٠
اون
on
11
١١
اون بر
on bir
12
١٢
اون ایکی
on iki

[6]

การทับศัพท์

[แก้]

ระบบการทับศัพท์ของ İslâm Ansiklopedisi กลายเป็นมาตรฐานโดยพฤตินัยในตะวันออกศึกษา สำหรับการทับศัพท์อักษรตุรกีออตโตมัน[7] และพจนานุกรมของ Karl Steuerwald กับ Ferit Develioğlu กลายเป็นมาตรฐานในการทับศัพท์[8] จากนั้น Deutsche Morgenländische Gesellschaft (DMG) นำเสนอระบบการทับศัพท์อีกแบบสำหรับภาษาเตอร์กิกที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ[9] ไม่มีความแตกต่างใด ๆ ในระบบการทับศัพท์ระหว่าง İA กับ DMG

การทับศัพท์แบบ İA[10]
ا ب پ ت ث ج چ ح خ د ذ ر ز ژ س ش ص ض ط ظ ع غ ف ق ك گ ڭ ل م ن و ه ی
ʾ a b p t c ç d r z j s ş ż, ḍ ʿ ġ f q k g ñ ğ g ñ l m n v h y

การศึกษาเกี่ยวกับภาษาตุรกีออตโตมัน

[แก้]

ในปัจจุบันยังมีการเรียนการสอนภาษาตุรกีออตโตมันอยู่ทั่วโลก ชาวตุรกียังคงเรียนภาษานี้ในฐานะภาษาคลาสสิกที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ภาษาประจำชาติมีชื่อว่า "ตุรกี" ในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐตุรกีประจำปี 1921 และ 1924[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Turkey – Language Reform: From Ottoman To Turkish". Countrystudies.us. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2016. สืบค้นเมื่อ 24 May 2016.
  2. [1]
  3. Glenny, M "The Balkans - Nationalism, War, and the Great Powers, 1804-1999", Penguin, New York 2001. pg99
  4. Eid, Mushira (2006). Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics, Volume 4. Brill. ISBN 9789004149762.
  5. Bertold Spuler [de]. Persian Historiography & Geography Pustaka Nasional Pte Ltd ISBN 9971774887 p 69
  6. Hagopian, V. H. (5 May 2018). "Ottoman-Turkish conversation-grammar; a practical method of learning the Ottoman-Turkish language". Heidelberg, J. Groos; New York, Brentano's [etc., etc.] เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2017. สืบค้นเมื่อ 5 May 2018 – โดยทาง Internet Archive.
  7. Korkut Buğday Osmanisch, p. 2
  8. Korkut Buğday Osmanisch, p. 13
  9. Transkriptionskommission der DMG Die Transliteration der arabischen Schrift in ihrer Anwendung auf die Hauptliteratursprachen der islamischen Welt, p. 9 เก็บถาวร 2012-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. Korkut Buğday Osmanisch, p. 2f.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
อังกฤษ
ภาษาอื่น ๆ
  • Mehmet Hakkı Suçin. Qawâ'id al-Lugha al-Turkiyya li Ghair al-Natiqeen Biha (Turkish Grammar for Arabs; adapted from Mehmet Hengirmen's Yabancılara Türkçe Dilbilgisi), Engin Yayınevi, 2003).
  • Mehmet Hakkı Suçin. Atatürk'ün Okuduğu Kitaplar: Endülüs Tarihi (Books That Atatürk Read: History of Andalucia; purification from the Ottoman Turkish, published by Anıtkabir Vakfı, 2001).
  • Kerslake, Celia (1998). "La construction d'une langue nationale sortie d'un vernaculaire impérial enflé: la transformation stylistique et conceptuelle du turc ottoman". ใน Chaker, Salem (บ.ก.). Langues et Pouvoir de l'Afrique du Nord à l'Extrême-Orient. Aix-en-Provence: Edisud. pp. 129–138.
  • Korkut M. Buğday (1999). Otto Harrassowitz Verlag (บ.ก.). Osmanisch: Einführung in die Grundlagen der Literatursprache.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]