ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี
ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (ครีโอลกาบูเวร์ดี : kabuverdianu ;โปรตุเกส: Crioulo cabo-verdiano ;อังกฤษ: Cape Verdean Creole) เป็นภาษาครีโอลที่ได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่จากภาษาโปรตุเกส โดยภาษานี้เป็นภาษาแม่ของชาวกาบูเวร์ดีเกือบทุกคน และเป็นภาษาที่สองของชาวกาบูเวร์ดีผลัดถิ่น[1]
ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี | |
---|---|
kabuverdianu,[2][3] kriolu, kriol | |
ประเทศที่มีการพูด | กาบูเวร์ดี |
จำนวนผู้พูด | 871,000 (2017)[4] |
ตระกูลภาษา | กลุ่มภาษาครีโอลโปรตุเกส
|
ระบบการเขียน | ละติน (ALUPEC) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | kea |
Linguasphere | 51-AAC-aa |
ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดีเป็นภาษาที่มีความสำคัญในการศึกษาด้านภาษาครีโอล เนื่องจากเป็นภาษากลุ่มครีโอลที่เก่าที่สุดที่ยังมีคนใช้อยู่[5] และเป็นภาษาในกลุ่มครีโอลโปรตุเกสที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด
ชื่ออย่างเป็นทางการของภาษานี้คือ ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (kabuverdianu) แต่ในชีวิตประจำวันผู้ใช้ภาษาจะเรียกภาษานี้ว่า "ครีโอล" (kriolu/kriol)
ความเป็นมา
[แก้]ความเป็นมาของภาษานี้ค่อนค่างจะหาได้ยาก เนื่องจากมีเอกสารที่บันทึกไว้น้อย และการเนรเทศในช่วงกาบูเวร์ดีของโปรตุเกส
ในปัจจุบันนี้มีสามทฤษฎีที่บ่งบอกถึงความเป็นความเป็นมาของภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี[6] โดยทฤษฎีแรกเชื่อว่าเป็นชาวโปรตุเกสที่ทำให้ภาษานี้เรียบง่ายมากขึ้นเพื่อให้สะดวกต่อการใช้ของทาสชาวแอฟริกันที่ถูกปลดปล่อย แต่มีการโต้แย้งว่าทาสชาวแอฟริกันที่ถูกปลดปล่อยนั้นได้สร้างภาษานี้ขึ้นโดยใช้หลักไวยากรณ์ของภาษาในแอฟริกาตะวันตก แต่ใช้คำศัพท์ภาษาโปรตุเกสแทนภาษาดั้งเดิม ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าภาษานี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติ ไม่ใช่ทาสที่ถูกปลดปล่อยแต่เป็นชาวเกาะที่สร้างขึ้นมาโดยใช้หลักไวยากรณ์พื้นฐานในภาษามนุษย์
จากข้อมูลที่โยงเรื่องการตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะเข้ากับหลักการทางภาษาศาสตร์ จึงทำให้พอคาดเดาการเผยแพร่ของภาษาครีโอลกาบูเวร์ดีได้ เป็นสามระยะได้ดังนี้[7]
- ระยะแรกเกาะซานติอาโกถูกครอบครอง (ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15) ตามด้วยเกาะโฟกู (ปลายศตวรรษที่ 16)
- ระยะที่สองเกาะเซานิโกเลาถูกครอบครอง (ส่วนมากในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17) ตามด้วยเกาะซันโตอันเตา (ส่วนมากในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 17)
- ระยะที่สามเกาะที่เหลือถูกยึดโดยชาวเกาะก่อนหน้า เกาะบราวาถูกควบคุมโดยชาวเกาะโฟกู (ส่วนมากในต้นศตวรรษที่ 18) ตามด้วยเกาะบัววิชตาโดยชาวเกาะเซานิโกเลากับซานติอาโก (ส่วนมากในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18), เกาะเซาวิเซงชีโดยชาวเกาะซันโตอันเตากับเซานิโกเลา (ส่วนมากในศตวรรษที่ 19) และเกาะซัลโดยชาวเกาะเซานิโกเลากับบัววิชตา (ส่วนมากในศตวรรษที่ 19)
สถานะ
[แก้]ถึงแม้ภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีจะเป็นภาษาแม่ของชาวกาบูเวร์ดีแทบทุกคน ภาษาโปรตุเกสก็ยังเป็นภาษาราชการของประเทศ และก็ยังได้ใช้ภาษาโปรตุเกสในชีวิตประจำวัน เช่น (การใช้ในราชการ โรงเรียน การต่างประเทศ ฯลฯ) จึงทำให้ภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีอยู่ในสถานะทวิภาษณ์
ระบบการเขียน
[แก้]ระบบการเขียนระบบเดียวที่ได้รับการรับรองจากทางการ เรียกว่า แบบรวมอักษรการเขียนภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี (โปรตุเกส: Alfabeto Unificado para a Escrita da Língua Cabo-verdiana) หรือ ALUPEC[8]
คำศัพท์
[แก้]คำศัพท์ในภาษาคริโอลกาบูเวร์ดีประกอบไปด้วยคำภาษาโปรตุเกสประมาณ 90-95% ส่วนคำที่เหลือมาจากภาษาอื่นเช่นภาษาในแอฟริกาตะวันตก ภาษาอังกฤษ,ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน
ตัวอย่างวลีในภาษาคริโอลกาบูเวร์ดี[9]
Olá, Oi สวัสดี (ทักทายทั่วไป)
Modi bu sta? คุณสบายดีไหม
Moki bu tchoma? คุณชื่ออะไร
Nha nomi e ... ฉันชื่อว่า...
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cape Verdean Creole". Center for Language Technology (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Kabuverdianu | Ethnologue Free". Ethnologue (Free All) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-19.
- ↑ Veiga, Manuel (1982). Diskrison strutural di lingua Kabuverdianu. Praia: Institutu Kabuverdianu di Livru.
- ↑ ภาษาครีโอลกาบูเวร์ดี ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
- ↑ Steve and Trina Graham (10 August 2004). "West Africa Lusolexed Creoles Word List File Documentation". SIL International. สืบค้นเมื่อ August 2, 2012.
- ↑ Santos, C., "Cultura e comunicação: um estudo no âmbito da sociolinguística"
- ↑ Pereira, D. (2006)
- ↑ "ALUPEC - Decreto-Lei n.º 67/98". alupec.kauberdi.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-13. สืบค้นเมื่อ 2024-04-04.
- ↑ "Useful phrases in Cape Verdean Creole". www.omniglot.com.